ข้าพเจ้านายกฤษดา ดวงไสว ประเภทนักศึกษา ตำบลลำดวน หลักสูตร: การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายได้ในตำบล MS02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ในเดือนตุลาคม 2564 เวลา ณ. ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

สำหรับการลงพื้นที่ปฏิบัติงานดำเนินโครงการประจำเดือนตุลาคม ณ ตำบลลำดวน

                       โดยกระผมและผู้ร่วมโครงการได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่บริเวณที่รับผิดชอบในตำบลลำดวน ซึ่งชุมชนในตำบลลำดวนส่วนใหญ่นั้น เป็นชุมชนชาวเขมร ซึงในวันที่ 5 ตุลาคม 2564 ตรงกับพิธีกรรมทางเขมรของชุมชนตำบลลำดวน คือ พิธีแซนโฎนตาของเชื้อสายเขมร  กระผมได้เข้าร่วมพิธีงานประเพณีแซนโฎนตา ซึ่งประเพณีแซนโฎนตาของชุมชนชาวบ้าน ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ นั้น เป็นความเชื่อว่าเป็นการแสดงถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ละล่วงลับไปแล้ว ชื่อประเพณี เรียกว่า “แซนโฎนตา” หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “บ็อนผจุมฺเบ็น” ก็ได้ซึ่งมีความเชื่อว่า ในวันแรม1ค่ำเดือน10 (งัยเบ็นฑ์ตูจ) จนถึงวัน แรม15ค่ำ เดือน10 (งัยผจุมฺเบ็นฑ์) ชุมชนชาวเขมรมีความเชื่อว่า ระยะเวลานี้เป็นวันที่ยมบาลปล่อยสัตว์นรกให้มาเยี่ยมบ้านเดิมของตนที่ตนอยู่ เพื่อมารับส่วนบุญส่วนกุศลที่ลูกหลานและญาติ ได้ทำบุญอุทิศไปให้ ซึ่งลูกหลานและญาติมีความเชื่อว่า ญาติของตนที่ตายไปแล้วนั้น อาจจะไปเกิดในอบายภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่อดยาก จึงทำบุญอุทิศไปให้ โดยหวังว่าผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อวิญญาณได้รับอนุโมทนาผลบุญกุศลแล้ว ก็จะได้พ้นจากภพภูมิที่ทุกข์ทรมานนั้น แล้วจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี ซึ่งในแต่ละบ้านนั้นก็จะเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ทั้งอาหารคาว-หวาน ผลไม้ ธูปเทียน กรวยห้า เพื่อเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน เซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้านของใครของท่าน รวมทั้งพากันไปพร้อมพิธีกรรมที่วัดเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศ ให้แก่ญาติบรรพบุรุษหรือผู้ที่ล่วงลับไป พร้อมส่งดวงวิญญาณกลับภพที่วิญญาณอยู่

” ระเดิวโฎนตาแซราะแซร อัญเจิญเอิวแมเตียงเอ่าะ เตียงกระมม กันเล่าะ เซราะกราวกน็องมืง มันทาแอแล็จ แอเกิด แอตะโบง หรือแอเจิง โมผจุมเบ็ณฑ์โฎนตาเซราะยืง มาชนำเมียนมนอง ”

กระผมและทีมงาน คุณตา(ปราชญ์กันตรึม) และเด็กเยาวชนวงกันตรึมโบราณได้ทำการบรรเลงและถ่ายทำวีดีโอกันตรึมโบราณ ณ วัดยาง ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรมย์  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้ “ไม่สืบสาน ก็สาบสูญ”

กันตรึมโบราณ เป็นดนตรีที่คงอยู่กับชาวเขมรมาช้านาน หากเด็กหรือเยาวชนรุ่นหลังไม่ช่วยกันสืบสานก็สาบสูญไปตากาลเวลากระผมได้ทำการบรรเลง (ตำแหน่งบรรเลงซอกันตรึม)บทเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเพณีแซนโฎนตา และบทเพลงทำนองโบราณของกันตรึมบ้านยาง รวมถึงบทเพลงกันตรึมของดีตำบลลำดวน ซึ่งเนื้อเพลงนั้น แต่งโดยกระผมเอง

                                                                        จากข้อมูลดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนตำบลลำดวนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆที่จัดขึ้นนั้นจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับชุมชน รวมถึงการได้เรียนรู้และต่อยอด ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะมีกิจกรรมสร้างมัคคุเทศน์น้อยในตำบล โดยเน้นการเสริมองค์ความรู้ให้คนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

 

อื่นๆ

เมนู