1. หน้าแรก
  2. คณะวิทยาการจัดการ
  3. MS03 - ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  4. MS03 สรุปผลการปฏิบัติงานหลักสูตรการบริหารจัดการขยะ ตลอดระยะเวลาการจ้างงานโครงการ U2Tตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

MS03 สรุปผลการปฏิบัติงานหลักสูตรการบริหารจัดการขยะ ตลอดระยะเวลาการจ้างงานโครงการ U2Tตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

       MS03 สรุปผลการปฏิบัติงานหลักสูตรการบริหารจัดการขยะ ตลอดระยะเวลาการจ้างงานโครงการ U2Tตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร การบริหารจัดการขยะ และการเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

         

ดิฉันนางจณิสตา นุชสาย และผู้ดำเนินโครงการคนอื่น ๆ ได้ลงชุมชนปฏิบัติหน้าที่มาตลอดระยะเวลา 11 เดือน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ในพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการลงพื้นที่สำรวจ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เก็บข้อมูลต่าง ๆ ในพื้นที่ และทำการกรอกข้อมูลลงระบบตามที่ได้รับมอบหมาย ภายใต้สภาวะปัจจุบัน คือมีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งในการทำงานแต่ละเดือนนั้นมีรายละเอียดดังนี้

  1. ประชุมชี้แจงรายละเอียดวางแผนการปฏิบัติงาน

เริ่มต้นโครงการทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้นัดแนะการประชุม เพื่อวางแผนการทำงาน ในบริบทต่าง ๆ

2.นำหนังสือไปยื่นให้กับเทศบาล

เพื่อขอเข้าชุมชนไปสำรวจ และเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามต่าง ๆ

             

3.ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนตามแบบสอบถามต่าง ๆ  

ทำการสอบถามเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของพื้นที่ ปัญหาภายในชุมชนจากผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ แล้วนำข้อมูลที่ได้มากรอกลงระบบ แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูล

     

4.ศึกษาว่าชุมชนนั้นมีปัญหา และต้องการแก้ไขปัญหาอย่างไร

ปัญหาทั่วไปของทางชุมชน คือการจัดการขยะ และเราสามารถที่จะนำขยะที่ว่านั้น มาทำการสร้างอาชีพใหม่ได้อย่างไร

         

5.เข้าร่วมการแข่งขัน Hackathon

มีการอบรมให้ความรู้มากมาย และให้ผู้ปฏิบัติงานไปถ่ายทอดแนวคิด การสร้างสรรค์นวัตกรรมชุมชน

      

6.ออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากขยะที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้

ทางดิฉันและทีมงาน ได้ทำการศึกษา และวิเคราะห์ ลองผิดลองถูก จากการลองนำเอาทั้งกระดาษ ขวดน้ำพลาสติก เศษไม้ กล่องนม และสุดท้ายคือกระป๋องน้ำอัดลม

           

7.ทำการพัฒนา และแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่ได้แปรรูปกันขึ้นมา

ตอนแรกได้มีการแปรรูปเป็นเชิงเทียนจากช้อนพลาสติก มาเป็นกระเป๋าจากกระป๋อง และขวดนม จนท้ายที่สุด ผู้ดำเนินโครงการ และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้เห็นพ้องกันว่าเราควรที่จะทำตะกร้าจากกระป๋องอลูมิเนียม เพราะเป็นสิ่งที่แข็งแรง มีความสวยงามเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้

                                                          

8.ฝึกการทำตะกร้าจากกระป๋องอะลูมิเนียม

ทดลองทำตะกร้าหลากหลายรูปแบบ วิเคราะห์หาว่าตะกร้าแบบใดที่ชุนมีความต้องการ สามารถใช้งานได้ และทำการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้จริง

   

9.ทำการถอดบทเรียนจากการทำผลิตภัณฑ์จากกระป๋องอะลูมิเนียม

ศึกษาว่าวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาทำตะกร้าจากกระป๋องนั้น ต้องใช้อะไรบ้าง และวัสดุชนิดใด มีความเหมาะสมกับการทำตะกร้ารูปแบบนั้น ๆ มากที่สุด เช่นควรใช้กระดาษความหนาเท่าไหร่ กาวประเภทใด ลวดเบอร์ใด กระป๋องลักษณะไหน ในการทำตะกร้าให้ออกมามีรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด

          

10.ทำการถ่ายทอดความรู้การทำตะกร้าให้แก่ชุมชน

มีการลงพื้นที่ และมีการจัดอบรมให้ผู้ปฏิบัติงาน ถ่ายทอดความรู้การทำตะกร้าให้แก่ชุมชน ทางชุมชนต่าง ๆ ให้ความสนใจ และร่วมมือเป็นอย่างดี

สุดท้ายนี้ทางดิฉันหวังว่าสิ่งที่ดิฉันได้ทำมาตลอดระยะเวลาโครงการนี้ จะมีประโยชน์ต่อชุมชน และสามารถทำให้ชุมชนนำไปต่อยอด สร้างรายได้เสริมให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม ต่อไป ขอบคุณค่ะ

อื่นๆ

เมนู