ดิฉัน นางเรณู ประจันบาล ประเภทประชาชน ตำบลลำดวน อำเภอกระสังจังหวัดบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมไปการย้อมผ้าไหมพร้อมคณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบดูแลโครงการคือ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง ดร.วิษณุ ปัญญายงค์ อาจารย์ปัทมา-วดี วงษ์เกิด และอาจารย์วนิชา แผลงรักษา พร้อมคณะทีมงานปฏิบัติงานจำนวน 20 คน
วัสดุอุปกรณ์ในการฟอกไหมที่ทางคณะทีมงานได้เตรียมพร้อมนำลงพื้นที่ มี
เตาฟอกไหม/หม้อสำหรับฟอกไหม/ห่วง/ด่าง/ซันไลต์ 1 ขวด/สบู่นกแก้ว 4 ก้อน/กะละมังพลาสติก 4 ใบ/น้ำ/เส้นไหมเราจะเล่าสำหรับเมื่อเรา
วัสดุอุปกรณ์ในการย้อมไหม มี
ราวสำหรับกระตุกไหม/ห่วงสำหรับย้อม/สีย้อมไหมตราสิงโตตีกลองหรือสีตามใจชอบ/สารส้ม 1 กิโลกรัม ต่อไหม/น้ำส้มสายชู
คณะทีมงานร่วมกับชาวบ้านเริ่มวิธีการฟอกไหมเพื่อเป็นการเอากาวไหมที่ติดกับเส้นไหมออกให้หมดเพื่อเวลาที่เราย้อมสีไหมจะได้ติดเงางามและสม่ำเสมอ
นำน้ำสะอาดใส่หม้อต้มที่เตรียมมา ตั้งเตาแก๊สน้ำเริ่มเดือด ใส่ด่างฟอกไหมและสบู่ลงไปคนเมื่อคนจนละลาย ใส่เสนไหมที่เตรียมไว้ลงไปมันพลิกหรือกลับเส้นไหมเพื่อให้กาวไหมที่ติดเส้นไหมออกให้หมดสังเกตดูว่าไหมเกิดความเหนียวแสดงว่ากาวไหมออกหมดแล้ว นำเส้นไหมไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 น้ำเสร็จแล้วเอาเส้นไหมไปกระตุกให้แห้งเส้นไหมแตกตัวนิ่มลื่นเตรียมย้อมสีไหมต่อไป
หลังจากนั้นได้ร่วมกันย้อมสีเส้นไหม เริ่มจากตั้งน้ำในหม้อต้มที่เตรียมเมื่อน้ำเริ่มอุ่นตักน้ำมาใส่กาละมังเล็กๆประมาณ 2-3 แก้วนำสีย้อมไม้เทลงไปคนให้ละลายเมื่อละลายแล้วใส่ลงไปในหม้อต้มใหญ่ใส่สารส้มและน้ำส้มสายชูลงไปั คนเสร็จนำเส้นไหมที่เตรียมไว้ใส่ลงไปย้อมมนพลิกกลับเส้นไหมเพื่อให้สีติดสม่ำเสมอ ต้มซักประมาณ 30-40 นาทีเมื่อน้ำเริ่มเดือด นำเส้นไหมออกมาผึ่งไว้สักครู่แล้วนำไปล้างน้ำสะอาดประมาณ 3-4 น้ำ นำเส้นไหมไปกระตุกให้เส้นไหมแห้งเตรียมพร้อมในการทอเป็นผ้าไหม
หลังจากทำการฟอกเส้นไหมและย้อมสีเส้นไหมแล้วทางคณะทีมงานได้นำวัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมมาทำน้ำยาซักผ้าไหมร่วมกับชาวบ้านช่วยกันด้วยวิธีการเทส่วนผสมทุกอย่างลงไปรวมกันคนให้ละลายจนเป็นเนื้อเดียวทิ้งเอาไว้สักพักประมาณ 10 นาทีบรรจุใส่ขวดช่วยเตรียมมาจากนั้นให้ชาวบ้านเอาผ้าไหมที่นำมาไปซักเมื่อตากจนแห้งหมาดๆก็ให้นำมารีดเพื่อให้เนื้อผ้าเนียนเรียบสีไม่ตกมีความเงางาม โดยในการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำยาซักผ้าไหมนั้นนอกจากชาวบ้านจะมีความรู้และมีผลิตภัณฑ์ไว้ใช้เองแล้วชาวบ้านยังสามารถพัฒนาต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ตัวนี้เป็นสินค้าเอาไว้จำหน่ายในแต่ละครัวเรือนหรือในชุมชนได้
ซึ่งในเดือนนี้ ดิฉันคณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมทีมงานในทีมตำบลลำดวนทุกคน ได้ร่วมกันลงพื้นที่ศึกษาหาข้อมูลหาข้อดีข้อเด่นของตำบลลำดวนว่ามีสิ่งไหนหรือมีอะไรที่ควรจะปรับปรุงเพิ่มเติมหรืออนุรักษ์ไว้ เตรียมพร้อมที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม เนื่องจากทีมโครงการยกระดับเศรษฐกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏตำบลลำดวนได้เป็นตัวแทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏไปประกวดระดับภาคที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีแต่เนื่องจากเกิดการระบาดของโรค covid-19 ที่ค่อนข้างรุนแรงจึงจัดการประกวดโดยระบบออนไลน์ซึ่งผลปรากฏว่าทีมลำดวนของเราติด 1 ใน 5 ทีม เป็นตัวแทนระดับภาค ดังนั้นทางคณะทีมงานและคณะอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการจึงร่วมด้วยช่วยกันคิดวิเคราะห์สภาพพื้นที่วัฒนธรรมของตำบลลำดวนว่ามีอะไรสิ่งไหนที่ต้องเข้าไปปรับปรุงเพิ่มเติมบ้าง