MS02 : ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้านการสำรวจบริบทชุมชนแบบฟอร์ม 01,02 เพิ่มเติม และการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล หาศักยภาพของแต่ละหมู่บ้าน ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
กระผมนายสุพศิน ช่วงไธสง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลลำดวน หลักสูตร: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบล MS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา 08.00 น. ณ. ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน กระผมได้ลงพื้นที่ หมู่ 16 บ้านลำดวนใต้ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน (แบบสอบถาม 01) และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 (แบบสอบถาม 02) เพิ่มเติ่มจำนวนทั้งหมด 110 ชุด โดยแบ่งเป็น แบบสอบถาม 01 จำนวน 55 ชุด แบบสอบถาม 02 จำนวน 55 ชุด รวมทั้งได้สำรวจศักยภาพของชุมชน จากการลงพื้นที่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในชุมชน หมู่ 16 บ้านลำดวนใต้ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการตอบแบบสอบถามข้อมูลเป็นอย่างดี
กระผมได้ลงพื้นที่และเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน พบว่าชาวบ้าน หมู่ 16 บ้านลำดวนใต้ส่วนใหญ่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา เป็นหลัก เพื่ออุปโภคบริโภค ปัญหาที่พบคือ รายได้ไม่เพียงพอ ขาดรายได้ การว่างงาน เมื่อสำรวจข้อมูลเรียบร้อยแล้ว กระผมได้นำข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านในตำบลลำดวนที่ได้จากการลงพื้นที่มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูลในการหาศักยภาพชุมชนและดึงจุดเด่นของหมู่บ้าน เพื่อมาหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป จากการวิเคราะห์ข้อมูลหาจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาส โดยหมู่ 16 บ้านลำดวนใต้ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ศักยภาพชุมชนท้องถิ่น มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไหลผ่านทางทิศตะวันตกของตำบลโดยไหลผ่านหมู่ 16 แหล่งน้ำอุปโภค/บริโภค มาจาก น้ำห้วยเจมิงหรือประปาหมู่ 18 แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร มาจาก ฝนตกตามฤดูกาล ปัญหาของน้ำในชุมชนคือ น้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตรหมู่บ้านลำดวนใต้มีกองทุนหมู่บ้าน ได้แก่ กองทุ่นเงินล้านบาทลำดวนใต้ จำนวน 1, 000,000 บาท มีวิธีการในการบริหารจัดการเงิน วิธีการในการบริหารจัดการเงิน ดังนี้ ปล่อยกู้ให้กับสมาชิกในชุมชน โดยคิดดอกเบี้ยถูกกว่าธนาคาร ร้อยละ 6 บาท ต่อปี และมีบุคคลผู้ประกอบสัมมาชีพ ผู้ไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมคำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม รวมถึงประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก และเป็นปราชญ์ชาวบ้าน ได้แก่ คุณ อมรรัตน์ รสหอม ชาวบ้านยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ด้านการทำไข่เค็ม การทำน้ำพริก การทำปลาส้ม และการทอผ้าไหม โดยเคยเป็นวิทยากรบรรยาย เกี่ยวกับการประกอบ-สัมมาชีพ ให้กับชาวบ้านในขณะประชุมชุมชน และประกอบอาชีพสุจริตโดยมีอาชีพคือ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โดยบ้านลำดวนใต้มีร้านค้าในชุมชน 4 ร้าน ได่แก่ ร้านป้าสำรวย เป็นของ คุณหมู กำลังรัมย์ มีการจำหน่ายภายในหมู่บ้าน , ร้านสุพิน เป็นของ คุณสุพิน พะนิรัมย์ มีการจำหน่ายภายในหมู่บ้าน ร้านฝ้าย เป็นของ คุณจิระวรรณ มีการจำหน่ายภายในหมู่บ้าน 1.4 ร้านชื่อ นิภาพร เป็นของ คุณนิภาพร สำรวมจิต มีการจำหน่ายภายในหมู่บ้าน หมู่บ้านนี้มีการฝึกทักษะอาชีพจำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 ชื่อกิจกรรมคือ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมบ้านลำดวน , กิจกรรมที่ 2 ชื่อกิจกรรมคือ กลุ่มไข่เค็ม , กิจกรรมที่ 3 ชื่อกิจกรรมคือ กลุ่มปลาส้ม อาชีพที่สำคัญของตำบล คืออาชีพทำนา มีการส่งเสริมและให้ความรู้ในอาชีพด้านเทคโนโลยี คือ เรื่องการเข้าถึงระบบดิจิทัล มีการส่งเสริมและให้ความรู้ในการส่งเสริมการจำหน่าย คือ เรื่องการจำหน่ายผ้าไหม หมู่บ้านนี้มีถนน 6 สาย เป็นถนนลาดยางผ่านหมู่บ้านสภาพแข็งแรงและเป็นถนนคอนกรีตในหมู่บ้านสภาพแข็งแรง ระบบประปา ใช้ร่วมกันกับหมู่ 18 จากน้ำห้วยเจมิง สภาพไม่เพียงพอต่อความต้องการ ไฟฟ้าของหมู่ที่ 1 เพียงพอต่อการใช้งาน ไม่มีระบบสุขาภิบาล (กำจัดสิ่งปฏิกูลเน่าเสีย) หมู่บ้านนี้มีห้องสมุดหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง สถานที่ตั้ง ศาลาหมู่บ้าน 16 บ้านลำดวนใต้ โดยประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงจะเดินทางมาใช้บริการร่วมกันได้ หมู่ 16 สถานีตำรวจภูธรกระสัง โดยมีตำรวจอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ การไตร่สวน สืบสวน สอบสวน ตรวจสอบ เจรจาไกล่เกลี่ย และประณีประนอมข้อพิพาทหรือระงับข้อขัดแย้ง แก้ไขปัญหาจากประชาชน และสร้างความรู้ความเข้าใจ แนะนำและช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนในข้อกฎหมาย การใช้งานของระบบเสียงตามสายมีประสิทธิภาพไม่ค่อยดี มีการใช้งานเ Website บ้านลำดวนใต้มีกิจกรรมจิตอาสาในชุมชน ได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน หมู่ที่ 16 บ้านลำดวนใต้
จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด พบว่าชาวบ้านมีประกอบอาชีพเสริมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ การทอผ้าไหม การทำเกษตรการทำไข่เค็ม การทำน้ำพริก การทำปลาส้ม เลี้ยงวัว-ควาย และทำนา เป็นหลัก ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ ชาวบ้านขาดรายได้ ไม่มีอาชีพเสริม ขาดทักษะความรู้ในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ อีกทั้งยังไม่มีความรู้ทางด้านสื่อออนไลน์และการโฆษณาในสมัยนี้ ไม่มีตลาดรองรับการผลิตสินค้า แต่ชาวบ้านได้มีโอกาสในการพัฒนาคือ ได้รับความรู้ในการใช้เทคโนโลยีและทักษะวิชาเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาการพัฒนาอาชีพเสริม อยากให้มีการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพ มีการต่อยอดโครงการและสนับสนุนต่อเนื่อง และอยากส่งเสริมให้ความรู้เพื่อพัฒนาแก่ชาวบ้าน ได้มีมีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ที่มั่นคงและเพิ่มประสิทธิภาพของภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีอยู่แล้วให้สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชนให้ก้าวไปข้างหน้าต่อไปมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้กระผมได้ถ่ายทำคลิปวีดีโอและตัดต่อคลิปวีดีโอตลอดการทำงานของหลักสูตร: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบล MS02 ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการถ่ายทำผลิตคลิปวีดีโอในครั้งนี้ เพื่อสื่อให้เห็นถึงการทำงานของทีมงาน และวิถีภูมิปัญาชาวบ้านต่างๆ ที่สื่อให้ถึงความสวยงามของผลิตภัณฑ์สถาณที่และความเป็นอยู่ต่างๆภายในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จ.บุรีรัมย์ กระผมจะตั้งใจและพัฒนาคลิปถ่ายทอดการทำงานของแต่ละเดือนภายในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง ให้ดียิ่งขึ้นไป