ข้าพเจ้า นางสาว วันดี โคมารัมย์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด และดร.วิษณุ  ปัญญายงค์

สำหรับการปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการประจำเดือน กรกฎาคม

ทีมของเราได้เป็นส่วนหนึ่งในการลงแข่งขันกิจกรรมการแข่งขัน Hackathon 2021 และทีมของพวกเราได้ลงถ่ายทำคลิปวิดิโอและสำรวจพบว่า ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นอีกหนึ่งตำบลที่ยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีประชากรทั้งสิ้น 2,796 ครัวเรือน ในพื้นที่ประมาณ 64,000 ไร่ โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และมีอาชีพเสริมคือ การทอผ้า มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มนาแปลงใหญ่ กลุ่มทอผ้า กลุ่มเกษตรอินทรีย์ และนอกจากนี้ ยังมีประเพณีวัฒนธรรมวิถีขแมร์เขมรที่โดดเด่นที่ยังคงรักษาแบบฉบับโบราณไว้ รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำ ป่าไม้ชุมชน ที่ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่

ทีมของเราได้กำหนดแนวทางในการพัฒนาร่วมกันกับภาคีเครือข่าย โดยใช้องค์ความรู้ การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดการอนุรักษ์และหวงแหนธรรมชาติ ศิลปะวัฒนธรรมขแมร์ และก่อให้เกิดรายได้ในชุมชนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้องค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการนำเอาต้นทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางธรรมชาติ และทุนทางสังคม มาสร้างสรรค์กิจกรรม และผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนโดยมีเป้าหมายที่จะสร้างรายได้ให้กับ กลุ่มคนนำเที่ยว อาหารพื้นถิ่น ที่พักโฮมสเตย์ ผ้าไหมทอมือ สินค้าของฝาก ดนตรีกันตรึม กลุ่มคนพายเรือ และกลุ่มคนประดิษฐ์กันชู

จากข้อมูลดังกล่าวจะเกิดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นด้านเศรษฐกิจ ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นเกิดโปรแกรมการท่องเที่ยว แบบ 1DAY Trip และ 2DAY Trip รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนที่หลากหลายด้านสังคม เกิดการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาลผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม และสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดบุรีรัมย์ มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ตำบลลำดวนเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ทำให้ได้รับการสนใจจากสื่อต่าง ๆในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และที่สำคัญเกิดการอนุรักษ์หวงแหนศิลปวัฒนธรรมวิถีขแมร์ ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนให้ความสำคัญกับทรัพยากรในชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล

 

อื่นๆ

เมนู