การปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ประจำเดือน สิงหาคม ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  กระผมนายคมสันต์ อะมินรัมย์ เป็นผู้เข้าในโครงการประเภท นักศึกษา

ซึ่งได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยปรากฏว่าในพื้นที่ตำบลลำดวนเป็นชุมชนชาวเขมรเป็นส่วนใหญ่ มีอาชีพเกษตรกรรมทั้งในยามว่างจากการทำนา ก็มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการผ้าไหมเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพอำเภอกระสัง ขึ้นในพื้นที่เป็นร่วมกลุ่มทอผ้าไหมในตำบลลำดวน แต่ยังไม่มีการพัฒนารูปแบบใหม่มาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน เป็นเพียงการรับเอาจากการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ  จึงทำให้ทีมยกระดับเศรษฐกิจฯ ตำบลลำดวน จัดได้มีการดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน และการกระจายรายได้” ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม ณ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพอำเภอกระสัง อันเนื่องจากพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

โดยทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมการอบรมการย้อมสีเส้นไหม การย้อมสีให้สีติด สีไม่ตก และการสอนวิธีการอาบน้ำยาซักผ้าไหม โดยมีวิทยากรผู้ให้ความรู้ คือ อาจารย์ทัศนียา นิลฤทธิ์ และคุณกรรณฑิมา พันธ์ศรี เป็นวิทยากรบรรยายและสอนปฏิบัติ ซึ่งมีกลุ่มทอผ้าไหมของชุมชนต่าง ๆ ในตำบลลำดวนเข้าร่วมทั้งสิิ้น 7 กลุ่ม ดังนี้  1) กลุ่มแกะลาย บ้านลำดวน หมู่1   2) กลุ่มทอผ้าบ้านยาง หมู่4    3) กลุ่มทอผ้าบ้ากระเจา หมู่ 7    4) กลุ่มทอผ้าบ้านบุ หมู่ 11  5)กลุ่มทอผ้าและกลุ่มสตรีบ้านลำดวนใต้ หมู่16    6) กลุ่มทอผ้าบ้านไทรทอง หมู่17   และ 7)กลุ่มทอผ้าบ้านศรีสนวน หมู่18 ในการจัดกิจกรรมผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจและสอบถามขั้นตอนวิธีการทำจากวิทยากรในขั้นตอนและแนวทางต่าง ๆ ในการที่จะนำกลับไปปรับใช้ในกลุ่มของตน ทั้งกิจกรรมได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และตามไปตามรอยยิ้มและความสุขของชุมชน

โครงการดังกล่าว เป็นการเพิ่มช่องทางโอกาสการสร้างรายได้ให้กับชุมชนในเชิงพาณิชย์  อีกทั้งยังสามารถนำสิ่งที่ได้จากการอบรมไปใช้ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลลำดวนของกลุ่มทอผ้าไหมกลุ่มต่าง ๆ ได้อีกด้วย และสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนซึ่งจะเป็นแนวทางกรพัฒนาตำบลลำดวนได้อีกแนวทางหนึ่ง

อื่นๆ

เมนู