โดยนายเชาวเลิศ หมายบุญ ประเภทประชาชน ประจำชุมชนหนองปรือ
ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในหลักสูตร (การบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (MS03)
เรื่องการถอดบทความการแปรรูปกระป๋องจากการทำตะกร้า
การทำตะกร้าจากกระป๋องที่เหลือใช้นับเป็นการนำสิ่งของที่เหมือนจะหมดประโยชน์ไปแล้วได้นำกลับมาทำให้เกิดมูลค่าได้อย่างไม่น่าเชื่อโดยการทำตะกร้าจากกระป๋องนั้นถือว่ามีความคงทนแข็งแรงใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้การทำตะกร้าจะกระป๋องก็ยังมีปัญหาต่างๆ ให้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อที่ตะกร้าจะได้ออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุดเมื่อผู้ใช้ได้ใช้ก็จะมีความภูมิใจและมั่นใจอีกด้วย เรามาดูกันว่าการทำตะกร้ายังคงมีอะไรให้ปรับปรุงบ้างดังนี้
ปัญหาที่พบ
ขั้นตอนที่ 1 การวัดขนาดและตัดกระดาษ
ขั้นตอนนี้ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรแต่ก็พบว่า หากเราจะตัดกระดาษที่หนา 3-4 มิลลิเมตรให้เรียบร้อยโดยที่ขอบกระดาษจะไม่เป็นขุย เราจะต้องใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์ใบใหญ่ตัดเนื่องจากจะมีความแข็งแรงและคมทำให้ตัดขาดให้คราวเดียว
ขั้นตอนที่ 2 การตัดกระป๋องและรีดให้เรียบ
ขั้นตอนนี้ตอนแรกทางกลุ่มก็ใช้วิธีการหลายๆ อย่างเพื่อที่จะเจาะกระป๋องให้เข้าทำให้มีดบาดมือบ้างกระป๋องบาดมือบ้าง และกระป๋องก็จะมีรอยถลอกเยอะ เราจึงได้วิธีการทำคือการใช้มีดปลายแหลมเจาะรูนำไปก่อนแล้วจึงใช้กรรไกรตัดตามแบบนี้จะทำให้ตัวชิ้นงานเรียบร้อยและยังสวยงามอยู่ ส่วนวิธีรีดกระป๋องใช้ผ้ารองก่อนทุกครั้งไม่อย่างงั้นกระป๋องจะมีรอยถลอกได้
ขั้นตอนที่ 3 การแปะผ้ายางและกระป๋องเข้ากับกระดาษที่ขึ้นรูปไว้แล้ว
ขั้นตอนนี้จะมีปัญหาเมื่อเราแปะกาวกับผ้ายางทำให้พื้นผิวมีรอยย่นบ้างขรุขระบ้างทำให้ไม่เนียน วิธีการแก้ปัญหาคือเราจะให้ขวดหรือวัสดุที่กลิ้งได้มากลิ้งเมื่อแปะกาวแล้วจะช่วยทำให้ดูเรียบร้อยขึ้นได้
ขั้นตอนที่ 4 การเจาะรูที่ชิ้นงาน
ขั้นตอนนี้ตอนแรกจะมีปัญหามากเนื่องจากการเจาะไม่ตรงบ้าง เบี้ยวบ้าง ทำให้รูปตะกร้าและหูหิ้วดูไม่เรียบร้อย วิธีการแก้ปัญหาที่ดีคือเราจะจุดมาร์คตำแหน่งโดยใช้สีเมจิกจุดๆไปตามตำแหน่งแล้วจึงใช้ตุ๊ดตู่ตอกทีหลัง แบบนี้จะเรียบร้อยดีมากไม่ทำให้เกิดปัญหาข้างต้นอีก
ขั้นตอนที่ 5 ร้อยริบบิ้นลวดประกอบชิ้นงานและการประกอบหูหิ้วตะกร้า
ขั้นตอนนนี้เมื่อเราทำไปในตอนแรกจะยังไม่เห็นผลอะไรจนกว่าชิ้นงานเริ่มจะเสร็จคือชิ้นงานจะหลวมเนื่องจากการร้อยริบบิ้นไม่แน่นและหากจะแก้ไขก็ทำได้ยากขึ้นต้องค่อยๆ ร้อยใหม่ทีละรูปจึงทำให้เรารู้ได้ว่าการร้อยริบบิ้นลวดต้องเน้นทุกรูที่ร้อยริบบิ้นไม่อย่างงั้นชิ้นงานจะหลวมไม่แน่นดูไม่แข็งแรงได้ ส่วนหูหิ้วตะกร้าในตอนแรกที่ทำจะหลวมเนื่องมาจากการร้อยลวดในตำแหน่งที่ไม่ดีนักทำให้หูหิ้วโยกหลวม วิธีการแก้ปัญหาคือทำขายึดลวดเพิ่มและใช้ตาไก่ตอกแทนการมัดลวดวิธีนี้ได้ผลดีมากเพราะทำให้ตะกร้าแน่นหนาแข็งแรงขึ้นมากดังภาพตัวอย่างนี้
ภาพตะกร้า