การปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ ของนายคมสันต์ อะมินรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประจำตำบล ประเภท นักศึกษา ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)
ได้ลงพื้นที่ชี้แจงการดำเนินโครงการ ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ได้รับเกียรติจากนายประสาน บรรจถรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน และ นายไพโรจน์ พุ่มอมร กำนันตำบลลำดวนให้เกียรติในการกล่าวต้อนรับและให้คำแนะนำบริบทพื้นที่ของตำบลลำดวน ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบ และได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนทั้ง 18 หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐทุกส่วนในตำบลลำดวน โดยผู้ปฏิบัติงานกับผู้นำชุมชนทั้ง 18 หมู่บ้านในตำบลลำดวน ได้ร่วมกันสรุปจุดเด่น ปัญหา โอกาส และข้อจัดของชุมชนต่าง ๆ ตามโซนที่ได้แบ่งหน้าที่ให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน และร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมพัฒนา ให้เกิดขึ้นและยั่งยืน จากปัญหาและความต้องการจากตำบลลำดวน พัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา
จึงทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่า ในพื้นที่ตำบลลำดวนมีทั้งจุดที่ควรพัฒนาต่อยอดและจุดที่ควรปรับปรุง โดยจุดที่ควรพัฒนา คือ เป็นเป็นพื้นที่มีลำน้ำชีไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์กับสุรินทร์ ซึ่งผ่านในพื้นที่หลายหมู่บ้านในตำบลลำดวน ทั้งยังมีประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และส่งเสริมไว้ มีโครงการศิลปาชีพอำเภอกระสัง ในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ ที่ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม และโครงการฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ มีการจัดการพื้นที่ทำสวนเกษตรทฤษฎีใหม่และเป็นต้นแบบของโครงการโคกหนองนาโมเดลในพื้นที่ตำบลลำดวน
2 นายพฤฒิธร มีชั้นช่วง (บัณฑิตจบใหม่)
3 นายสุพศิน ช่วงไธสง (บัณฑิตจบใหม่)
4 น.ส. อังคณา ขวัญศิวิไลย์ (บัณฑิตจบใหม่)
5 นายพิเชษฐ์ สุดจิตต์ (ประชาชน)
1 นายสนธยา ลับแล (ประชาชน)
2 น.ส. วันดี โคมารัมย์ (บัณฑิตจบใหม่)
2 น.ส. สุวิมล ระดมบุญ (บัณฑิตจบใหม่)
3 น.ส. ปานตะวัน พ่อค้า (บัณฑิตจบใหม่)
1 น.ส. ภานิตา ผลเจริญ (กพร)