ข้าพเจ้า นางสาว วันดี โคมารัมย์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง อาจารย์วณิชา แผลงรักษา อาจารย์ปัทมาวดี วงษ์เกิด และดร.วิษณุ ปัญญายงค์
สำหรับการปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการประจำเดือน สิงหาคม
ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่สำรวจพบว่า ปัจจุบันในชุมชนขาวตำบลลำดวนมีการผลิตหรือทอผ้าไหมจำนวนมาก การย้อมเส้นไหมเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการทอผ้าไหม การย้อมเส้นไหม เป็นงานที่ชาวบ้านต้องใช้แรงกายมากพอสมควร เช่น การยกขณะย้อมต้องกลับเส้นไหมไปมา เพื่อให้เส้นไหมได้ความร้อนทั่วถึงสม่ำเสมอ เป็นการป้องกันการย้อมสีติดไม่สม่ำเสมอเส้นไหมมีสีด่าง ถือเป็นงานหนักสำหรับกลุ่มทอผ้าไหมเลยก็ว่าได้ เพราะสาเหตุนี้ สีบรรจุซองที่ขายทั่วไป จึงเป็นที่นิยมของชาวบ้านกลุ่มทอผ้าไหมในตำบลลำดวนนำมาย้อมเส้นไหมแทนสีธรรมชาติ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ สีอาจเสื่อมคุณภาพ สีหมดอายุ ไม่มีเขียนบอกไว้หน้าซอง ไม่บอกสัดส่วนหรือกรรมวิธีผสมสีโดยละเอียดประกอบกับชาวบ้านกลุ่มทอผ้าไหมไม่มีความรู้การผสมสีเพียงพอ การย้อมสีเส้นไหมและทอเป็นผืนผ้าไหม แต่ละชิ้นต้องใช้เวลาหลายวันถ้าประสบปัญหา สีตกสีซีดจะทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมด้อยลงทันที ถ้ามีการควบคุมตั้งแต่การย้อมสีมีการเลือกใช้สีที่มีมาตรฐานมีกรรมวิธีทำกระบวนการหลังย้อม ปัญหาสีตกก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นขั้นตอน การย้อมสีเส้นไหมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำอย่างมีคุณภาพ
ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานจะเห็นว่า การย้อมเส้นไหมตามวิถีที่ชาวกลุ่มทอผ้าไหมทั่วไปได้ปฏิบัติอยู่ ส่วนใหญ่จะไม่มีการทดสอบคุณภาพสีของเส้นไหม และไม่มีการกำหนดอุณหภูมิของน้ำต้มสี ไม่มีการแต่งผ้าไหมให้นุ่ม สีธรรมชาติ ยังเป็นปัญหากับผู้ผลิตผ้าไหมสีธรรมชาติ ทางทีมงานของเรามีการเพิ่มความรู้ ทักษะ เทคนิคแก่กลุ่มทอผ้าไหมตำบลลำดวนเกี่ยวกับการย้อมสีเส้นไหมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะส่งผลต่อการทอผ้าไหมสีธรรมชาติที่ได้คุณภาพ เพราะการทอผ้าไหมลวดลายต่าง ๆ ให้สวยงามนั้น กลุ่มทอผ้าไหมตำบลลำดวนจะมีความชำนาญมีทักษะการทอผ้าไหมอยู่แล้ว แต่ความรู้เรื่องการย้อมสีไหมนั้น ยังต้องพัฒนาให้ได้รับความรู้และเทคนิคการย้อมใหม่ๆ อยู่เสมอ
อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลลำดวน และทีมงานปฏิบัติงานลงพื้นที่จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับกลุ่มทอผ้าไหมตำบลลำดวน เข้าฝึกอบรมการย้อมเส้นไหมทางทีมงานของพวกเราได้จัดกิจกรรมขึ้น มีประเด็นของการส่งเสริมให้ความรู้ เรื่องการย้อมผ้าไหม และจะมีการเลือกวิธีนำพืชมาย้อมสีที่ได้จากส่วนต่างๆ ของพืชหรือการปลูกพืชทดแทนด้วยการฝึกอบรมการย้อมเส้นไหม จึงจะมีความสมบูรณ์ เพื่อกลุ่มทอผ้าไหมตำบลลำดวนเข้ารับการฝึกอบรม ได้นำความรู้เป็น แนวทางการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตที่มีความเชื่อมโยง เกื้อกูล และสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน