ยางพารา เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักอย่างหนึ่งของไทย เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่มีตลาดรองรับ 100% ยางเป็นพืชที่มีต้นทุนเฉลี่ยต่ำ โดยยางต้นหนึ่งสามารถให้ผลผลิตนานกว่า 15 ปี ช่วงเวลาทำงานไม่มากนักเพียง 4-5 ชั่วโมงต่อวัน และหลังจากที่ลงทุนปลูกต้นยางแล้ว เกษตรกรสามารถเลือกใส่หรือไม่ใส่ปุ๋ยและยาในการบำรุงรักษาต้นยางก็ได้ และยังมีเงินบำเหน็จจากการขายไม้ยางหลังการโค่นยางอีกด้วย ที่กล่าวข้างต้นคือเหตุผลหลักๆที่ชาว ต. โคกมะม่วง อ.ปะคำ จ.บุรีรัมย์ นิยมลูกยางพารา
การปลูกยางชำถุง:
1. ใช้ปุ๋ย หินฟอสเฟต จำนวน 70 กรัม ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 5 กิโลกรัมคลุกเคล้ากับดินบนใส่รองก้นหลุมก่อนปลูกยาง 1 เดือน
ในกรณีที่ไม่มีปุ๋ยหมัก ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต จำนวน 200 กรัม ผสมคลุกเคล้ากับดินใส่ร่องก้น
2. นำต้นยางชำ ถุงขนาด 1-2 ถุง ฉัตร ใช้มีดคมๆ ตัดก้นถุง ประมาณ 1 นิ้วจากก้นถุงเพื่อตัดปลายราก ที่คดงอและ ที่ ม้วน เป็นวงอยู่บริเวณก้นถุงทิ้ง ทั้งนี้เพื่อให้รากที่งอกใหม่แทงลึกลงในดินได้รวดเร็ว
3. นำต้นยางชำถุงที่ตัดก้นถุงเรียบร้อยแล้วลงวางในหลุมปลูก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่นๆ ในแถว เมื่อมื่ จัดวางต้นยาง
เรียบร้อยแล้วให้ใช้มีดเล็กๆ กรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกันแต่ยังไม่ดึงถุงพลาสติกออก
เพื่อป้องกันดินแตก
4. กลบดินผสมปุ๋ย ที่เตรียมไว้แล้วลงในหลุม ประมาณครึ่งหนึ่งของถุงอย่าพิ่งกดดินแน่น จากนั้นจึงดึงถุงพลาสติกที่ กรีดไว้แล้วออก โดยดึงดึขึ้นตรงๆ อย่างระมัดระวัง หลังจากดึงถุงพลาสติกออกแล้ว จึงใช้เท้าลงเหยียบกดดินที่ถมข้างถุงไว้แล้วให้แน่น โดยระวังอย่าให้ดินชำยางแตก ต่อจากนั้นจึงเติมดินให้เต็มแล้วเหยียบให้แน่น
5. หลังจากกลบหลุมปลูกยางเรียบร้อยแล้วให้ใช้เศษวัชพืชหรือ วัสดุเหลือใช้คลุมดินบริเวณโคนต้น ซึ่งการคลุมโคน นี้จะต้องระ มัดระวัง อย่าคลุมให้ชิดต้นยาง ควรเว้นเป็นรัศมีประมาณ 5 เซนติเมตรรอบต้นยาง
6. ใช้ไม้ ปักใกล้ๆ กับต้นยางแต่อย่าให้ถูกดินชำยาง แล้วใช้เชือกผูกคล้องต้นยาง เพื่อป้องกันลมโยก และการเจริญแบบเลื้อยชิดดินของต้นยาง
การดูแลยางพารา
คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางพาราตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางพารามีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางพาราที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวต้นยางพาราเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหน้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
- หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
- หากต้องการปลูกไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
- เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 12, 15 และ 18 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 ตามอัตรา สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใช้สูตร 20-10-12ตามอัตรา (โดยไม่แยกชนิดของดิน)
- สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
- วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดิน
- ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
- ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ ขนาด 2.4 เมตร การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
- เมื่อสวนยางพาราเข้าหน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทังแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ หากสามารถราดหรือรดน้ำหมักชีวภาพผ่านวัสดุที่คลุมโคนด้วยก็จะเป็นการดีมาก ๆ