การปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตลอดทั้งเดือน กันยายน ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ การปฏิบัติงานของดิฉัน นางสาวปานตะวัน พ่อค้า (บัณฑิตจบใหม่)
MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด และดร.วิษณุ ปัญญายงค์
จากการร่วมกันประชุมทางทีมงานได้แบ่งกันเก็บข้อมูล ดังนี้ ได้จัดกลุ่มแบ่งเป็น 2 ทีม ทีมละ 10 คน ลงพื้นที่ตำบลลำดวน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในหัวข้อดังกล่าว 1. ขนมพื้นถิ่น+ประเพณี🎎🎏 2. พืช+ผลไม้ 🍒🍓🍅 3. สถานที่จุดเช็คอิน 🎯 เพื่อจะนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ดิฉันได้รับมอบหมายให้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ พืช+ผลไม้ 🍒🍓🍅 ตามฤดูกาลแต่ล่ะเดือนว่ามีชนิดไหน เกิดในช่วงเดือนไหนบ้าง เพื่อนำมาแปรรูปเป็นขนม อาหารพื้นถิ่น ที่มีวัตถุดิบจากชุมชน และจะนำมาต่อยอดเป็นสินค้าของฝากประจำตำบลต่อไป เมื่อมีการจัดทริปการท่องเที่ยวขึ้น นักท่องเที่ยวจะได้มีผลิตภัณฑ์ นำกลับบ้านติดไม้ติดมือไปฝากครอบครัว ญาติพี่น้อง และอยากจะกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้ง และบอกต่อแกคนอื่นให้เขาอยากพากันมาเที่ยวตำบลเราต่อๆไป
จากการไปสัมภาษณ์ชาวบ้านในชุมชน พบว่าพืช +ผลไม้ 🍒🍓🍅 ในแต่ล่ะเดือนของตำบลลำดวน ดังนี้
>>>>> หม่อน พันธุ์เชียงใหม่ 60” หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ เป็นพันธุ์หม่อนผลสดที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เหมาะสำหรับบริโภคผลสดและแปรรูปสู่ระบบอุตสาหกรรม หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่ เป็นพันธุ์หม่อนผลสดที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยมานานหลายสิบปีแล้ว ให้ผลผลิตผลสดไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี ผลมีขนาดใหญ่ และปริมาณกรดสูง เหมาะสมสำหรับบริโภคสดและการแปรรูป ขยายพันธุ์ได้ง่าย จากการสอบถามข้อมูลจากหัวหน้าที่ดูแล ทางศูนย์ศิลปาชีพอำเภอกระสัง บ้านบุ ตำบลลำดวน ยังไม่ได้ขยายพันธุ์ ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 2 ต้น แต่จะมีอาจารย์จากกรุงเทพ นำพันธุ์เชียงใหม่ 60 มาให้ทดลองปลูกประมาณ 20 ต้น ผลผลิตจะออกผลในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ :
>>>>> หม่อนพันธุ์ บร. 60 สกลนคร ซึ่งจะให้ผลผลิตทางใบ นิยมปลูกหม่อน เอาใบไปเลี้ยงหนอน ทางศูนย์ศิลปาชีพอำเภอกระสัง บ้านบุ ตำบลลำดวน จะให้ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกมาใช้พื้นที่ในการปลูกหม่อน เลี้ยงหนอนไหม ส่วนขี้ของหนอนไหม เราสามารถนำมาทำชาชง ได้แต่ต้องนำไปอบแล้ว ตากแห้งก่อน นิยมนำขี้ของหนอนไหม ในวัย 2 มาแปรรูป ลูกหม่อนจะออกผลในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน :
>>>>> ตาล หรือภาษาเขมรเรียกว่า ตะนอด ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ผลติดกันเป็นกลุ่มแน่น ลักษณะของผลเป็นทรงกลมหรือเป็นรูปทรงกระบอกสั้น ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีน้ำตาลถึงสีม่วงเข้ม ปลายผลมีสีเหลือง หรือมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมันหุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผิวผลเป็นมัน และผลมีขนาดประมาณ 15-20 เซนติเมตร จะนิยมนำผลตาลอ่อนมาขายตามท้องตลาด จากการสอบถามชาวบ้านกระเจามีประมาณ 20 ต้น จะปลูกอยู่ตามทุ่งนา ให้ผลลผลิตทุกปี แต่ผลอ่อนจะมีใน ช่วงเดือน ตุลาคม – เมษายน : ถ้าปล่อยไว้นานจะทำผลแก่ และจะนิยมนำมาทำขนมตาลขาย
>>>>> ข้าวนาปี ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก คือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าว กข15 ซึ่งเป็นข้าวหนักมีอายุการเก็บเกี่ยว มากกว่า 120 วัน หากเราปลูกเร็วเกินไปก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลเพิ่มขึ้น หากปลูกช้าเกินไป ข้าวก็จะไม่สามารถสะสมอาหารได้เต็มที่ก่อนออกรวง ทำให้ผลผลิตลดลงนั่นเอง จะออกรวงใน ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน : ชาวบ้านจะประสบปัญหาของการขาดแคลนน้ำในการทำนา ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่ถึงตามเกณฑ์
>>>>> ผลผลิตของ “ต้นขนุน” ภาษาเขมรเรียกว่า ขะเนิล นอกจากขนุนจะเป็นไม้มงคลนานแล้ว ก็ยังเป็นผลไม้ที่มีเนื้อหอมหวานอร่อยอีกด้วย ขนุนเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อขนุนสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตร กินกับข้าวเหนียวมูน หรือนำไปอบแห้ง ใช้กินเป็นของว่าง ผลผลิตจะออกผล โดยดอกขนุนจะออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือในช่วงเมษายน-พฤษภาคม และในช่วง ธันวาคม-มกราคม
>>>>> กล้วย ภาษาเขมรเรียกว่า เจก จะออกผลในตลอดทั้งปี ชาวบ้านนิยมนำมาทำข้าวต้มมัดในช่วงประเพณีแซนโฏนตา , งัยเบ็นตูจ , งัยเบ็นทม และทานแบบสุกๆ นำมาแปรรูปเป็นกล้วยฉาบ กล้วยตากแห้ง ได้ และสามารถนำมาทำของหวาน และอาหารแกงกล้วยไว้ทานได้ ทุกเทศกาล :
>>> จากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้น ทำให้ทราบถึงวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนตำบลลำดวนมากยิ่งขึ้น จะเป็นชุมชนชนบทที่แห้งแล้ง และขาดแคลนน้ำจึงไม่เหมาะแก่การปลูกพืช + ผลไม้ ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะนิยมปลูก 3 – 5 ต้น เพราะน้ำที่มีตามแหล่งน้ำลำชีน้อยจะสูญขึ้นมาปลูกข้าวนาปี / นาปรังสะส่วนใหญ่ ผลผลิตพืชต่างๆจึงจะนิยมปลูกไว้ทานเล่น เช่น มะม่วง มะละกอ ฝรั่ง กล้วย ต้นตาล เป็นต้น
>>> หลังจาการสำรวจข้อมูลแต่ล่ะกลุ่มที่แบ่งงานกัน ทางทีมงานได้นำมาเขียนเป็นแต่ล่ะหัวข้อ แล้วสรุปได้ดังนี้ 1.ประเพณีประจำปี ทั้ง 12 เดือน 2.ชื่อขนมพื้นบ้านที่นิยมในแต่ล่ะเดือน 3.พืชและ ผลไม้ ที่จะนำมาแปรรูป 4. อาหารประจำถิ่น ซึ่งอาหารแต่ล่ะอย่างจะนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาบริโภคตามฤดูกาลออกผลผลิต
วีดีโอสรุปกิจกรรม