การปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ประจำเดือน พฤษภาคม ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ซึ่งได้ข้มูลจาการลงพื้นที่สำรวจทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยปรากฏว่าในพื้นที่ตำบลลำดวนเป็นชุมชนชาวเขมรเป็นส่วนใหญ มีอาชีพเกษตรกรรมทั้งในยามว่างจากการทำนา ก็มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และการผ้าไหมเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพอำเภอกระสัง ขึ้นในพื้นที่เป็นร่วมกลุ่มทอผ้าไหมในตำบลลำดวน แต่ยังไม่มีการพัฒนารูปแบบใหม่มาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน เป็นเพียงการรับเอาจากการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ จึงทำให้ทีมยกระดับเศรษฐกิจฯ ตำบลลำดวน จัดได้มีการดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน และการกระจายรายได้” ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 5 พฤษภาคมน 2564 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
ได้รับเกียรติจากนายประสาน บรรจถรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน เป็นประธานในการเปิดโครงการ และอาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ เป็นผู้กล่าวรายงานการดำเนินการและวัตุประสงค์ของโครงการ
ในช่วงเช้าได้มีการเริ่มอบรมเชิงปฏิบัติการ ค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนตำบลลำดวนพร้อมการออกแบบลวดลาย ไอเดียในการแปรรูปผ้า โดย วิทยากร อาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ อาจารย์สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีกลุ่มทอผ้าไหมของชุมชนต่าง ๆ เข้าร่วมทั้งสิิ้น 7 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มแกะลาย บ้านลำดวน หมู่1 2) กลุ่มทอผ้าบ้านยาง หมู่4 3) กลุ่มทอผ้าบ้ากระเจา หมู่ 7 4) กลุ่มทอผ้าบ้านบุ หมู่ 11 5)กลุ่มทอผ้าและกลุ่มสตรีบ้านลำดวนใต้ หมู่16 6) กลุ่มทอผ้าบ้านไทรทอง หมู่17 และ 7)กลุ่มทอผ้าบ้านศรีสนวน หมู่18
โดยในการออกแบบและการค้นหาค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนตำบลลำดวน ได้ให้มีการออกแบบลายผ้าไหมมัดหมี่เป็นลาย“ดอกลำดวน” ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำพื้นที่และสอดคล้องกับชื่อของตำบลลำดวนอีกด้วย ในการออกแบบผู้เข้าร่วมอบรมได้ออกแบบลวดลายที่แตกต่างกัน ที่มีความหลากหลายและสามารถนำไปต่อยอเป็นลายเอกลักษณ์ของพื้นที่ตำบลลำดวนต่อไป
และในช่วงบ่ายได้รับเกียรติจาก คุณสุริสา มุ่งดี เป็นวิทยากรในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่มีอยู่และต่อยอดเพื่อเพิ่มรายได้จากเดิมที่มีการขายผ้าเป็นผืนเลย ก็นำเทคนิควิธีต่างมาเพิ่มเป็นผลิตใหม่ ๆ มาเพิ่มรายได้ โดยได้ให้ไอเดียในการนำผ้าไหม มาแปรรูปเป็นกระเป๋า หมวก และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการเผยแพร่และอนุรักษณ์ความเป็นเอกลักษณ์ผ้าไหมของตำบลลำดวน ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยดึงความเป็นอัตลักษณ์ของผ้าไหมตำบลลำดวนผ่านงานสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มช่องทางโอกาสการสร้างรายได้ให้กับชุมชนในเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังสามารถนำสิ่งที่ได้จากการอบรมในช่วงเช้าที่มีการออกแบบลายผ้าเป็นลายดอกลำดวน มาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลลำดวนได้อีกด้วย