ข้าพเจ้า นางสาวกชกร นุสันรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ (กพร) ผู้ปฏิบัติงานตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ตำบลลำดวน พบว่า “ผ้าไหม” ของตำบลลำดวน มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตามแบบฉบับของคนไทยชาติพันธุ์ไทยเขมรท้องถิ่นอีสานใต้ เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ โดยมีขั้นตอนเริ่มจากการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม คัดเลือกเส้นไหม การออกแบบลายมัดหมี่ การให้สี การทอเป็นผืนผ้า ซึ่งเป็นงานที่ละเอียดอ่อน จุดเด่นคือ มีความสวยงาม ลวดลายละเอียดแตกต่างจากที่อื่น เป็นลวดลายผ้าไหมแบบดั้งเดิม เป็นลวดลายที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ใช้วิธีการมัดหมี่และทอแบบดั้งเดิม อาจเปลี่ยนแปลงสีสันได้ตามความต้องการ ได้แก่ ผ้าโฮล ผ้าหางกระรอกคู่ ผ้าขาวม้าไหม ผ้าขาวม้าฝ้าย ผ้าโสร่ง ผ้าซิ่นไหม ผ้าซิ่นฝ้าย ผ้าไหมมัดหมี่ และผ้าพันคอ
วันที่ 3 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ทางอาจารย์ผู้ที่รับผิดชอบโครงการได้ประสานงานให้ข้าพเจ้าและทีมผู้ปฏิบัติงานส่งเอกสารขอเรียนเชิญนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อเป็นประธานกล่าวเปิดงานในพิธี และขออนุญาตใช้สถานที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน และส่งเอกสารเรียนเชิญ 7 กลุ่ม จากการลงพื้นที่สำรวจ 18 หมู่บ้านในตำบลลดวน ได้แก่ กลุ่มแกะลาย หมู่ 1 กลุ่มทอผ้าบ้านยาง หมู่ 4 กลุ่มทอผ้าบ้ากระเจา หมู่ 7 กลุ่มทอผ้าบ้านบุ หม่11 กลุ่มทอผ้าและกลุ่มสตรีบ้านลำดวน หมู่16 กลุ่มทอผ้าบ้านศรีสนวน หมู่ 18 และกลุ่มทอผ้าบ้านไทรทอง หมู่ 17 เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย/ไหมทอมือเพื่อยกระดับ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลลำดวน เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนตำบลลำดวน พร้อมการออกแบบลวดลาย ไอเดียในการแปรรูปผ้า
วันที่ 5 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ทางอาจารย์ที่ผู้ที่รับผิดชอบโครงการและทีมผู้ปฏิบัติงาน ได้รับเกียรติจาก นายประสาน บรรจถรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน เป็นประธานในพิธี กล่าวเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวนในครั้งนี้ เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนตำบลลำดวน พร้อมการออกแบบลวดลาย ไอเดียในการแปรรูปผ้า ซึ่งในการจัดโครงการครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่รับผิดชอบเป็นฝ่ายลงทะเบียนและฝ่ายสวัสดิการ
โดยการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ และ อาจารย์สุริสา มุ่งดี มาบรรยายและให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนตำบลลำดวน พร้อมการออกแบบลวดลาย ไอเดียในการแปรรูปผ้า และผู้เข้าร่วมกิจกกรรมในครั้งนี้มีทั้งหมด 7 กลุ่ม จำนวน 30 คน ซึ่งลายอัตลักษณ์ประจำตำบลลำดวนทั้ง 7 กลุ่มได้ตกลงเป็นเสียงเดียวกันว่า ดอกลำดวน เป็นดอกไมประจำตำบลลำดวน พร้อมให้ทั้ง 7 กลุ่มช่วยกันวาดภาพออกแบบลวดลายลายดอกลำดวนตามจินตนาการของตนเอง และทีมผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกิจกรรมวาดภาพออกแบบลวดลายในครั้งนี้ด้วย
วันที่ 15-17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่น ก่อนทำการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่น ข้าพเจ้าได้ทำการขออนุญาตผู้นำชุมชนก่อนลงพื้นที่และได้รับความร่วมชุมชนในการให้ข้อมูลเป็นอย่างดี พืชที่ได้ลงพื้นที่สำรวจ ได้แก่ ต้นน้อยหน่า ต้นซะอม ต้นพลับพลึง ต้นหมาก ต้นพลู ต้นแก้วมังกร ต้นตะไคร้ ต้นมะกรูด ต้นดอกดาวเรือง ต้นละมุด ต้นมะละกอ ต้นหญ้าเนเปียร์ ต้นหม่อน ต้นดอกเข็ม ต้นกล้วย ต้นมะม่วง ต้นมะเขือ ต้นข่า เป็นต้น