ดิฉันนางเรณู ประจันบาล ประเภทประชาชน ตำบลลำดวน อำเภอกระสังจังหวัดบุรีรัมย์
MS02การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด ดร.วิษณุ ปัญญายงค์
ในการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนกันยายนนี้ไม่รู้ดิฉันและทีมงานคนที่ไม่ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนตำบลลำดวนเพื่อค้นหาประเพณีที่เกิดในชุมชนว่าประเพณีต่างๆที่เป็นความเชื่อสืบทอดกันมาอย่างยาวนานในแต่ละเดือนดังต่อไปนี้
>>เดือนที่ 1 เเคเมียก :เล่นเเม่มด,เล่นบังบ็อด
>>เดือนที่ 2 เเคเยเบาะ : –
>>เดือนที่ 3 เเค เมียกทม :เเซนเนี่ยตา
>>เดือนที่ 4 เเค ประกุน :นิยมเเต่งงาน
>>เดือนที่ 5 เเค เเจด : เล่นตรุษ วันขึ้นปีใหม่
>>เดือนที่ 6 เเค ปิสาข :เเซนเนี่ยะตา (นิยมบวชลูกหลาน)
>>เดือนที่ 7 เเค เจส :ฤดูไถหว่านปลูกข้าว
>>เดือนที่ 8 เเค อาสาท :เข้าพรรษา ทำบุญ
>>เดือนที่ 9 เเค สราย :ฤดูกาลทำ
>>เดือนที่ 10 เเค พอระบ็อต :บุญเดือน10 (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย)
>>เดือนที่ 11 เเค อาสุจ :บุญออกพรรษา ตักบาตเทโว
>>เดือนที่ 12 เเค กระเดิก :บุญลอยประทีป,ลอยกระทง
ซึ่งในช่วงเดือน 10 เเค พอระบ็อต คือเดือนกันยายนเป็นช่วงประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนานคือประเพณี แซนโฎนตา คือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณซึ่งในการเเซนโฎนตานั้นเริ่มจากการเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำบ้านเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้านตามด้วยการประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตาที่บ้านหลังจากนั้นเป็นการประกอบพิธีกรรมจูนกระจือโฎนตา คือนำข้าวสารอาหารแห้งและพืชผักผลไม้ต่างๆไปประกอบพิธีกรรมที่วัด(บางหมู่บ้านอาจจะประกอบพิธีแตกต่างกันไปบ้าง)
พร้อมกับลงสำรวจหาข้อมูลขนมที่นิยมทำและรับประทานและใช้ในประเพณีหรือพิธีกรรมต่างๆในตำบลลำดวนด้วย