ข้าพเจ้า นางสาว วันดี โคมารัมย์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด และดร.วิษณุ ปัญญายงค์
สำหรับการปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการประจำเดือน ตุลาคม
วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานถ่ายทำสื่อได้ลงพื้นที่ไปถ่ายทำพิธีกรรมทางเขมรของตำบลลำดวน คือ พิธีแซนโฎนตาของเชื้อสายเขมร
“ระเดิวโฎนตาเซราะแซร อัญจืญเอิวแมเตียงเอ่าะ
เตียงกระมม กันเล่าะ เซราะกราวกน็องมืง
มันทา แอเล็จ แอเกิด แอตะโบง รือแอจืง
จุมเบ็ณฑ์โฎนตาเซราะยืง มาชนำเมียนมนอง”
งานประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ ของชาวบ้าน ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ เป็นความเชื่อการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ชื่อประเพณี“แซนโฎนตา” นี้อาจเรียก “บ็อนผจุมเบ็ณฑ์” ก็ได้ด้วยที่มีความเชื่อว่า ในวันแรม1ค่ำเดือน10 (วันเบ็นฑ์ตูจ) จนถึง แรม15ค่ำ เดือน10(วันผจุมเบ็ณฑ์) ชาวเขมรมีความเชื่อว่า ระยะนี้เป็นระยะเวลา ที่ยมบาลปล่อยสัตว์นรกให้มาเยี่ยมบ้านเดิมของตน เพื่อรับส่วนบุญ ที่ญาติจะอุทิศให้ ลูกหลานและญาติ มีความเชื่อว่า ญาติของตนที่ตายไปเเล้ว อาจจะไปเกิดในอบายภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่อดอยาก จึงทำบุญอุทิศให้ โดยหวังว่า เมื่อวิญญาณ ได้รับอนุโมทนาส่วนบุญแล้ว จะได้พ้นจากภูมิอันทุกข์ทรมานนั้น แล้วจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี โดยแต่ละบ้านจะเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ทั้งอาหารคาว-หวาน ผลไม้ ธูป เทียน เพื่อเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้าน เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้าน รวมทั้งไปประกอบพิธีกรรมที่วัดเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศ ให้แก่ญาติบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน
วันที่ 11 ตุลาคม 2564 ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่จัดอบรมให้กลุ่มทอผ้าไหมตำบลลำดวน เรื่องการทำพวงกุญแจจากเศษผ้าที่เหลือจากการตัดชุดต่างๆมาทำเป็นพวกกุญแจดอกทิวลิปเพื่อพัฒนากลุ่มทอผ้าให้มีอาชีพเสริมและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
การทำพวงกุญแจจะมีวิธีการทำพวงกุญแจดอกทิวลิปจากเศษผ้าดังนี้
1.ตัดผ้าขนาด 2 x 3.5 นิ้ว แล้วเนาห่างๆ ด้วยมือหรือเย็บด้วจักร
2.ทบริมผ้า แล้วเย็บด้านข้าง (ด้านผิด) ขนาดตะเข็บ 1/4นิ้ว
3.กรีดตะเข็บให้แบบออก (ตามรูป)
4.ผับขอบด้านบนฝั่งที่ไม่ได้เย็บลงมาประมาณ 1/4นิ้ว
5.สอดเชือก (ดูรูป) โดยใช้เชือกทำพวงกุญแจ
6.ดึงด้ายเส้นล่าง (ถ้าเย็บจักร) แล้วรูเข้าหากัน
7.พับเชือกลงมาแล้วเย็บและพันให้แน่น
8.กลับตะเข็บออกมา
9.ขีดเส้นหาจุดกึ่งกลางทั้ง4ด้าน โดยใช้ปากกาขีดผ้า
10.ใส่ใยบอล ใยฟู หรือใยโพลีเอสเตอร์
11.เย็บตรงกลางเข้าหากัน
12.ทำเหมือนกันทั้งสองฝั่ง
13.เสร็จเรียบร้อย นำไปแขวนกับกระเป๋า ตกแต่งกับของอื่นๆ หรือนำไปจำหน่ายเป็นของฝากชุมชนได้
ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการผลิต อีกทั้งเป็นงานหตัถกรรมพื้นบ้านที่ใชวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาพัฒนา โดยมากเป็นงานที่ทำด้วยมือ (Hand Made) และผู้ผลิตชุมชนมีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการผลิตสินค้านอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ชุมชนยังมีความหลากหลายสามารถตอบสนองลูกค้าได้หลายระดับแต่อย่างไรก็ตามผลิตภณัฑ์ชุมชนก็ยังขาดการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สามารถควบคุมผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน อีกทั้งมีการจัดการด้านวัตถุดิบไม่ดีพอ ส่งผลให้สินค้ามีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ จึงทำ ให้ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการโรงงานได้
อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลลำดวน และทีมงานปฏิบัติงานลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมการทำพวงกุญแจด้วยเศษผ้า ให้กับกลุ่มทอผ้าไหมตำบลลำดวน เข้าฝึกอบรมการการทำพวงกุญแจจากเศษผ้าทางทีมงานของพวกเราได้จัดกิจกรรมขึ้น มีประเด็นของการส่งเสริมให้ความรู้ เรื่องการทำพวงกุญแจจากเศษผ้า เพื่อกลุ่มทอผ้าไหมตำบลลำดวนเข้ารับการฝึกอบรม ได้นำความรู้เป็น แนวทางการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตที่มีความเชื่อมโยง เกื้อกูล และสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน