หลักสูตร การบริหารจัดการขยะ และการเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันนางจณิสตา นุชสาย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ปฏิบัติงาน พร้อมทีมงาน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564

    

ที่มาและความสำคัญ และวัตถุประสงค์

            ปัจจุบันปริมาณขยะได้เพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ทางดิฉันและทีมงานเล็งเห็นว่าขยะประเภทกระป๋องสามารถนำมาแปรรูปเพื่อให้เป็นวัสดุที่มีประโยชน์และนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง โดยการนำกระป๋องมาแปรรูป นอกจากจะเป็นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อนำมาใช้สอยให้เป็นประโยชน์ ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ขยะจากบรรจุภัณฑ์ ทางดิฉันและทีมงานได้มีการสืบค้นข้อมูลวิธีการนำขยะประเภทกระป๋องมารีไซเคิล   ในรูปแบบต่าง ๆ และได้ข้อสรุปว่าจะทำการแปรรูปกระป๋องให้เป็นตะกร้า เนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มีความแข็งแรง สามารถใช้งานได้ทุกเพศทุกวัย และสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง และชุมชนได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์

แปรรูปขยะประเภทกระป๋องเครื่องดื่มอะลูมิเนียมให้เป็นตะกร้า

ประโยชน์ที่ได้รับ

จากการร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตะกร้าจากกระป๋องขึ้น ได้ช่วยเพิ่มทักษะในการทำงานร่วมกันของสมาชิกภายในหลักสูตร และยังได้จัดการกับขยะประเภทกระป๋องเครื่องดื่มภายในชุมชนให้มีปริมาณลดน้อยลง โดยการนำขยะเหล่านั้นมาแปรรูปให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ และยังนำไปจัดจำหน่ายเพื่อสร้างมูลค่าและเพิ่มรายได้ให้กับตนเองชุมชนต่อไป

วัสดุอุปกรณ์

1.กระป๋องเครื่องดื่ม         2.กระดาษแข็ง                3.เสื่อน้ำมัน                    4.กาวยาง

5.ลวดเล็ก(เบอร์ 7)          6.ลวดใหญ่ (เบอร์ 11)      7.ริบบิ้นลวด (ลวดสี)       8.เหล็กตอกเจาะรู (ตุ๊ดตู่)

9.เครื่องเจาะกระดาษ       10.คัตเตอร์/กรรไกร         11.ดินสอ/ยางลบ/ไม้บรรทัด          12.ค้อน

13.คีมตัดลวด                  14.คีมดัดลวด                  15.เคเบิ้ลไทร์                  16.หมุดย้ำสายกระเป๋า

แบบตะกร้า

        

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. นำกระป๋องมาตัดส่วนฝาด้านบนและด้านล่างเปิดออก ใช้กรรไกรตัดกระป๋องผ่าออกแล้วใช้มือกางแผ่นกระป๋องให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

2.สร้างต้นแบบของชิ้นส่วนตะกร้าโดยวัดลงในกระดาษแข็ง แล้วตัดกระดาษออกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ (ชิ้นส่วนด้านข้างตะกร้า, ฐานตะกร้า, สายตะกร้า) เพื่อเตรียมไว้ติดกระป๋องและเสื่อน้ำมัน

3.ติดกระป๋องและเสื่อน้ำมันลงในกระดาษแข็งที่ตัดเตรียมไว้ และเจาะรูให้เรียบร้อย

  1. พันริบบิ้นลวดรอบเส้นลวดเพื่อใช้เป็นขอบของตะกร้า (ขอบบน ขอบฐาน และขอบสาย)
  2. นำลวดที่พันไว้แล้วมาประกอบเข้าสายและฐานของตะกร้า
  3. นำส่วนประกอบที่เตรียมไว้มาสานแต่ละด้านเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงตามที่เรากำหนดไว้
  4. นำชิ้นส่วนที่เตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้วมาประกอบเข้าด้วยกัน

             

ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน

ความโค้งของตะกร้าและการเก็บมุมยังมีความเบี้ยว

การเก็บปลายริบบิ้นลวดยังไม่เรียบร้อย

รอยต่อระหว่างฐานกับตัวตะกร้ายังไม่เรียบร้อย

การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน

วัดขนาดชิ้นส่วนของตะกร้าให้เท่ากันทุกตะกร้า โดยควรมีต้นแบบสำรองไว้ 1-2 เซท เพื่อให้ในการวัดขนาดชิ้นส่วนต่อ ๆ ไป นอกจากนั้นควรเจาะรูระหว่างชิ้นส่วนด้านข้างของตะกร้าให้ตรงกับรูของฐานตะกร้าเพื่อทำให้การประกอบฐานเข้ากับตัวตะกร้าจะได้มีความเรียบร้อย สวยงามมากยิ่งขึ้น

ควรดึงริบบิ้นลวดให้แน่นและเก็บปลายโดยควรตัดให้เหลือสั้นที่สุดและสอดลวดไว้ใต้ลวดที่มีการร้อยแล้วให้เรียบร้อย

การเก็บมุม การโค้งของลวด จะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยดัดโค้งช่วยดัดและเก็บมุมในระยะที่พอดี เพื่อลดความเบี้ยวของตะกร้า

       

อื่นๆ

เมนู