ข้าพเจ้านางสาวนันทนา เก็บรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลลำดวน หลักสูตร:การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบล MS02  ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ในเดือนตุลาคม  2564 เวลา  ณ. ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ทำการถ่ายภาพประเพณี”แซนโฎนตา” หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “บ็อนผจุมเบ็ณฑ์” และถ่ายวิดีโอการร้องเพลงกันตรึมโบราณ ณ พื้นที่ตำบลลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ โดยพ่อสัว ทำหน้าที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านในการดำเนินการทำพิธีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นการแสดงความเคารพนับถือต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ภายในพิธีจะมีการจัดเตรียมอาหารทั้งคาว หวาน ผลไม้ต่างๆ รวมไปถึงเสื้อผ้า และผ้าไหม เพราะชาวบ้านเชื่อกันว่าผีบรรพบุรุษจะได้มีชุดใหม่ไปฟังธรรมที่วัดในวันนั้น

 

 

ถ่ายภาพเพื่อส่งภาพเข้าประกวดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต ภูมิปัญญาชาวบ้านสืบสานมรดกไทย เพื่อให้รู้ถึงการผลิตผ้าไหมว่ามีขั้นตอนการทำงานอย่างไร กว่าจะได้มาเป็นผ้าไหม เพราะจะทำให้หมู่บ้านลำดวนเป็นที่รู้จักมากขึ้นด้วย หากภาพถ่ายผ่านการคัดเลือก ถือเป็นการประชาสัมพันธ์ผ้าไหมและวิถีชืวิตของชาวบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

 

 

วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ได้ลงพื้นที่ตำบลลำดวน จัดอบรมทำพวงกุญแจ เพื่อไปถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับทำพวงกุญแจจากเศษผ้าไหม และร่วมทำพวงกุญแจกับชาวบ้านที่เข้าร่วมการจัดอบรม เพื่อยกระดับผ้าไหมทอมือ ให้เกิดสินค้าขึ้นที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและเป็นการส่งเสริมอาชีพเสริมให้แก่ชาวบ้านตำบลลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

 

 

 

 

หลังจากนั้นช่วงเย็นก็ได้ถ่ายวิดีโอ MV การร้องเพลงกันตรึม และการร้องเพลงพื้นบ้านโบราณ ที่หาชมได้ยากจากศิลปินอาวุโสของตำบลลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ลงในเพจ Facebook ผการันดูล รวมถึงการสืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทางดนตรีพื้นบ้านของชาวเขมรในตำบลลำดวน

 

 

จากข้อมูลดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนตำบลลำดวนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆที่จัดขึ้นนั้น จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับชุมชนตำบลลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ รวมถึงการได้เรียนรู้และต่อยอดผลิตภัณฑ์ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น และได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับทีมงานมากขึ้น นอกจากนี้จะมีกิจกรรมสร้างมัคคุเทศก์น้อยในตำบล โดยเน้นการเสริมองค์ความรู้ให้คนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนต่อไป

อื่นๆ

เมนู