ข้าพเจ้านายสนธยา ลับแล ประเภท ประชาชน ตำบลลำดวน หลักสูตร : การประกอบประเพณี และวัฒนธรรม ตามประเพณีและ อาหาร ของตำบล MS.02 ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร ในเดือนกันยายน 2564 ระหว่าง 1-15 ณ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ และได้ลงพื้นที่สำรวจ พื้นที่ โรงพยาบาลส่วนตำบล เพื่อที่ติดตามข่าวสาร เรื่องโรคระบาด โควิด-19 ของบ้านหนองพรวง ตามที่รับมอบหมาย

ชุมชนตำบลลำดวนมีประเพณี ตามความเชื่อที่มีมายาวนาน ซึ่งในแต่ละเดือน จะมีประเพณีต่างๆ ดังนี้

  • เดือน 1 แข เมียก : เล่นแม่มด, เล่นบังบ๊อด -เขมร  พิธีนี้ไม่มีความแน่นอนหรือไม่มีกำหนดตายตัวว่าจะต้องจัดขึ้นปีละกี่ครั้ง แล้วแต่ผู้จัดและความเชื่อ โดยส่วนใหญ่แล้วจะจัดขึ้นเมื่อมีต้องการแก้บน มีลักษณะคล้ายการทรงเจ้าเพราะเชื่อว่าเทพหรือผีนั้น มี 2 พวก คือ พวกที่อยากได้สิ่งของโดยให้คนจัดให้กับพวกที่คอยมาดูแลมนุษย์ รำแม่มดจะทำขึ้นเมื่อผู้ป่วย ซึ่งรักษาโดยวิธีการปกติธรรมดาหรือรักษาที่โรงพยาบาล หรือแพทย์แผนปัจจุบันแล้วไม่หาย จึงต้องจัดพิธีกรรมรำแม่มดขึ้น การจัดให้มีการรำนั้นจะจัดขึ้นในช่วงเวลาหัวค่ำจนถึงเช้าแม่บอกว่าเมื่อยาย และยายทวดเสีย เราต้องจัดให้มีการรำแม่มด เพื่อหาผู้สืบทอดคนที่จะมารำแม่มดคนต่อไป ผู้สืบทอดจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรำแม่มดทุกครั้ง เมื่อใครก็ตามในหมู่บ้านจัดพิธีขึ้น ซึ่งหากแม่มดเลือกคนไหน ไม่ว่าคนนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม เมื่อในหมู่บ้านจัดพิธีจะต้องมารำ ห้ามปฏิเสธหรือมาไม่ได้เด็ดขาด
    การเตรียมพิธี
    -ในการเตรียมพิธีนั้นจะมีหมอครูคอยบอกว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ใช้กล้วยกี่หวี ใช้หมูกี่ตัว ขนม ข้าวต้ม ดอกไม้และอื่นๆอีกมากมาย
    -ภายในงานจะมีแต่คนแก่คนเฒ่า ในเวลากลางวันทุกคนจะมาช่วยกันเตรียมงาน เตรียมพิธี พอตกกลางคืนคนที่เป็นแม่มดก็จะแต่งตัวมาเพื่อ รำแม่มด ประกอบพิธี
    เมื่อเตรียมอุปกรณ์เสร็จแล้ว ครูมะม้วดจะเข้าที่นั่งทรงดนตรี ก็จะเริ่มบรรเลงผู้เข้าทรงจะเอามือ 2 ข้างจับขันในขณะที่จุดเทียนไว้บนขันนั้น เข้าจะเพ่งเทียนหมุนขันไปมาครุประจำตัวจะเริ่มเข้าประทับทรง มีการแต่งตัวแล้วร่ายรำดาบ ทำท่ารบพุ่งกับภูตผีปีศาจอาการของคนทรงจะมีลักษณะอากัปกิริยาที่ต่างไปจากคนเดิม บางคนร้องไห้ บางคนแสดงอาการโกรธผู้ป่วยเพราะทำผิด ขณะเดียวกันเจ้าภาพและญาติจะต้องถามว่าความผิดนั้นเป็นอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะพ้นผิด ผู้เข้าทรงก็จะบอกให้ทำพิธีตาม เป็นการจัดพิธีถวายเพื่อให้หายป่วย
  • เดือน 2 แขเยเบาะ :
  • เดือน 3 แข เมียกทม : แซนเนี่ยะตา -ประเพณีแซนโฎนตา มีความเป็นมายาวนาน โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้นกำเนิดของแนวคิดของประเพณี โดยชาวเขมรเห็นแนวทางในการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ ให้ได้รับผลบุญกุศลที่อุทิศไป ทำให้ทุกข์เวทนาจากบ่วงกรรมมีความบรรเทา การแผ่เมตตา สามารถอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผีบรรพบุรุษ หรือผีต่าง ๆ ได้ และการแผ่เมตตายังสามารถส่งให้ผีได้หลุดพ้นจากบ่วงกรรมทั้งหลายได้ การอุทิศส่วนกุศลนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่กรวดน้ำขณะแซนโฎนตาที่บ้าน การแผ่เมตตา การทำพิธีวันสารท แต่วิธีที่เชื่อว่าสามารถส่งส่วนบุญอุทิศส่วนกุศลได้ถึงผีถึงญาติที่ล่วงลับแน่นอน คือ การกรวดน้ำขณะพระสวดบทยะถา
  • เดือน 4 แข ประกุน : นิยมแต่งงาน
  • เดือน 5 แข แจด : เล่นตรุษ วันชึ้นปีใหม่       
  • เดือน 6 แข ปิสาข : แซนเนี่ยะตา(นิยมบวชลูกหลาน)
  • เดือน 7 แข เจส : ฤดูไถว่าน ปลูกข้าว
  • เดือน 8 แข อาสาท : เข้าพรรษา ทำบุญ (ถายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน)
  • เดือน 9 แข สราย : ฤดูกาลทำนา (ลงแขก)
  • เดือน 10 แข พอระบ๊อก : บุญเดือน 10 (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย)
  • เดือน 11 แข อาสุจ : บุญออกพรรษา ตักบาตเทโว (ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง และทำบุญกฐิน)
  • เดือน 12 แข กระเดิก : บุญลอยกะทง
    และมีขนมหลากหลาย  เช่น ข้าวต้มหมัด,ข้าวต้มมัดตอก เป็นต้น ตามประเพณีข้าพเจ้า คิดว่า  การทำแบบนี้ น่าจะสือสานต่อไปเพื่อให็ลูกหลานได้สานต่อ ประเพณี และ วัฒธนธรรมต่อไปของ ตำบล ลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์       

อื่นๆ

เมนู