ดิฉันนางสาวกานต์มณี บัตรประโคน ประเภทประชาชน หลักสูตร MS03 การบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
สถานการณ์ขยะในเขตชุมชนตำบลในเมือง เริ่มเป็นปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากจำนวนขยะที่มีมากขึ้น สาเหตุประการหนึ่ง คือ ประชาชนยังไม่มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ทำให้ขยะที่จัดเก็บมีทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง หรือแม้แต่ขยะอันตราย จากปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวคิดในการลดปริมาณขยะ ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะ ด้วยการจัดทำขยะประเภทกระป๋องนำมาแปรรูปเพื่อให้เป็นวัสดุที่มีประโยชน์และนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง คือการผลิตตะกร้า และยังสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเพื่อสร้างเสริมรายได้ให้กับชุมชนได้อีกด้วย
วัสดุอุปกรณ์ในการทำตะกร้า
- กระป๋องเครื่องดื่ม
- กระดาษแข็ง
- เสื่อน้ำมัน
- กาวยาง
- ลวดเล็ก (เบอร์ 7)
- ลวดใหญ่ (เบอร์ 11)
- ริบบิ้นลวด (ลวดสี)
- เหล็กตอกเจาะรู (ตุ๊ดตู่)
- เครื่องเจาะกระดาษ 2 รู
- คัตเตอร์/กรรไกร
- ดินสอ/ยางลบ/ไม้บรรทัด
- ค้อน
- คีมตัดลวด
- คีมดัดลวด
- เคเบิ้ลไทร์
- หมุดย้ำสายกระเป๋า
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. นำกระป๋องมาตัดส่วนฝาด้านบนและด้านล่างให้เปิดออก ใช้กรรไกรตัดกระป๋องออกเป็นแผ่น
2. เขียนแบบของชิ้นส่วนตะกร้าลงในกระดาษแข็ง แล้วตัดกระดาษออกเป็นชิ้นต่าๆ (ชิ้นส่วนด้านข้างตะกร้า, ฐานตะกร้า, สายตะกร้า)
3. ติดกระป๋องและเสื่อน้ำมันลงในกระดาษแข็งที่ตัดเตรียมไว้ นอกจากนั้นทำการวัดความห่างของรูและเจาะรูตามการวัดให้เรียบร้อย
4. พันริบบิ้นลวดรอบเส้นลวดเพื่อใช้เป็นขอบของตะกร้า (ขอบบน ขอบฐาน และขอบสาย)
5. นำลวดที่พันด้วยริบบิ้นลวดเรียบร้อยแล้วมาประกอบเข้ากับขอบของสาย ขอบของฐาน และขอบด้านบนของตะกร้า
6. นำส่วนประกอบตัวตะกร้าที่เตรียมไว้มาสานแต่ละด้านเพื่อให้ตะกร้าเกิดเป็นรูปทรงตามที่เรากำหนดไว้
7. นำตัวตะกร้ามาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายหรือฐานของตะกร้าให้เรียบร้อย
ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
- การทากาวลงบนกระดาษแข็งหากมากเกินไปจะทำให้กาวเลอะออกมาเปื้อนที่กระป๋องและเสื่อน้ำมัน ซึ่งทำความสะอาดยากควรระมัดระวังการทากาวให้มากยิ่งขึ้น
- การเจาะส่วนประกอบของตะกร้า ถ้าเล็งระยะรูเจาะไม่ตรงทำให้เบี้ยวได้ ต้องใจเย็นและเล็งดีๆ
- การถักส่วนประกอบของตะกร้า ถ้าถักแน่นไม่พอจะทำให้ตะกร้าไม่สมประกอบ อาจทำให้เบี้ยวด้วย ควรที่จะดึงให้แน่น และจะอยู่ที่การซื้อลอดถักด้วยถ้าบางไปทำให้ไม่ค่อยแน่น แต่ถ้าแบบแข็งจะทำให้แน่นและมั่นคงขึ้น จึงแนะนำให้ใช้แบบแข็งจะดีกว่า
- การพันริบบิ้นลวดเข้ากับเส้นลวดควรมีการกะขนาดความยาวของริบบิ้นลวดให้มีความยาวพอดีหรือมากกว่าความยาวของเส้นลวด เพราะว่าหากริบบิ้นลวดยาวไม่พอ การจะพันริบบิ้นลวดต่อจากเดิมจะทำให้เกิดเป็นปมของลวดขึ้นเล็กน้อยซึ่งส่งผลให้ตะกร้าไม่สวยงาม
- ความโค้งของตะกร้าและการเก็บมุมยังมีความเบี้ยว ดังนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยดัดโค้งช่วยดัดและเก็บมุมในระยะที่พอดี เพื่อลดความเบี้ยวของตะกร้าจากการที่ฝึกฝนการทำตะกร้าจาการแปรรูปกระป๋อง จะมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชุมชนตำบลในเมือง โดยมีตะกร้าต้นแบบในการสอนให้ความรู้แก่ชุมชนตะกร้าแบบที่ 1
ตะกร้าแบบที่ 2
ตะกร้าแบบที่ 3