ข้าพเจ้านายเทพรัตน์  คำพร  บัณฑิตจบใหม่ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด และดร.วิษณุ  ปัญญายงค์

สำหรับการปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการประจำเดือน ตุลาคม 2564

 

 

 

 

 

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ลงพื้นที่ถ่ายทำถ่ายภาพและวีดีโอในการโปรโมทเพจ ผการันดูล เริ่มถ่ายทำงานประเพณีแซนโฏนตา ประจำปีของชาวบ้าน ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ โดยมีพ่อสัวเป็นปราชทางด้านนี้มาทำพิธีให้เรา งานประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ ของชาวบ้าน ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ เป็นความเชื่อการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ชื่อประเพณี“แซนโฎนตา” นี้อาจเรียก “บ็อนผจุมเบ็ณฑ์” ก็ได้ด้วยที่มีความเชื่อว่า  โดยแต่ละบ้านจะเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ทั้งอาหารคาว-หวาน ผลไม้ ธูป เทียน เพื่อเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้าน รวมทั้งไปประกอบพิธีกรรมที่วัดเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศ ให้แก่ญาติบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน

ถ่ายภาพส่งเข้าประกวดวิถีชีวิตภูมิปัญญาชาวบ้าน สืบสานมรดกอันล้ำค่าของชาวบ้านต.ลำดวนที่มีมากมายแต่สิ่งที่ทุกบ้านมีและยังไม่เคยเลื่อนหายไปคือการทอผ้าไหมให้บุคคลรุ่นหลังได้รู้จักและซึมซับวัฒธรรมประเพณีของชาวบ้านต.ลำดวนให้คงอยู่ได้สืบต่อไป ผ้าไหมต้องใช้ใจรักและจิตวิญญาณในการเรียนรู้วัฏจักรของไหมการเลี้ยงดูกระบวนการขั้นตอนการผลิตกว่าจะออกมาได้แต่ละผื่น ลวดลายที่คิดค้นจากภูมิปัญญาชาวบ้านมีความปราณีต เป็นเอกลักษณ์ในตัวของมันจึงทำให้เกิดกิจกรรมนี้ขึ้นมา

ถ่ายทำ MV วงกันตรึมโบราณของชาวบ้าน ต.ลำดวน เป็นวงดนตรีพื้นบ้านโดย มีนักแสดงทั้งรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่เป็นสิ่งที่น่าทึงและหาชมได้ยาก เพราะเล่นกันตรึมถือเป็นการละเล่นเฉพาะของชาวบ้านเลยก็ว่าได้ และนี้คือสิ่งที่ควรเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้เห็นมันจากการถ่ายทอดการระเล่นกันตรึมนี้

วันที่ 11 ตุลาคม 2564 กิจกรรมทำพวกกุญแจ ของชาวบ้าน ต.ลำดวน เพื่อส่งเสริมการตลาดโดยทำให้เป็นของฝาก ในนักท่องเที่ยวที่ได้มาเยี่ยมชมจะได้มีของฝากติดไม้ติดมือกลับบ้านไป ในอนคตอาจมีหลากหลายสินค้า นอกจากผ้าไหม และยังมีพวงกุญแจ น้ำยาซักผ้าด้วยไยไหม เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่เราหามาได้และนำมาปรับใช้ในการแปรรูป

จากข้อมูลดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนตำบลลำดวนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆที่จัดขึ้นนั้นจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับชุมชน รวมถึงการได้เรียนรู้และต่อยอด ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะมีกิจกรรมสร้างมัคคุเทศน์น้อยในตำบล โดยเน้นการเสริมองค์ความรู้ให้คนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

อื่นๆ

เมนู