ข้าพเจ้านางสาวณภัทร สิงหศิริ ประเภทนักศึกษา หลักสูตรคือ MS03 การบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายให้ทำการแปรรูปขยะเพื่อเพิ่มมูลค่าจากขยะประเภทกระป๋องเครื่องดื่ม โดยจะเป็นการทำการออกแบบรูปร่างลักษณะที่แตกต่างมากขึ้นตามจากเดิมเพื่อการสร้างสรรค์รูปร่างลักษณะที่หลากหลายแบบ หลากหลายขนาดมากยิ่งขึ้น ซึ่งการแปรรูปตะกร้าจากกระป๋องน้ำอัดลมนั้นจะจัดทำกันเป็นกลุ่ม โดยมีทั้งหมด 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีการออกแบบตามความเหมาะสม และรูปทรงที่ต้องการ
กลุ่มของข้าพเจ้ามีการออกแบบตะกร้าในรูปทรงที่ต้องการหลายรูปแบบและหลายขนาด และสมาชิกในกลุ่มก็จะแบ่งหน้าที่กันตามความสามารถ เพื่อให้งานออกมาอย่างสมบูรณ์และสวยงามที่สุด ซึ่งการทำงานจะมีฝ่ายเขียนแบบ จะทำการวัดความกว้าง ความสูง, ฝ่ายตัดกระดาษ ตัดกระป๋อง ตัดผ้ายาง (เสื่อน้ำมัน) เพื่อนำเอามาทำเป็นกระป๋อง, ฝ่ายประกอบชิ้นส่วน โดยการทากาวเข้ากับชิ้นส่วนเพื่อมาประกอบเข้าด้วยกัน, ฝ่ายจักสาน โดยนำเอาลวดริบบิ้นมาจักสานเพื่อรวมเอาชิ้นส่วนมาประกอบเป็นรูปร่างต่าง ๆ ให้สมบูรณ์ และนำเอาลวดมาทำเป็นตัวโครงเพื่อความมั่นคงของตัวตะกร้าซึ่งตัวตะกร้าอ่อนเกินไปทำให้ไม่เป็นทรงหากไม่มีตัวลวดมาทำเป็นตัวโครงเหล็ก และนำลวดเอาโครงมาทำฐานตะกร้า พร้อมกับที่จับเพื่อให้ถือได้สะดวกและมีความมั่นคงเช่นกัน
โดยหน้าที่ส่วนของข้าพเจ้าจะเป็นการตัดกระดาษ ตัดกระป๋อง และทำการสานลวดริบบิ้นเข้ากับแผ่นกระป๋องที่ทำการติดเสื่อน้ำมัน กระดาษแข็งและแผ่นกระป๋องน้ำอัดลมแล้ว โดยการตัดกระป๋องต้องมีการตัดที่ตรงตามลักษณะของการออกแบบมาตั้งแต่ต้น เพื่อให้ทุกชิ้นที่จัดสรรขึ้นนั้นมีขนาดที่เท่ากัน และสานออกมาอย่างสวยงาม ซึ่งแผ่นกระป๋องน้ำอัดลมเช่นเดียวกัน แต่อีกหนึ่งวิธีคือการติดแผ่นกระป๋องก่อน หลักจากนั้นตัดเสื่อน้ำมันอย่างพอเหมาะ จากนั้นนำเอากระดาษแข็งที่ติดกับกระป๋องแล้วมาแปะไว้กับเสื่อน้ำมัน เพื่อง่ายต่อการตัด และได้จำนวนที่มากในเวลาที่กระชับมากขึ้น ส่วนการสานกระป๋องเข้ากับต้องทำการดึงเส้นลวดด้วยแรงที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปเพื่อทำให้การยึดติดกันแน่นมากขึ้น เพราะหากดึงเส้นลวดด้วยแรงที่มากเกินไป อาจทำให้ริบบิ้นที่หุ้มเส้นลวดเกินการขาดได้ และเส้นลวดหากพับแล้ว 1 รอบไม่แนะนำให้พับซ้ำอาจมีโอกาสขาดได้ (ขึ้นอยู่ที่คุณภาพของเส้นลวดริบบิ้น)
โมเดลตะกร้า
ภาพตะกร้า