BURIRAM RAJABHAT UNIVERSITY TO TAMBON : BRU2T
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)
หลักสูตร: MS04การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อบทความ :MS04กิจกรรมยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ นางสาวสมฤทัย ชาญประโคน ประเภทบัณฑิตจบใหม่
″สวัสดีค่ะ ดิฉันนางสาวสมฤทัย ชาญประโคน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ MS04ตำบลสวายจีก ผู้เข้าร่วม โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″
การปฏิบัติงานในเดือนตุลาคม
คณาจารย์และคณะทำงานร่วมประชุมออนไลน์ ในการวางแผนการดำเนินงานเดือนตุลาคม ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรายงานอุปสรรคปัญหา ในการทำงานและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปตาม เป้าหมาย และแนวทาง ของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยคณาจารย์ได้มีการแนะนำสมาชิกใหม่ที่เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ รุ่นที่ 3 ได้แก่นักศึกษาจำนวน 1 คน บัณฑิตจบใหม่จำนวน 3 คน ประชาชนจำนวน 1 คน ชี้แจงการลงเวลางานและการลางานสำหรับสมาชิกใหม่ ชี้แจงการจัดกิจกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ชุมชนวัตวิถี การปรับภูมิทัศน์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสวายจีก ณ.บ้านใหม่ หมู่ที่ 4
กิจกรรมการปรับภูมิทัศน์ศูนย์กลางการท่องเที่ยวชุมชนตำบลสวายจีก ณ.บ้านใหม่ หมู่ที่ 4
ประวัติความเป็นมาของตำบลสวายจีก
สวายจีก เป็นหมู่บ้านๆหนึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีผู้กล่าวว่า เดิมทีก่อนจะมาเป็นสวายจีก มาจากหนองน้ำทั้งสองเป็นชื่อหมู่บ้าน คือ ตะเปียงสวาย (หนองมะม่วง) และ ตะเปียงเจก (หนองกล้วย) เรียกมาเรื่อยๆโดยมีข้อสันนิฐานว่า คำว่า สวายจีก เป็นคำที่มาจากภาษาถิ่น (ภาษาเขมร) สวาย แปลว่า มะม่วง ส่วนคำว่า จีก นั้น มาจากคำว่า เจก ซึ่งแปลว่า กล้วย รวมเรียกว่า มะม่วงกล้วย ซึ่ง สันนิฐานว่า ในท้องถิ่นแห่งนี้มีมะม่วงพันธุ์นี้อยู่ ชาวบ้านสวายจีก มีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมมีชาวบ้านอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 อพยพมาจาก จังหวัดสุรินทร์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหมู่ที่ 1 ทางทิศตะวันออก ส่วนอีกกลุ่มอพยพมาจาก จังหวัดนครราชสีมา มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีก หมู่ที่ 17 ในปัจจุบัน และในอีกตำนานหนึ่งเล่าต่อกันมาว่า มีบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ คือ นายสวาย กับ นางเจก ได้อพยพมาจากบ้านสังขะ อำเภอสังขละ จังหวัดสุรินทร์ จากข้อมูลดังกล่าว ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่จากที่นักโบราณคดีได้ศึกษาจากศิลาทราย พบว่า เป็นชุมชนที่อพยพมาจากขอมหรือเขมร ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านไปยังปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และปราสาทหินพิมาย
ต้นไม้ประจำตำบลสวายจีก
ต้นมะม่วงกล้วย , สะ-วาย-เจก
สวายจีก เป็นคำที่มาจากภาษาถิ่น ( ภาษาเขมร ) สวาย แปลว่า มะม่วง จีก แปลว่า ขุด ส่วนคำว่า เจก นั้นแปลว่า กล้วย รวมกันเรียกว่า มะม่วงกล้วย ซึ่งในอดีตนั้นในท้องถิ่นแห่งนี้ มีต้นมะม่วงพันธุ์นี้อยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านในกลุ่มแรกที่มาอาศัยอยู่จึงได้นำมาตั้งเป็นชื่อบ้านตามต้นไม้ดังกล่าว นั้นคือ บ้านสวายเจก แล้วจึงเรียกเพี้ยนกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน คือ ตำบลสวายจีก นั้นเอง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก
คณะผู้บริหาร
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก | |||
ลำดับ | ชื่อ-สกุล | ตำแหน่ง | เบอร์โทร |
1 | นายชลิต อุสารัมย์ | นายก อบต.สวายจีก | 087-8713350 |
2 | นายโกสิทธิ์ ปราศจาก | รองนายก อบต.สวายจีก | 083-7359574 |
3 | นายอุดม อาญาเมือง | รองนายก อบต.สวายจีก | 081-2654865 |
4 | นายวินัย วิโสรัมย์ | เลขานุการนายกอบต.สวายจีก | 081-4967833 |
5 | นางสาวพีรญา ตั้งสกุล | ปลัดอบต.สวายจีก | 095-6919465 |
องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีพื้นที่ประมาณ 58.23 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,395 ไร่ โดยมีที่ทำการตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอระยะทางประมาณ 11.5 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น ๆ ดังนี้
– ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลอิสาณ และองค์การบริหารส่วนตำบล ห้วยราช
– ทิศใต้ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหลักเขต
– ทิศตะวันออก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสองชั้น
– ทิศตะวันตก ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกซำ และตำบลเสม็ด
สภาพพื้นที่โดยทั่ว ๆ ของตำบลสวายจีก สภาพพื้นที่ลาดเอียงขึ้นไปทางเหนือ ดินเป็นดินเหนียวดินลูกรัง บางแห่งเป็นหินไม่เหมาะแก่การปลูกพืชไร่ ขึ้นไปทางทิศตะวันออก ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายใช้สำหรับทำนา บางแห่งเป็นเนินสามารถปลูกพืชไร่และทำสวนได้บ้าง ทิศใต้ สภาพพื้นที่เป็นเนินต่ำ เป็นดินทรายใช้ทำนาได้อย่างเดียวทิศตะวันตก สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ดินเป็นดินเหนียว และดินลูกรัง เพาะปลูกทำสวนทำไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลสวายจีกเป็นทางผ่าน ของถนนสายสำคัญหลายสาย เช่น ถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 226 ถนนลาดยาง รพช.บร 11055 และมีพื้นที่ มีลำห้วยไหลผ่านช่วงกลางตำบล เรียกว่า ลำห้วยสวาย ประชากรประมาณร้อยละ34 – 40 มีที่นาในเขตชลประทาน สามารถผลิตข้าวส่งขายและมีเพื่อบริโภคอย่างเพียงพอ การประกอบอาชีพดังนี้ – การเพาะปลูก ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีกมีการเพาะปลูกพืชที่สำคัญ คือ การเพาะปลูกข้าว ซึ่งมีการเพาะปลูกมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบจึงเหมาะแก่การปลูกข้าว นอกจากการปลูกข้าวแล้วยังมีการปลูกผักและผลไม้ด้วย – การปศุสัตว์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคและจำหน่าย เช่น สุกร ไก่ เป็ด โค กระบือ ปลา ฯลฯ เป็นต้น
องค์การบริหารส่วนตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีจำนวนหมู่บ้านในเขตปกครอง 19 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 11,985 คน ประกอบด้วย ชาย 6,022 คน หญิง 5,963 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 3,350 ครัวเรือน แบ่งตามหมู่บ้านได้ดังนี้
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ครัวเรือน | ประชากร | ชื่อผู้ใหญ่บ้าน | เบอร์โทร | |
ชาย | หญิง | |||||
1 | บ้านสวายจีก | 195 | 366 | 385 | นายช้อย อาญาเมือง | 087-4596269 |
2 | บ้านสวายจีก | 217 | 303 | 357 | นายวิมล อาญาเมือง | 094-5586977 |
3 | บ้านหนองปรือ | 160 | 326 | 289 | นางสุดา ธนสุนทรสุทธิ์ | 087-2438383 |
4 | บ้านใหม่ | 114 | 229 | 217 | นางแม้น อาญาเมือง | 087-6524395 |
5 | บ้านมะค่าตะวันตก | 73 | 167 | 150 | นายบุญธง โกเทริปู | 061-1677189 |
6 | บ้านหนองพลวง | 116 | 198 | 208 | นายธวัชชัย เกรียรัมย์ | 083-3735835 |
7 | บ้านหนองขาม | 224 | 368 | 375 | นายชุมพล เกรัมย์ | – |
8 | บ้านถาวร | 241 | 516 | 480 | นางประท่วง อาจทวีกุล | 080-7359254 |
9 | บ้านหนองปรือน้อย | 210 | 412 | 411 | นายจูง อาญาเมือง | 084-1471897 |
10 | บ้านฝ้าย | 146 | 310 | 291 | นายชัยวัฒน์ กะเสมรัมย์ | 093-8459635 |
11 | บ้านมะค่าตะวันออก | 178 | 330 | 318 | นายลุนดอน คะรัมย์ | 061-2816702 |
12 | บ้านโคกฟาน | 121 | 237 | 251 | นายสมอาจ กระชุรัมย์ | 061-6894979 |
13 | บ้านโคกตาสิงสิงห์ | 204 | 237 | 305 | นายจำลอง อาญาเมือง | 088-1133245 |
14 | บ้านสวายจีก | 192 | 318 | 331 | นายชนันทวิทย์ กระสินรัมย์ | 082-3535169 |
15 | บ้านโคกเปราะ | 146 | 300 | 274 | นายศักดา กอยรัมย์ | 099-6680519 |
16 | บ้านพลวง | 342 | 538 | 497 | นายฉลวย พะชุ่มรัมย์ | 061-9175099 |
17 | บ้านเอกมัย | 143 | 238 | 266 | นางสุภาวดี เกรัมย์ | 085-7782659 |
18 | บ้านปรือพัฒนา | 216 | 370 | 412 | นายสมอินทร์ กระเชิญรัมย์(กำนัน) | 085-7688119 |
19 | บ้านโคกหิน | 92 | 166 | 146 | นายศุภวัฒน์ชรศิริ เกือยรัมย์ | 083-2888878 |
*ข้อมูล ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2563*
ประชาชนในตำบลสวายจีกส่วนใหญ่ร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถานที่สำคัญ ดังนี้ วัด จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1.วัดโพธิ์ทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านสวายจีก
2.วัดบ้านหนองปรือ ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านหนองปรือ
3.วัดเจดีย์แดง ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านหนองพลวง
4.วัดบ้านพลวง ตั้งอยู่หมู่ที่ 16 บ้านพลวง
5.วัดบ้านฝ้าย ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 บ้านฝ้าย
6.วัดเทพนรสิงห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 13 บ้านโคกตาสิงห์
หัตถกรรมการทอผ้า
การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นกันมานานในตำบลสวายจีก นอกจากคุณค่าทางศิลปะแล้วยังเป็นการแสดงถึงแบบแผนความเป็นอยู่ในสังคม กรรมวิธีและเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ จึงเป็นเทคนิคและความสามารถของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม ซึ่งผู้ทอสามารถจดจำลวดลายที่ตนคิดประดิษฐ์ได้ ถึงแม้แต่ละลวดลายจะมีความซับซ้อนและหลากหลาย แต่เขาก็สามารถนำมาประสานกันได้อย่างเหมาะสม งดงาม แสดงถึงภูมิปัญญา และความสามารถของชาวชนบทเป็นอย่างดี ผ้าทอมือจึงมีเทคนิคการทอและความสวยงามเป็นที่สุด อีกทั้งผ้าทอในตำบลสวายจีกยังมีความสัมพันธ์กับประเพณี ความเชื่อในการดำรงชีวิต เป็นสิ่งที่ใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ผ้าผูกเปล ผ้าห่ม เสื้อผ้า ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น การทอดกฐิน การแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ ผ้าคุมหัวนาคในงานบวช ผ้าคลุมศพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังถือว่า การทอผ้าเป็นการใช้เวลาว่างจากการทำนาและการเก็บเกี่ยว มาทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนหรือทอผ้าเอาไว้ใช้ในงานประเพณีต่างๆ เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความพยายามและความอดทนเป็นอย่างมาก จึงจะสามารถทอให้เป็นผืนผ้าได้ ปัจจุบัน ผ้าทอ กลายเป็นหัตถกรรมที่มีคุณค่าและเอกลักษณ์ ที่ถูกผลิตเพื่อการค้าเป็นอาชีพหลักและเสริม ถึงแม้รูปแบบผ้าจะถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการใช้งาน และตลาดผู้บริโภคในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีรากเหง้ามาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างกันของรูปแบบและวิธีการผลิตผ้าในท้องถิ่น
ชนิดของผ้า
ผ้าที่ทอในตำบลสวายจีกนั้น ได้แก่ ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ผ้าสไบ ผ้าด้าย ผ้าไหม ผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งเส้นไหมที่นำมาทอเป็นผ้าผืนนั้น ส่วนมากจะมาจากการที่ชาวบ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเอง โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทอเก็บไว้ใช้เองและเก็บไว้ให้ลูกหลานหรือทอเก็บไว้ในตู้ จะขายเป็นบางครั้งถ้าหากมีคนมาขอซื้อ ราคาขายของผ้าไหมค่อนข้างที่จะมีราคาแพง เพราะกว่าจะได้ผ้าไหมมาแต่ล่ะผืนนั้น ค่อนข้างต้องใช้เวลานาน ทั้งชาวบ้านต้องเลี้ยงไหมเอง ทอผ้าเอง ทำทุกขั้นตอนเองทุกอย่าง อีกทั้งราคาขายจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของลวดลายที่ทำ และบางท่านจะทอจำหน่ายตามการสั่งซื้อ ปริมาณการทอผ้าจะขึ้นอยู่กับเวลาว่างของแต่ละบุคคล หากเป็นช่วงฤดูทำนาก็จะไม่ค่อยมีคนทอ แต่หากว่างเว้นจากการทำนาก็จะสามารถทอได้เยอะขึ้น โดยราคาขายผ้าจะขึ้นอยู่กับลวดลายและก็ชนิดของผ้าที่ใช้ทอ
ราคาขายผ้า
ลำดับ | ประเภทของผ้า
(ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย, ขายเป็นฝืน, รับทอ) |
ขนาด/ต่อผืน | ราคาปลีก | ราคาส่ง |
1 | ผ้าฝ้าย | ผืนละ 2- 2.30เมตร | 100-150 | – |
2 | ผ้าไหมสีพื้น | ผืนละ 2- 2.30เมตร | 800-2,000 | – |
3 | ผ้าไหมยกลาย | ผืนละ 2- 2.30เมตร | 1,500-2,500 | – |
4 | ผ้ามัดหมี่ | ผืนละ 2- 2.30เมตร | 1,500-2,500 | – |
ลักษณะเด่นของผ้า
ผ้าพื้นบ้านของตำบลสวายจีกจะมีลักษณะเด่นของผ้า คือ ผ้าจะนิ่มไม่แข็ง ผ้าโปร่งเย็นสบายเวลาสวมใส่ มีสีสันสดใส เช่น สีบานเย็น สีเขียว สีเหลือง นำไปทอเป็นผืนผ้ามีลวดลายที่ประณีตงดงาม เป็นเอกลักษณ์ ทั้งแบบเรียบและยกดอกเป็นลาย เช่น ลายดอกพิกุล ลายก้านมะพร้าว ลายช้าง ลายม้า ลายดอก ผ้าพื้นบ้านที่ทอจะนิยมใส่เวลามีงานพิธีหรืองานสำคัญต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่ง เป็นต้น ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะนิยมใช้พาดบ่าในงานบุญและงานมงคลต่างๆ เช่น ไปทำบุญที่วัดในงานสำคัญทางศาสนา
ผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร
สมุนไพรไทย มีสรรพคุณในการป้องกันและรักษาโรค โดยการเรียนรู้จากบรรพบุรุษสืบทอดกันมา ซึ่งที่บ้านของ นายฮุย การัมย์ หมู่บ้านเลขที่ 25 หมู่ที่ 4 บ้านใหม่ ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เคยเป็นผู้ป่วยแทบเอาชีวิตไม่รอด เลยหันมาศึกษาสมุนไพรจากผู้รู้มารักษาตนเองจนหายเป็นปกติ จึงตั้งใจศึกษาเรียนรู้อย่างเป็นจริงเป็นจัง รักษาผู้ป่วยที่มาขอรับบริการโดยไม่หวังทางธุรกิจ คือ ถ้าไม่มีเงินก็ไม่เอารักษาฟรี ลูกประคบสมุนไพร หนึ่งในตัวยาที่ นายฮุย การัมย์ ได้คิดค้นมา รักษาผู้ป่วยที่ขาแข้งอ่อนแรง ช่วยคลายเส้นเอน มือเท้าขาได้ ตัวประกอบด้วย ลุมปุ๊กแดง กระสัง มะรุม กุ่มน้ำ กุ่มบก ใบเตยหอม ไพล ตะไคร้หอม ใบส้มป๋อย ว่านน้ำ เปราะหอม ใบมะรูด ใบมะขาม ผักหนาม ยอดผักบุ้งแดง ใบส้มโอ การบูร ขั้นตอนการผลิตเก็บเอาสมุนไพรที่มีสรรพคุณตามที่ต้องการมาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วตากแดดให้แห้ง ห่อด้วยผ้าขาว ขนาด 30×30 เซนติเมตร รัดด้วยด้ายฝ้าย สมุนไพรที่จัดเก็บและเตรียมไว้ต้องพึ่งแดดให้แห้งสนิท แล้วค่อยนำมาห่อในผ้าขาวที่เตรียมไว้ และมัดด้วยด้ายดิบให้แน่น จึงค่อยนำไปนึ่งด้วยความร้อนพอสมควร การผลิตเป็นฝีมือของคนในชุมชนได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มกันและจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน สร้างความเข้าใจให้ตรงกันในการพัฒนาภูมิปัญญา อีกทั้งเมื่อดำเนินการผลิต ก็ร่วมแรงร่วมใจกัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงาน
ได้รับความรู้เรื่องประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต วัฒธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ของตำบลสวายจีกที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบไว้ให้แก่บุคคลรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นเรื่อยไป ได้ปฏิบัติกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้ชุมชน และได้เห็นความสามัคคีที่ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติงาน
วีดีโอการปฏิบัติงาน