น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งการอุปโภคบริโภค การทำเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำ รวมทั้งยังมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์และการรักษาระบบนิเวศ ในอดีตประเทศไทยเคยมีน้ำใช้อย่างไม่จำกัด แต่สถานการณ์ปัจจุบันจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทุกปี การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังมีการทำลายป่าไม้ต้นน้ำอย่างต่อเนื่อง มีการชะล้างพังทลายของดิน แหล่งน้ำตื้นเขินเก็บกักน้ำได้น้อยลงส่งผลให้ประเทศเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนำมาซึ่งปัญหาน้ำหลากในฤดูฝน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชุมชนและพื้นที่เพาะปลูก ตลอดจนการขยายตัวของชุมชนและอุตสาหกรรมยังส่งผลให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำ ซึ่งล้วนมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการใช้ประโยชน์น้ำในทุกมิติ ภัยแล้งและน้ำท่วมขังสร้างความเสียหายให้กับประเทศและประชาชนอย่างมากจากการแก้ไขปัญหาของทางภาครัฐ เพื่อที่จะให้ประชาชนผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งและน้ำท่วมขังยังไม่เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งอาจเกิดจากมีหลายหน่วยงานของรัฐที่ทำงานซ้ำซ้อน ทำให้วัตถุประสงค์ในการดำเนินการนั้นแตกต่างกันไปตามภารกิจ และ ไม่มีการดำเนินการเป็นแบบองค์รวม หรือความร่วมมือกันในรูปแบบของเครือข่าย (Network Governance) แก้ไขปัญหาในภาพรวม จะเห็นได้ว่าโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องน้ำนั้น ไม่ได้มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือเกี่ยวข้องกับปัญหาภัยแล้งเลย ทำให้เสียงบประมาณในแต่ละปีเป็นจำนวนมหาศาล ธนาคารน้ำใต้ดิน สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งได้เป็นอย่างดี สามารถแก้ปัญหาได้โดยที่ชาวบ้านสามารถทำนาในหน้าแล้งได้ใช้น้ำที่กักเก็บไว้ใต้ดินมาทำการเกษตรได้เป็นอย่างดี “ธนาคารน้ำใต้ดิน” เป็นทางเลือกหนึ่งที่รัฐบาลสามารถร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาชน เพื่อลดแก้ปัญหาภัยแล้งได้ในระดับหนึ่ง จึงได้ขยายผลการดำเนินการนำร่องมายังชาวบ้านประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งรวมทั้งผนวกการดำเนินงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโครงการ “ธนาคารน้ำใต้ดิน” เพื่อดำเนินการสู่การพัฒนาและแก้ไขในการบริหารทรัพยากรน้ำด้วยการมีส่วนร่วม  ชองชาวบ้านชุมชน องค์การต่างๆที่รับผิดชอบ ให้ยั่งยืนของชุมชน และนำผลที่ได้การทำงานของภาครัฐ และแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในภาพรวมอย่างแท้จริง          การมีส่วนร่วมของประชาชน ในชุมชนที่มีศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติผ่านระบบความคิดโดยแสดงออกมาผ่านวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านและกระบวนการจัดการทรัพยากรในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จในการจัดการโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน การรวมกลุ่มของชาวบ้านในชุมชนที่คอยชักชวนกันเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ของชุมชนในการจัดการโครงการธนาคารน้ำใต้ดินให้ยั่งยืน โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะผลักดันการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพ

ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดเน้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในครัวเรือน และเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมประชาชนให้ร่วมด้วย ช่วยกันลดปริมาณน้ำหลากในช่วงฝนตก โดยการทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดในบริเวณบ้านหรือพื้นที่ ของตนเอง ซึ่งระบบปิดนี้สามารถช่วยชุมชนและ ท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำหลากในช่วงฝนตก ให้ง่ายขึ้น อีกทั้งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการ ปนเปื้อนของแม่น้ำลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ

     

อื่นๆ

เมนู