ข้าพเจ้านายเทพรัตน์  คำพร  บัณฑิตจบใหม่ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด และดร.วิษณุ  ปัญญายงค์

สำหรับการปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการประจำเดือน พฤศจิกายน 2564

   

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 ทีมสื่อได้ลงพื้นที่ถ่ายทำสื่อเพื่อนำมาทำการโปรโมทการท่องเที่ยวและการลงเข้าประกวด Hackathon 2021 ในครั้งนี้ทีมงานได้มีการวางแผนในการลงพื้นที่ถ่ายทำตั้งแต่วันที่3-6 พฤศจิกายน 2564 ทีมงานผการันดูนเราทุ่มเททุกๆงาน รวบรวมสตอรี่เรื่องราวของวิถีชุมชนองชาวบ้านตำบลลำดวนทุกอย่าง เริ่มที่ลำชีเป็นแม่น้ำหนึ่งในสามแม่น้ำที่สะอาดที่สุดในประเทศไทย สองข้างตลิ่งอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองหายาก ปลาพื้นบ้านนาๆชนิด รวมทั้งวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองที่ดำรงค์อยู่ร่วมกับลำน้ำสายนี้มาเป็นเวลานาน และเป็นแม่น้ำที่ค่อยเลี้ยงดู ชาวบ้านตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งทางน้ำและทางบก ชาวบ้านที่นี้ทำเกษตรและพืชพันธุ์ไว้เลี้ยงชีพและค้าขาย

หนึ่งวันเราต้องถ่ายทำหลายที่ต่อมา การประดิษฐ์กันชุหรือ การทำโรงศพโดยการตอกลายตามขนาด เป็นงานฝีมือที่หาชมได้ยาก จนถึงปัจจุบันจากวิธีชีวิตของชาวบ้าน หมู่4 ตำบลลำดวน ที่แต่เดิมทำไว้ใช้เองแต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปก็เกิดโรงแบบสำเร็จรูปจึงทำให้ การประดิษฐ์กันชุหาชมได้ยาก และทำให้ปัจจุบันคนที่สามารถจะนำกันชุไปใช้ในงานศพได้นั้นจะต้องสั่งจอง เพราะไม่มีแบบทำไว้แล้ว การผลิตแต่ละครั้งต้องวัดขนาดให้เท่ากับผู้ที่ล่วงลับเท่านั้น จึงทำให้ชาวบ้านที่นี้ยังคงรักษาการประดิษฐ์กันชูหรือโรงศพไว้นั้นเอง

วัดบ้านลำดวน ความสวยงามของวัดนี้อยู่ที่ศาลาโดยภายในศาลาออกแบบตกแต่งสถาปัตยกรรมเป็นศิลปะที่ใช้ผ้าไหมหลายร้อยผื่นเข้ามาตกแต่งมห้เกิดความอลังการและน่าจดจำ เป็นเอกลักษณ์เพราะชาวบ้านมีการทอผ้าไหมเป็นอาชีพและวิถีชีวิตประจำวันเลยเกิดการสร้างศาลาที่ออกแบบภายในด้วยผ้าไหมแท้จากชาวบ้านทำให้นักท่องเที่ยวหรือชาวบ้านที่ได้ไปสัมผัสรู้สึกประทับใจทุกครั้งที่ได้ไป

กันตรึมโบราณ ถือเป็นอีกหนึ่งการแสดงด้านวัฒนธรรมที่ชาวบ้านตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ยังคงรักษาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนปัจจุบันก็ยังคงรักษาไว้ให้เด็กรุ่นหลังได้ยังคงเห็นและเรียนรู้สืบทอด กันตรึงเป็นการเล่นดนตรีของชาวพื้นเมืองเขมร ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งเครื่องดนตรีและทำนองที่หาฟังได้ยาก กันตรึมชาวบ้านนิยมจัดในงานสังสรรค์รื่นเริง นางรำมีความสนุกสนานกัน

ต่อมาไปกันที่โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ของชาวบ้านตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้าน ผลิตงานด้านศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม นอกเหนือจากการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลัก งานศิลปาชีพอยู่ภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นอกจากจะเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกรและชาวบ้านผู้มีรายได้น้อย แล้ว ยังช่วยอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านตำบลลำดวน และพัฒนาคุณภาพของฝีมือให้ดียิ่งขึ้น จนสามารถผลิตสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาด เช่นการท้อผ้าไหมเป็นหลักรวมทั้งสร้างสรรค์งานฝีมือชิ้นเยี่ยม ไว้เป็นวัฒนธรรมของชาวบ้านตำบลอีกด้วย และยังมีอีกมากมายทั้งมะม็วด และอาหารพื้นถิ่นเช่นหมี่ยำ

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน การทำนา เลี้ยงวัวควาย ทุกอย่างคือความเป็นเอกลักษณ์ของที่นี้

จากข้อมูลดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนตำบลลำดวนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆที่จัดขึ้นนั้นจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยให้กับชุมชน รวมถึงการได้เรียนรู้และต่อยอด ช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

 

อื่นๆ

เมนู