โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)”
ชื่อบทความ :ถอดบทเรียนการแปรรูปกระป๋องเครื่องดื่มให้เป็นตะกร้าสินค้า เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชน
ดิฉัน นางศิริพร บุตรสุด ประเภทประชาชน หลักสูตร MS03 การบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการนัดหมายประชุมออนไลน์จากอาจารย์ประจำโครงการและผู้ปฏิบัติงานประจำหลักสูตร เพื่อแจ้งการปฏิบัติงานและแจ้งกำหนดการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การแปรรูปกระป่องเครื่องดื่มแก่ชุมชนตำบลในเมือง
จากปัญหาขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วกระดาษ แก้วพลาสติก และกล่องอาหารพร้อมทานที่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ร้านขายกาแฟและเครื่องดื่มต่างๆ ถึงแม้บรรจุภัณฑ์บางชนิดจะสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้แต่ก็ต้องใช้เวลานาน ทำให้เกิดการกำจัดขยะอย่างผิดวิธีโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท เช่น การเผาทำให้กลายเป็นปัญหามลภาวะเป็นพิษ
การนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำอีก หรือนำมาสู่กระบวนการผลิตใหม่เช่นการ รีไซเคิล การนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาเพิ่มมูลค่าด้วยการทำเป็นงาน DIY ซึ่งเป็นงานที่ได้รับความนิยมหากมีการออกแบบและดีไซน์อย่างสร้างสรรค์ การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสร้างจิตสำนึกให้ผู้ผลิตเลือกใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในการผลิตแก้วกระดาษ จานกระดาษ หรือถ้วยกระดาษ ส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น นำเส้นใยจากกล้วยมาพัฒนาเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ทางผู้จัดทำยังเล็งเห็นว่าขยะประเภทกระป๋องยังสามารถนำมาแปรรูปเพื่อให้เป็นวัสดุที่มีประโยชน์และนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง โดยการนำกระป๋องมาแปรรูปนี้นอกจากจะเป็นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อนำมาใช้สอยให้เป็นประโยชน์ ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ขยะจากบรรจุภัณฑ์ ทางผู้จัดทำกลุ่ม 2 ได้มีการสืบค้นข้อมูลวิธีการนำขยะประเภทกระป๋องมารีไซเคิลในรูปแบบต่าง ๆ และได้ข้อสรุปว่าจะทำการแปรรูปกระป๋องให้เป็นตะกร้าเนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มีความแข็งแรงและสามารถใช้งานได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากนั้นการแปรรูปขยะให้เป็นตะกร้านี้ยังสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อีกด้วย
วัสดุอุปกรณ์ในการทำตะกร้า
- กระป๋องเครื่องดื่ม
- กระดาษแข็ง
- เสื่อน้ำมัน
- กาวยาง
- ลวดเล็ก (เบอร์ 7)
- ลวดใหญ่ (เบอร์ 11)
- ริบบิ้นลวด (ลวดสี)
- เหล็กตอกเจาะรู (ตุ๊ดตู่)
- เครื่องเจาะกระดาษ 2 รู
- คัตเตอร์/กรรไกร
- ดินสอ/ยางลบ/ไม้บรรทัด
- ค้อน
- คีมตัดลวด
- คีมดัดลวด
- เคเบิ้ลไทร์
- หมุดย้ำสายกระเป๋า
ขั้นตอนการทำตะกร้า
1.นำกระป๋องมาตัดส่วนฝาด้านบนและด้านล่างให้เปิดออก ใช้กรรไกรตัดกระป๋องผ่าออกแล้วใช้มือกางแผ่นกระป๋องให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (อาจมีการนำของหนักมาวางทับไว้ให้กระป๋องไม่โค้งงอเพื่อง่ายต่อการนำกระป๋องไปติดกับแผ่นกระดาษแข็ง
2.สร้างต้นแบบของชิ้นส่วนตะกร้าโดยวัดลงในกระดาษแข็ง แล้วตัดกระดาษออกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ (ชิ้นส่วนด้านข้างตะกร้า, ฐานตะกร้า, สายตะกร้า) เพื่อเตรียมไว้ติดกระป๋องและเสื่อน้ำมัน
3.ติดกระป๋องและเสื่อน้ำมันลงในกระดาษแข็งที่ตัดเตรียมไว้ นอกจากนั้นทำการวัดความห่างของรูและเจาะรูตามการวัดให้เรียบร้อย
4.พันริบบิ้นลวดรอบเส้นลวดเพื่อใช้เป็นขอบของตะกร้า (ขอบบน ขอบฐาน และขอบสาย)
5.นำลวดที่พันด้วยริบบิ้นลวดเรียบร้อยแล้วมาประกอบเข้ากับขอบของสาย ขอบของฐาน และขอบด้านบนของตะกร้า
6.นำส่วนประกอบตัวตะกร้าที่เตรียมไว้มาสานแต่ละด้านเพื่อให้ตะกร้าเกิดเป็นรูปทรงตามที่เรากำหนดไว้
7.นำตัวแบบตะกร้ามาประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายหรือฐานของตะกร้าให้เรียบร้อย
ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
-
-
- การพันริบบิ้นลวดเข้ากับเส้นลวดควรมีการกะขนาดความยาวของริบบิ้นลวดให้มีความยาวพอดีหรือมากกว่าความยาวของเส้นลวด เพราะว่าหากริบบิ้นลวดยาวไม่พอ การจะพันริบบิ้นลวดต่อจากเดิมจะทำให้เกิดเป็นปมและเกิดรอยต่อระหว่างของลวดขึ้นเล็กน้อยซึ่งส่งผลให้ตะกร้าไม่สวยงาม
- การสร้างแบบของตะกร้าแต่ละชิ้นมีการวัดขนาดชิ้นส่วนของตะกร้าไม่เท่ากัน
- การทากาวลงบนกระดาษแข็ง หากทามากเกินไปจะทำให้ปริมาณกาวแปื้อนกระป๋องและเสื่อน้ำมัน
- การประกอบตะกร้า ในจุดที่มีความโค้งงอ ควรใช้อุปกรณ์ช่วยดัดโค้งและเก็บมุม
- การใช้ริบบิ้นถักส่วนประกอบของตะกร้า ควรถักให้แน่น เพราะถ้าหลวมจนเกินไป อาจทำให้ตะกร้าเบี้ยว ควรดึงให้แน่น และควรเลือกซื้อลวดถักแบบแข็งจะทำให้การถักหรือสานส่วนประกอบต่างๆมีความแน่นและตะกร้ามีความแข็งแรง
- รอยต่อระหว่างตัวตะกร้าและฐานของตะกร้ายังไม่สวยงามเท่าที่ควร เนื่องจากขนาดและรูของชิ้นส่วนตะกร้ามีการวัดที่ไม่แน่นอน ดังนั้นควรวัดขนาดชิ้นส่วนของตะกร้าให้เท่ากันทุกตะกร้า และควรทำต้นแบบสำรองไว้
-
ต้นแบบตะกร้า (แบบที่ 1)
ต้นแบบตะกร้า (แบบที่ 2)
ต้นแบบตะกร้า (แบบที่ 3)