ข้าพเจ้านางสาวมณีรัตน์ พลอยเพ็ชร์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน (MS03) ได้จัดเตรียมและเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปขยะรีไซเคิลให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อถ่ายทอดวิธีการนำกระป๋องเครื่องดื่มมาทำเป็นตะกร้าแก่ตัวแทนชุมชน โดยมีตัวแทนจากแต่ละชุมชนในพื้นที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้

การประชุมดำเนินไปภายใต้การปฏิบัติตามแนวทางการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทั้งทีมงานและผู้เข้าร่วมได้ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ วัดอุณหภูมิร่างกาย และสวมหน้ากากอนามัยตลอดการประชุม

กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปขยะรีไซเคิลให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เริ่มต้นด้วยการแนะนำเกี่ยวกับที่มาและความสำคัญของโครงการ จากนั้นได้บรรยายกระบวนการรีไซเคิลกระป๋องเครื่องดื่มให้เป็นตะกร้าโดยบรรยายเป็นขั้นตอนพร้อมตัวอย่างในแต่ละขั้น เมื่อการบรรยายเสร็จสิ้นก็เข้าสู่ช่วงการปฏิบัติจริง โดยทีมงานได้แบ่งเป็นสามกลุ่มเพื่อให้สามารถดูแลและให้แนะนำแก่ตัวแทนชุมชนที่มาเข้าร่วมประชุมทุกท่านได้อย่างทั่วถึง

บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างสนุกสนานและราบรื่น ตัวแทนชุมชนให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ตระกร้าจากกระป๋องเครื่องดื่มนี้ รวมถึงแนวทางการผลิตเพื่อสร้างรายได้เป็นอย่างดี

 


ดิฉันรับหน้าที่บรรยายขั้นตอนการทำตะกร้าและถ่ายภาพบรรยากาศการประชุม

 

ภาพสไลด์ในการบรรยายขั้นตอนการทำตะกร้า

 

เบื้องหลังการเตรียมงาน

 


 

การปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

  • การทำงานร่วมกับชุมชน
  1.  ประชุมวางแผนการปฏิบัติงาน
    00000ประชุมเพื่อทำความเข้าใจโครงการ รวมถึงวางแผนการดำเนินโครงการร่วมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการและผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
    00000
  2. การลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน และพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาภายในพื้นที่
    00000ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบสอบถามระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน, แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และศึกษาข้อมูลชุมชนจาก TPMAP นอกจากนั้นยังมีการลงพื้นที่เพื่อพูดคุย-สอบถามเกี่ยวกับปัญหาภายในชุมชนกับประชาชน และกลุ่มผู้นำชุมชนในพื้นที่
    00000
  3. การศึกษาแนวทางการจัดการที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน
    00000เมื่อได้สอบถามปัญหาภายในชุมชนและศึกษาข้อมูลพื้นที่จนได้ข้อมูลเพียงพอ ก็ได้มีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาศึกษาแนวทางการจัดการที่เหมาะสม โดยผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ศึกษาแนวทางการรีไซเคิลขยะทั้งขยะแห้งและขยะอินทรีย์
    00000
  4. การออกแบบผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล
    00000เมื่อได้ศึกษาแนวทางการรีไซเคิลขยะแล้ว ผู้ปฏิบัติงานก็ได้ออกแบบและทดลองรีไซเคิลขยะจากขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้หลายชนิด ทั้งขวดพลาสติก, ไม้, กระป๋อง, กระดาษ และอื่นๆ
    00000
  5. การแก้ไขและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล 
    00000หลังจากทดลองรีไซเคิลขยะหลายๆชนิดทางทีมผู้ปฏิบัติงานก็ได้มีการประชุมและลงความเห็นว่าการรีไซเคิลกระป๋องเครื่องดื่มมีความเหมาะสมที่สุด จึงได้ตัดสินใจเลือกกระป๋องเครื่องดื่มเป็นวัสดุหลักสำหรับการทดลองทำผลิตภัณฑ์
    00000กระป๋องเครื่องดื่มสามารถทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ทั้งกระเป๋าดินสอ, ที่ใส่กระดาษชำระ, กล่องใส่เอกสาร, ชุดเครื่องครัวของเล่น, ตะกร้า และของตกแต่ง เมื่อทดลองทำผลิตภัณฑ์ออกมาเรียบร้อบทุกรูปแบบ ทางทีมผู้ปฏิบัติงานก็ได้ประชุมและเลือกการทำตะกร้าสำหรับถ่ายทอดแก่ชุมชน เนื่องจากทำได้ไม่ยาก มีความแข็งแรง และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ขยะรีไซเคิลได้จริง
    00000
  6.  การถอดบทเรียนจากการทำผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล
    00000หลังจากมีการประชุมเพื่อเลือกชนิดของผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้ปฏิบัติงานก็ได้ทดลองทำตะกร้าโดยใช้วัสดุเสริมที่ต่างกัน เช่น กาวที่ต่างยี่ห้อกัน, กระดาษที่มีความหนาต่างกัน, ลวดที่ขนาดต่างกัน เพื่อหาวัสดุที่เหมาะสม และรวบรวมปัญหาที่อาจเกิดขึ้นสำหรับเตรียมถ่ายทอดแก่ชุมชน
    00000
  7.  การถ่ายทอดการแปรรูปขยะรีไซเคิลให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม
    00000
    เมื่อเตรียมการครบถ้วนแล้ว ทีมผู้ปฏิบัติงานก็ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปขยะรีไซเคิลให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อถ่ายทอดวิธีการนำกระป๋องเครื่องดื่มมาทำเป็นตะกร้าแก่ตัวแทนชุมชน ซึ่งทุกชุมชนต่างก็ให้ความสนใจเป็นอย่างดี

 

  • การพัฒนาทักษะส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงาน
  1. การพัฒนาทักษะด้าน English Literacy
    00000ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (Easy English for Everyday Life) ทำให้ได้ทบทวนความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษสำหรับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
    00000
  2. การพัฒนาทักษะด้าน Digital Literacy
    00000ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) และ เทคโนโลยีการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล (Digital Media Creation Technology)  ทำให้ได้ทบทวนความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานโครงการ และใช้ในชีวิตประจำวัน
    00000
  3. การพัฒนาทักษะด้าน Social Literacy
    00000ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาการสร้างทีมงานเพื่อพัฒนางานแบบมืออาชีพ, การสร้างเครือข่ายด้วยการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน ทำให้ได้ทบทวนความรู้ทางด้านจิตวิทยา และตะหนักถึงความแตกต่างทางวัฒนกรรมในการทำงานมากขึ้น
    00000
  4. การพัฒนาทักษะทาง Financial Literacy
    00000ได้ลงทะเบียนเรียนวิชาทางด้านการเงินหลายวิขา เช่น วางแผนลงทุนสม่ำเสมอด้วยหุ้นและกองทุน, ห้องเรียนกองทุนรวม The Series, ครบเครื่องเรื่องลงทุน, วางแผนสร้างเงินออมเพื่ออนาคต เป็นต้น ทำให้ได้รับความรู้ทางการการเงิน การวางแผนทางการเงิน รวมถึงการลงทุนในกองทันต่างๆมากมาย
    00000
  5. เข้าร่วมการแข่งขัน Hackathon
    00000ทำให้ได้เข้ารับการอบรมสำหรับผู้เข้าแข่งขันในหลายหัวข้อ เช่น นวัตกรรมทางสังคม & แนวทางการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรม, ทักษะที่จำเป็นการสร้างนวัตกรรมในกระบวนการ Hackathon, แนวทางการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมชุมชน เป็นต้น ซึ่งการอบรมนี้จัดโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำให้ได้รับความรู้มากมาย

อื่นๆ

เมนู