สรุปผลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาการจ้างงานโครงการ U2T ตำบลในเมืองบุรีรัมย์ (MS03)

โดยนายเชาวเลิศ หมายบุญ ประเภทประชาชน ประจำชุมชนหนองปรือ
ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในหลักสูตร (การบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์  (MS03)

โดยโครงการยกระดับเศษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการฯ เป็นโครงการเพื่อช่วยผู้ที่ว่างงานอันเนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรน่า 2019 ( COVID-19 ) ให้มีงานทำภายใต้ภารกิจของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย

ระยะเวลาโครงการเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึง ธันวาคม  2564 โดยปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งสิ้น 18 ชุมชน ในหัวข้อการบริหารจัดการขยะในชุมชน  โดยมีแนวทางการทำงานดังนี้

เดือนกุมภาพันธ์จะเป็นการลงพื้นที่เก็บข้อมูลต่างๆ ดังนี้

  • การลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (01)
  • แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรค covid-19 (02)

โดยในการลงสำรวจข้อมูลในชุมชนนั้น เป็นไปด้วยความเรียบร้อยพี่น้องชาวบ้านในชุมชนต่างให้ความร่วมมือโดยเฉพาะท่านประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งได้ความอนุเคราะห์ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และแนะนำสมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลที่ได้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสมาชิกในชุมชนก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเช่นกัน

เดือนมีนาคมเรื่องบริบทการจัดการขยะของชุมชน

จะเป็นการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อลงแบบสอบถามและให้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทและการแยกขยะดังนี้

ในการลงพื้นทีเดือนนี้จะเป็นการเก็บข้อมูลของการจัดการขยะของคนภายในชุมชนว่ามีการทิ้งอย่างไร เก็บอย่างไร แยกประเภทแบบไหน โดยข้้นแรกจะเป็นการศึกษาวิถีชีวิตและลักษณะนิสัยการทิ้งขยะของคนในชุมชนเพิ่มเก็บเป็นข้อมูลใช้ในกระบวนการเพื่่อแนะนำเพิ่มเติมการจัดการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หลังจากทราบถึงปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะของชุมชนแล้ว ทางทีมงานได้ให้คำแนะนำถึงแนวทางการคัดแยกขยะ ทั้งขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย ฯลฯ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการและนำไปทำลายต่อไป

เดือนเมษายนจะเป็นการระดมความคิดในการจัดการขยะในชุมชน ซึ่่งเดือนนี้เราจะมีข้อมูลต่างๆ ที่ได้เก็บรวบรวมไว้เมื่อเดือนก่อนและได้นำมาระดมความคิดพิจารณาเพื่อให้มีแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะภายในชุมชนดังนี้

ต้นน้ำ ใช้วิธีติดป้ายที่ถังขยะสาธารณะประจำในชุมชนเพื่อแยกประเภทของขยะให้ทราบได้อย่างชัดเจนเพื่อสร้างวินัยให้กับคนในชุมชนได้ แต่อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย

กลางน้ำ จะใช้วิธีประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนทราบถึงประเภทของขยะว่ามีประเภทใดบ้างเพื่อเบื้องต้นจะได้แยกขยะเองได้ตั้งแต่อยู่ในบ้าน ดังนี้

ประเภทของขยะที่ทิ้งกันอยู่ทั่วไปมี 4 ประเภท ได้แก่
1.ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทาน และการประกอบอาหาร สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้ จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีประมาณ46 %
2.ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 42 %
3.ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล เช่น ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติก จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดประมาณ 9 %
4.ขยะพิษ หรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 3 %

ปลายน้ำ ทางทีมงานเสนอให้มีการตั้งสหกรณ์ขยะหรือธนาคารขยะขึ้น แต่อาจจะต้องมีการฝึกอบรมการเพิ่มมูลค่าของขยะขึ้นโดยการทำเป็นของใช้ เช่น หมวกจากกล่องนมหรือซองกาแฟ กล่องใส่ดินสอจากขวดพลาสติก ของเล่น เช่น การทำโมบายจากขวดหรือแก้วพลาสติก ฯลฯ หรือจะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ แล้วแต่ไอเดียของคนในชุมชน โดยทั้งนี้เบื้องต้นให้คนในชุมชนนำสิ่งประดิษฐ์มาแลกกับไข่เพื่อให้สามารถนำกลับไปใช้ประโยน์ได้ทันที(อาจจะเป็นอย่างอื่นที่น่าสนใจ) จากนั้นสิ่งประดิษฐ์ต่างอาจนำออกขายตามตลาดนัดในราคาย่อมเยาว์ต่อไป

เดือนพฤษภาคมการจัดการขยะภายในชุมชนภายใต้สถานการณ์ COVID-19

โดยเดือนนี้การทำงานถือว่าลำบากเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ได้แพร่ระบาดมากกว่าปกติ ทางทีมงานได้มีการติดต่อเข้าพบและเรียนรู้วิธีการจัดการขยะกับผู้นำชุมชนโดยมีแผนการเบื้องต้นคือจะใช้การประชาสัมพันธ์ผ่านทางเสียงตามสายวิทยุชุมชนซึ่งจะมีการเปิดเป็นประจำทุกวันอยู่แล้วภายในชุมชน ทางไลน์ภายในกลุ่มของผู้นำชุมชนและลูกบ้านภายในชุมชนเพื่อให้มีความเข้าใจในการแยกประเภทขยะง่ายๆ จากในครัวเรีอนก่อนโดยแยกขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่นขวดพลาสติก กระดาษ กระป๋อง เก็บไว้เพื่อสามารถนำไปขายได้ ขยะที่สามารถย่อยสลายเองได้ เช่นผัก พืช ใบไม้ ก็จะแนะนำให้ทำถังฝังลงดินทิ้งบริเวณภายในเขตพื้นที่บ้านของตนเอง ส่วนขยะทั่วไป เช่นถุงหรือกล่องที่เปื้อนอาหาร ให้นำใส่ถุงดำมัดปากถุงให้สนิทแล้วจึงนำมาทิ้งที่ถังขยะประจำจุดที่ทางเทศบาลได้ทำการจัดเตรียมไว้ให้ โดยขยะที่เป็นอันตรายเช่นกระป๋องสี ถ่านไฟฉายของที่มีสารเคมี ทางชุมชนจะได้จัดให้มีถึงเฉพาะไว้ให้ และจะทำป้ายติดที่ถังขยะเพื่อแยกประเภทให้ชัดเจนก่อนทิ้ง และยังจะได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนหนองปรือที่จะช่วยกันดูแลจัดการเป็นหูเป็นตา ร่วมมือร่วมใจกัน ในการดูแลให้ทิ้งขยะลงถังให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ

 

เดือนมิถุนายนจะเป็นบทความเรื่อง การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและป้องกัน Covid-19 ในพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับกิจกรรมประจำเดือนนี้ได้จัดให้มีกิจกรรม Covid-19 week ก้าวต่อไป สู้ภัยโควิด ซึ่งจัดขึ้นเพื่อป้องกัน และลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Covid-19 ภายในชุมชน โดยมีการจัดทำสบู่เพื่อเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยรักษาความสะอาดเบื้องต้นภายในสู่ภายนอก ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชาวบ้านในชุมชน รวมถึงมาตรการการป้องกันก่อนเข้าร่วมกิจกรรม จัดให้มีพื้นที่วัดอุณหภูมิอย่างช้ดเจน พื้นที่ให้ลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบและยืนยันตัวตน พื้นที่สำหรับการจัดอบรมการทำสบู่เพื่อสำหรับไว้ให้เองและอาจจะต่อยอดไปถึงการนำไปจำหน่ายให้เกิดอาชีพได้ต่อไป ทั้งนี้กิจกรรมที่ได้จัดขึ้นมีประโยชน์มากเพราะจะเป็นการปลูกฝังให้คนในชุมชนรู้จักป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโควิดและทั้งนี้คนในชุมชนก็ได้ให้ความร่วมมือที่จะไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันตัวเองและคนรอบข้างรวมถึงสังคมที่สงบสุขก็จะกลับมาได้เช่นเดิมโดยเร็ว

เดือนกรกฎาคม จะเป็นเรื่องของวงจรขยะแต่ละประเภท โดยเดือนนี้ได้ลงพื้นที่เพื่อเข้าไปให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับขยะเพิ่มเติมและลงลึกถึงประเภทของขยะ ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ โทษ อันตราย ฯลฯ ของขยะแต่ละชนิดเพื่อที่จะได้นำไปใช้แนะนำพัฒนาแยกประเภทของขยะต่อไปได้

เดือนสิงหาคมการรีไซเคิ้ลขยะให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเดือนนี้จะเป็นการนำสิ่งของที่จะเป็นขยะนำมารีไซเคิ้ลให้เกิดประโยชน์และสามารถเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ซื่งในเดือนนี้ทางทีมงานได้ใช้วัสดุกระดาษลัง ขวดน้ำ ถุงพาสติก มาลองสาธิตเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เบื้องต้นได้ดังนี้

   

เดือนกันยายน จะเป็นการบริหารจัดการขยะและสามารถคัดแยกขยะแห้งและนำขยะเปียกทำเป็นปุ๋ย สำหรับเดือนนี้งานที่ได้รับมอบหมายให้ทำคือการลงพื้นที่สำรวจการบริหารจัดการขยะและสามารถคัดแยกขยะแห้ง และนำขยะเปียกทำเป็นปุ๋ยและได้ทำการถ่ายทอดความรู้ในการจัดการขยะให้กับหัวหน้าอสม.ประจำชุมชนเพื่อให้ได้ไปแนะนำให้สมาชิกในชุมชนได้จัดการและสอนวิธีการจัดการขยะให้เกิดประโยชน์ต่อไป

เดือนตุลาคม การแปรรูปขยะเพื่อเพิ่มมูลค่าจากขยะประเภทกระป๋องเครื่องดื่มและกล่องนม โดยเดือนนี้จะมีการทำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ได้จากกระป๋องและกล่องนมทั่วไป โดยในกลุ่มงานก็ได้มีการระดมความคิดไอเดียต่างๆ ประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ออกมาได้ดังนี้

เดือนพฤศจิกายน เรื่องการถอดบทความการแปรรูปกระป๋องจากการทำตะกร้า โดยในเดือนนี้จะเป็นการคิดวิธีการทำตะกร้าจากกระป๋องเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งการทำตะกร้าจะกระป๋องก็ยังมีปัญหาให้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อที่ตะกร้าจะได้ออกมาสมบูรณ์แบบมากที่สุดซึ่งก็จะพบปัญหาต่างๆ เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้น จึงต้องระดมสมองและลองผิดลองถูกทำการเรียนรู้ภายในทีม

เดือนธันวาคม จะเป็นการจัดฝึกอบรมการทำตะกร้าจะกระป๋องถ่ายทอดให้กับผู้นำชุมชนทั้ง 18 ชุมชนในเมืองบุรีรัมย์ได้เข้าใจวิธีการแปรรูปขยะและทำให้เป็นตะกร้าได้อย่างไร ทั้งนี้ทางชุมชนได้ให้ความร่วมมือเข้าฝึกอบรมทุกชุมชนซึ่งบรรยากาศก็เป็นไปด้วยดี

       

 

อื่นๆ

เมนู