การปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ประจำเดือน กันยายน ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ของ นายคมสันต์ อะมินรัมย์ ผู้เข้าร่วมโครงการประเภท นักศึกษา
ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลประเพณีและความเชื่อ ของคนไทยเชื้อสายเขมร ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นชุมชนเชื้อสายเขมรขนาดใหญ่ที่ยังคงอนุรักษ์และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่บรรพบุรุษคนในแถบตำบลลำดวนกลุ่มคนอพยพมาจากพื้นที่จังหวัดสุรินทร์เข้ามาตั้งหลักแหล่งในแต่ละชุมชนออกไปจึงมีวัฒนธรรมที่เป็นแบบแผนและคล้ายคลึงกับเขมรจังหวัดสุรินทร์ โดยการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ได้รับความเมตตาให้ข้อมูลจากพระวิริยา ปันหอม วัดยาง และปราชญ์ชุมชน โดยข้อมูลที่ได้จากการสอบถามเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีทั้ง 12 เดือน ของคนเชื้อสายเขมร (เปรียะเพณีปีตะน็อบแค) ซึ่งจะคล้ายคลึงกับประเพณีฮิต 12 ของคนเชื้อสายลาว และประเพณี 12 เดือนของคนไทยภาคกลาง แต่ลักษณะทางภูมิศาสตร์และบริบทของสังคมที่มีความแตกต่างกันจึงมีรูปแบบจัดจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันไป โดยประเพณีทั้ง 12 เดือนของคนเชื้อสายเขมรในพื้นที่ตำบลลำดวน มีดัง
เดือน 1 แคเมียก : เล่นแม่มด, เล่นบังบ็อด เป็นการละเล่นที่เกี่ยวกับความเชื่อความในเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บและขับไล่สิ่งชั่วร้ายทั้งไม่สามารภมองเห็นได้
เดือน 2 แคบเบาะ : เล่นแม่มด, เล่นบังบ็อด เป็นการละเล่นที่เกี่ยวกับความเชื่อความในเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บและขับไล่สิ่งชั่วร้ายทั้งไม่สามารภมองเห็นได้
เดือน 3 แคเมียกทม : แซนเนียะตา เป็นเซ่นไหว้บูชาหลักบ้านหรือสิ่งที่เคารพนับถืบประจำหมู่บ้าน ในขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นการเซ่นไหว้ในช่วงเช้า
เดือน 4 แคประกุน : นิยมแต่งงาน
เดือน 5 แคแจด : เล่นตรุษ วันขึ้นปีใหม่ ถือว่าในช่วงแคแจถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยเชื้อสารเขมร ซึ่งในแต่ละปีจะไม่ตรงกันโดยจะมีการเรือมตรด เพื่อที่จะนำเงินไปถวายเป็นปัจจัยในการพัฒนาศาสนาสถาน และมีการขนทรายเข้าวัดแล้วนำมาก่อเป็นเจดีทราย ทั้งยังมีการสรงน้ำพระ(ซรองตึกเปรียะ)และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
เดือน 6 แคปิสาข : แซนเนียะตา เป็นเซ่นไหว้บูชาหลักบ้านหรือสิ่งที่เคารพนับถืบประจำหมู่บ้าน ในขึ้น 3 ค่ำเดือน 6 จะเป็นการเซ่นไหว้ในช่วงเย็น และยัง(นิยมบวชลูกหลาน)
เดือน 7 แคเจส : ฤดูไถว่าน ปลูกข้าว เป็นช่วงเริ่มต้นฤดูทำนาของคนในพื้นที่
เดือน 8 แคอาสาท : เข้าพรรษา ทำบุญ ถวายเทียนพรรษา เพื่อให้พระภิกษุ
เดือน 9 แคสราบ : ฤดูกาลทำนา
เดือน 10 แคพอระบ็อท : บุญเดือน 10 ระเดาว์เบ็นทม(ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย)
1. วันเบ็ณฑ์ตู๊จหรือวันเบ็ณฑ์เล็ก คือวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 10 จะมีทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน และนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด
2. วันกันซ็อง หรือกันเบ็ณฑ์ เป็นวันหลังจากวันเบ็ญฑ์ตู๊จ คือเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ตอนเช้าและเพล ชาวบ้านจะไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่วัด
3. วันแซนโฎนตา หรือวันเบ็ณฑ์ธม (วันสารทใหญ่) คือวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ญาติพี่น้องทุกคนต้องร่วมกันทำบุญที่วัด เป็นหน้าที่ที่ขาดไม่ได้ มีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกครั้งที่บ้านถือเป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีนำเครื่องไหว้ต่างๆ นำมาแซนโฎนตา เพื่อให้บรรพบุรุษได้รับประทาน ทั้งยังเป็นนัยที่ทำให้ลูกหลานที่ไปทำงานอยู่ที่ต่าง ๆ ได้กลับมาพบปะพูดคุยกันในครอบครัว
เดือน 11 แคอาสุจ : บุญออกพรรษา ตักบาตรเทโว ทอดกฐิน
เดือน 12 แคกระเดิก: บุญลอยประทีป, ปังออกเปรียะแค เป็นประเพณีไหว้พระจันทร์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จัดขึ้นพร้อมกับวันลอยกระทง โดยมีการจุดเทียนบูชาพระจันทร์บนราวไม้ไผ่แล้วมีการตักบาตรข้าวเม่าในช่วงกลางคืน
ทำบุญเฮาปลึงเซริว เรียกทำบุญขวัญข้าว หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวของทุกปี
ท้้งในประเพณีและความเชื่อต่างๆ ยังต้องมีเครื่องประกอบในการประกอบพิธีที่หลากหลาย แต่ที่ขาดไม่ได้อีกหนึ่งก็คือ ขนม เป็นของหวานที่ใช้ประกอบเครื่องเซ่นไหว้ในทุกประเพณี โดยขนมแตละอย่างในชุมชนจะมีชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่น ส่วนใหญ่ขนมในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนิยมทำกันในชุมชนตำบลลำดวน มีหลากหลายอย่างตามเทศกาลประเพณี ดังนี้
นมเนียล , อันสอมออบ, ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว (อันสอมโดง), อันสอมกะบ็อง, นมโก, นมตะลาจ, นมตะนอด, นมเนียงเล็ด(ขนมนางเล็ด), นมเลือจ, นมก็อบสะกอ, นมลวด, นมกันจ็อบ, นมกันเตรือม, นมกง, นมโชค, นมกันตางตาง, นมมุก, นมปวด, นมโกรจ, นมกรก, นมเวือรพอม, นมทะเลิมกระแบ็ย, นมรันเจก, นมดอกจอก, นมบายกรีม เป็นต้น