สวัสดีค่ะ ดิฉัน นางสาวสุพัชชา สอนรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด และดร.วิษณุ ปัญญายงค์
สำหรับการปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการประจำเดือน กรกฎาคม กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เยาวชน ทั้งนี้ได้มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการดูแลความสะอาดศูนย์สุขภาพชุมชน ให้ความรู้ ความเข้าใจ รณรงค์ในการฉีดวัคซีน พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพป้องกันโควิด ทางเราได้เชิญตัวแทนอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการ การทำสบู่เหลวล้างมือจากโปรตีนไหม และเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ โดยมีวิธีการทำดังนี้
เจลล้างมือ มีส่วนผสมดังนี้ 1.Ethanol 95% – 750 มล. 2.Glycerin – 9 กรัม 3.2%lanolin -9 กรัม 4.Triethanolamine 99% (TEA) – 1.5 กรัม 5.Carbopol – 940 – 3.6กรัม 6.น้ำสะอาด -225 มล
มีวิธีการทำดังนี้ 1.ชั่งCarbopol – 940 – 3.6กรัม ค่อยๆละลายในน้ำสะอาด 225มล. หรือทิ้งไว้ค้างคืนเพื่อให้Carbopol – 940 ละลายจนหมด 2.เติมEthanol 95% – 750 มล.ลงในภาชนะที่มีCarbopol – 940 ละลายอยู่ คนให้เข้ากัน 3.เติมGlycerin – 9 กรัม 2% lanolin -9 กรัม คนให้เข้ากัน 4.ค่อยๆเติม TEA คนจนเป็นเนื้อเจล และคนต่อจนเนื้อเนียนไม่เป็นก้อน/เม็ด 5.บรรจุใส่ขวด สามารถใช้งานได้ทันที
และกิจกรรมต่อมาเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ทางทีมของเราลงพื้นที่จัดกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลการ SWOT ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายและผู้นำชุมชนทั้ง 18 ชุมชนพบว่า จุดแข็ง เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมขแมร์ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญคือ ลำชี ลำห้วยจะเมิง มีการทอผ้าไหม มีดนตรีกันตรึม ประดิษฐ์กันชู จุดอ่อน ผ้าไหมยังไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีช่องทางการจำหน่ายสินค้า ไม่หลากหลายและยังไม่มีคนรู้จัก โอกาส มีหน่วยงานภาครัฐเข้าไปหนุนเสริม และอุปสรรคที่พบ ได้แก่ สินค้าทางการเกษตรราคาตกต่ำ ขาดตลาดรองรับ ชุมชนยังขาดความรู้เรื่องรูปแบบการท่องเที่ยวที่ชัดเจนและเหมาะสมกับบริบทของชุมชน จากข้อมูลดังกล่าวที่พวกเราทีมU2T ผการันดูลได้จัดกิจกรรม SWOT analysis เห็นได้ว่าสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมได้
ทางทีม U2T ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายและผู้นำชุมชน ช่วยกันพัฒนาตำบลลำดวนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ชัดเจนขึ้น คนรู้จักมากขึ้น โดยใช้องค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการนำเอาต้นทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางธรรมชาติ และทุนทางสังคม มาสร้างสรรค์กิจกรรม และผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน และได้เกิดผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ได้้แก่ กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม กิจกรรมการท่องท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ส่วนผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ได้แก่ ผ้าไหมลายผกาดูล น้ำยาซักผ้าไหมจากโปรตีนไหม100% สบู่เหลวลูกหม่อน เข็มกลัดดอกลำดวน และได้แพลตฟอร์มในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ตำบลลำดวนเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ทำให้ได้รับการสนใจจากสื่อต่าง ๆในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และที่สำคัญเกิดการอนุรักษ์หวงแหนศิลปวัฒนธรรมวิถีขแมร์ ด้านสิ่งแวดล้อม เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชุมชนให้ความสำคัญกับทรัพยากรในชุมชนเกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล