ข้าพเจ้านางสาวนันทนา เก็บรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลลำดวน  ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร  ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด และดร.วิษณุ  ปัญญายงค์ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 เวลา ณ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2564 ได้มีตัวแทนมอบลายผ้าไหม ลายดอกลำดวนให้กับชาวบ้านบุและบ้านลำดวน และตัวแทนกลุ่มทอผ้าไหม เพื่อให้กลุ่มทอผ้าไหมเริ่มทอผ้าไหมลวดลายของดอกลำดวนที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลำดวน ที่ออกแบบโดยนักศึกษาของในทีมผการันดูล

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2564 เราได้นำสมาชิกของทีมผการันดูล ร่วมมือกับพี่ๆทหารที่ดูแลศูนย์ศิลปาชีพแปลงโฉมตัวหนอนหน้าศูนย์ศิลปาชีพใหม่ ให้เป็นที่สะดุดตา และเป็นแลนด์มาร์คใหม่ ในการมาท่องเที่ยวถ่ายภาพกับหนอนไหมต่อไป

และในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2564 ทางทีมผการันดูล ได้ร่วมบุญกฐินที่วัดบ้านลำดวน นำทีมโดยคณะอาจารย์ และทีมงานของทีมผการันดูล ได้ร่วมงานบุญกฐินกับชาวบ้านบ้านลำดวนในครั้งนี้ด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่ได้ทำร่วมกับชาวบ้านตำบลลำดวน แถมยังได้รับบุญกันถ้วนหน้า

ทีมผการันดูล ได้ลงพื้นที่ถ่ายทำวิดีโอคลิป เพื่อโปรโมทการท่องเที่ยวในชุมชน ตำบลลำดวน และส่งคลิปเข้าประกวดในโครงการ Hackathon 2021 ตั้งแต่วันที่ 3-6 พฤศจิกายน 2564 เนื่องจากเป็นการโปรโมทตำบลในเชิงท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทำให้มีการถ่ายทำหลายวัน เพื่อเก็บภาพให้สมบูรณ์ที่สุด และนำไปถ่ายทอดเป็นคลิปวิดีโอ ในการเผยแพร่วัฒนธรรมชุมชนขแมร์ รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวในตำบลลำดวนให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทางทีมผการันดูลตั้งใจทำผลงานในครั้งนี้มาก และหวังว่าจะทำให้ชุมชนตำบลลำดวน เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกที่หนึ่งที่เที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ต่อไป

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 เราเริ่มถ่ายทำในช่วงบ่ายของวัน ลงพื้นที่ถ่ายทำกันที่ห้วยเจมิง เพื่อเก็บภาพพระอาทิตย์ตกดิน และเก็บซีนสำคัญในสถานที่ในชุมชุน เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศภายในชุมชน มาถ่ายทอดผ่านคลิปวิดีโอโปรโมทของตำบลลำดวน ในเพจผการันดูลนั่นเอง

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 เราเริ่มถ่ายทำวิดีโอกันตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อไปเก็บซีนพระอาทิตย์ขึ้นที่สะพานคำสุขพัฒนา พร้อมกับลำชี ในช่วงเช้า ที่จะสื่อถึงบรรยากาศในช่วงเช้า พร้อมกับเสียงธรรมชาติของป่าที่อยู่ข้างลำน้ำชีอีกด้วย จากนั้นเราก็ไปถ่ายทำนาแปลงใหญ่ เพื่อถ่ายทอดภาพในเชิงวิถีชีวิตของชาวบ้าน จากนั้นก็ไปถ่ายทำกันต่อที่ป่าชุมชนตำบลลำดวน จากนั้นเราก็ไปถ่ายทำกันที่วัดลำดวน ช่วงบ่ายเราไปถ่ายทำที่วัดยาง เพื่อเก็บซีนต่างๆในวัด และไปถ่ายที่สะพานกับลำชีอีกครั้งในช่วงเย็น เพื่อเก็บภาพพระอาทิตย์ตก พร้อมกับลำชีช่วงเย็น

 

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ถ่ายทำกันที่วัดลำดวน เพื่อไปเก็บภาพที่พิพิธภัณฑ์ผ้าไหม โดยพิพิธภัณฑ์ผ้าเกิดที่ชาวบ้านนำมาถวาย เจ้าอาวาสเลยเกิดไอเดียนำผ้าไหมประดับภายในตัวศาลาวัด ทำให้เกิดสถานที่นี่ขึ้นมา  จากนั้นเราก็ไปถ่ายทำที่วัดยาง ที่มีทั้งพระพุทธรูปประจำวัด และภายในวัดยังมีการประดิษฐ์กันชู หรือการทำลวดลายในการประดับโลงศพ เนื่องจากลวดลายที่ทำนั้นเป็นลายโบราณ ซึ่งถือเป็นการหาดูได้ยาก นั่นเอง

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 เริ่มถ่ายทำวิดีโอที่ป่าชุมชนอีกครั้ง พร้อมกับนักแสดงประกอบ เพื่อให้ภาพดูง่ายแก่การเข้าถึง เพิ่มมากขึ้น จากนั้นไปถ่ายที่หมู่บ้านทอผ้าไหม เพื่อถ่ายทำวิธีการทำผ้าไหมของชาวบ้าน พร้อมกับการไปดูความคืบหน้าของการทำลวดลายผ้าไหมเป็นดอกลำดวน จากนั้นก็ไปถ่ายทำกันที่วัดยางกันอีกครั้ง เป็นการแสดงกันตรึมโบราณ ถือเป็นอีกหนึ่งการแสดงด้านวัฒนธรรมที่ชาวบ้านตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ยังคงรักษาจากรุ่นสู่รุ่นและปัจจุบันก็ยังคงรักษาไว้ให้เด็กรุ่นใหม่ได้เห็นอยู่ พร้อมทั้งเรียนรู้สืบสาน กันตรึมโบราณอยู่ โดยกันตรึมโบราณเป็นการเล่นดนตรีของชาวพื้นเมืองเขมร ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งเครื่องดนตรีและทำนองที่หาฟังได้ยาก และกันตรึมโบราณมักนิยมจัดแสดง ในงานสังสรรค์และงานรื่นเริง รวมถึงไปการรำกันตรึม เพื่อให้เกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น รวมถึงการรำมะม็วด และหมี่ยำรสเด็ด อีกด้วย

และเราก็ได้มาถ่ายทำกันต่อที่ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ของชาวบ้านตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีการส่งเสริมอาชีพให้กับชาวบ้าน ผลิตงานด้านศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม นอกเหนือจากการเกษตร โดยโครงการศิลปาชีพอยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นอกจากจะเป็นการช่วยเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชาวบ้านผู้มีรายได้น้อยแล้ว ยังช่วยอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านตำบลลำดวน และพัฒนาคุณภาพของฝีมือให้ดียิ่งขึ้น จนสามารถผลิตสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น การท้อผ้าไหม ซึ่งเป็นสร้างสรรค์งานฝีมือชั้นดี ไว้เป็นวัฒนธรรมของชาวบ้านตำบลอีกด้วย และอีกมากมาย

 

จากข้อมูลดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนตำบลลำดวนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆที่จัดขึ้นนั้นจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับชุมชน รวมถึงการได้เรียนรู้และต่อยอด ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

อื่นๆ

เมนู