การบริหารจัดการขยะแห้ง ขยะเปียก และการทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียก
หลักสูตร การบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ดิฉัน นางสาวชุติมา นามวิเศษ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน พร้อมทีมงาน ในเดือนกันยายน 2564
การคัดแยกขยะมูลฝอย เป็นการนำขยะประเภทต่าง ๆ มาคัดแยกจากกัน เพื่อให้สะดวกแก่การนำไปกำจัด หรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่
ขยะแห้ง หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ เศษผ้า ไม้ ยาง เป็นต้น ซึ่งบางชนิดสามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ จึงต้องมีการคัดแยกเพื่อนำไปจำหน่ายหรือรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขยะเปียก คือ ขยะที่ย่อยสลายได้ ง่าย สามารถนำมาหมักเป็นปุ๋ยได้เช่น เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้เศษใบไม้ มูล สัตว์และซากสัตว์ เป็นต้น ซึ่ง เศษอาหาร เป็นขยะที่มีเป็นจำนวนมากในครัวเรือน ดังนั้น เพื่อเป็นการลดขยะที่ต้องนำไปกำจัด ทางชุมชนจึงสนใจนำขยะเปียกมาทำเป็นปุ๋ยหมัก
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จากเศษอาหาร
วัตถุดิบ
- เศษอาหาร 3 กิโลกรัม
- น้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร
- น้ำสะอาด 1 – 10 ลิตร
วิธีการทำ
- เตรียมถังมา เทเศษอาหารลงในถัง
- ผสมกับน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาลกันน้ำสะอาด คนให้น้ำตาลละลายเข้ากัน หากใช้กากน้ำตาลซึ่งค่อนข้างข้นควรกวนให้เข้ากัน
- ค่อย ๆ เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ลงไปในถังน้ำตาล และคนให้เข้ากัน
- เทน้ำที่ผสมกัน ลงในถังเศษอาหาร
- ปิดฝาให้สนิท (ไม่ให้แสงและอากาศเข้าได้) บ่มทิ้งไว้ 90 วัน
วิธีใช้
- ผสมน้ำ 1 : 400 รดราดโคน
- ผสมน้ำ 1 : 200 – 1000 ฉีดพ่นลำต้นและใบ
ประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ
- เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตในดิน และเป็นธาตุอาหารให้กับต้นพืช
- ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของดินให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช
- ช่วยให้พืชเจริญเติบโต ต้านทานโรคและแมลงได้
- ได้ผลผลิตพืชผักที่ปลอดสารเคมี