1. หน้าแรก
  2. คณะวิทยาการจัดการ
  3. MS02 - ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง
  4. MS02 : ลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านการสำรวจบริบทชุมชนแบบฟอร์ม 01,02 เพิ่มเติม และการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล หาศักยภาพของแต่ละหมู่บ้าน

MS02 : ลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านการสำรวจบริบทชุมชนแบบฟอร์ม 01,02 เพิ่มเติม และการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล หาศักยภาพของแต่ละหมู่บ้าน

ข้าพเจ้านางสาวหริญรัญชนา พินัยรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ เป็นผู้ปฏิบัติงานตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ  MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและกระจายรายได้

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านการสำรวจบริบทชุมชน ข้อมูลตามแบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน และแบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ( เพิ่มเติม) คือ หมู่ที่ 6 บ้านแซว ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ และได้ประสานงานกับผู้นำชุมชนเพื่อที่จะลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามในชุมชนนั้น จากการสอบถาม พบว่า ประชากรในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา เป็นอาชีพหลัก เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่จะพบปัญหาความยากจน รายได้ไม่เพียงพอ และการว่างงานหลังจากการทำการเกษตร แต่ส่วนมากผู้คนจะว่างงาน ส่วนมากในหมู่บ้านนั่นส่วนใหญ่จะมีแต่ผู้สูงอายุที่  และผลจากวิกฤตโรคโควิด19 ทำให้คนในชุมชนขาดรายได้จากการรับจ้าง ตกงานไม่สามารถออกไปทำงานได้เนื่องจากปัญหาโรคโควิท19

 

คณะอาจารย์ได้มีการนัดหมายทีมผู้ปฏิบัติงานประชุม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตึก 24 คณะวิทยาการจัดการ ในวันที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 10:00 น. เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการวางแผน การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล หาศักยภาพของแต่ละหมู่บ้าน และดึงจุดเด่นของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำมาหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป เพื่อหาข้อมูลหาจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค และโอกาส

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล หาศักยภาพของแต่ละหมู่บ้าน และดึงจุดเด่นของแต่ละหมู่บ้านเพื่อนำมาหาแนวทางในการพัฒนาต่อไป เพื่อหาข้อมูลจุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค และโอกาส ของหมู่ 8 บ้านประดู่ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จ.บุรีรัมย์  พบว่า ชุมชนนี้มีกลุ่มอาชีพหลากหลายแตกต่างกัน  เช่น การสานสุ่มไก่ สานตะกร้า สานแห่ การทอผ้าไหม เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย  ซึ่งไม่ได้ร่วมกลุ่มกันทำ จะทำเป็นบางครัวเรือน  แต่ส่วนมากจะประสพปัญหาคล้ายๆกันคือผลิตภัณฑ์เสร็จแล้วไม่มีที่จำหน่าย  ไม่รู้จะไปขายที่ไหน บางทีบุคคลภายนอกเป็นคนมาซื้อถึงหน้าบ้าน  เพราะผู้ผลิตบางส่วนเป็นผู้สูงอายุ และไม่รู้ช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านการใช้เทคโนโลยีความรู้ด้านสื่อออนไลน์ การโฆษณา เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีอาชีพเสริม  จึงไม่มีรายได้เข้ามาจุนเจือครอบครัว  ซึ่งชาวบ้านอยากให้มีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือในส่วนนี้มาก มีการฝึกอบรม  ให้ความรู้ทักษะอาชีพ  และการพัฒนาอาชีพเสริม ให้แก่ชาวบ้านในชุมชนให้มีอาชีพเสริมและมีรายได้ที่มั่นคง

อื่นๆ

เมนู