โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย
จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T)”
ชื่อบทความ :สรุปการปฏิบัติงาน หลักสูตร MS03 การบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ดิฉัน นางศิริพร บุตรสุด ประเภทประชาชน โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระยะที่ 2 หลักสูตรการบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ MS03
เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการประชุมออนไลน์ เพื่อชี้แจงการปฏิบัติงานและนัดหมายการส่งรายงานประจำเดือน และสรุปเนื้อหาตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงานในหลักสูตรการบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชนตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ MS03 มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
1.บริบทชุมชนหลังสถานีรถไฟ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์
ดิฉันได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตรในโครงการพื้นที่รับผิดชอบ
ดิฉันและทีมงานได้ลงพื้นที่ตำบลในเมือง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน จึงใคร่ขอความกรุณา
ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อมูลที่เป็นจริงและตอบคำถามในทุกคำถามเพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชนตามเป้าหมาย
ดิฉันได้เข้าเก็บแบบสอบถามชุมชนหลังสถานีรถไฟ ซึ่งจากการได้ลงพื้นดังกล่าว ทราบว่าในชุมชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว อาศัยทำมาหากิน มานานหลายปี
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ตอนกลางของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมด 6.0 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 3,750 ไร่ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร, สถานศึกษา, สถานพยาบาล และสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดบุรีรัมย์
2.การจัดการขยะในชุมชน
หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาขยะที่ทุกคนสามารถทำได้นี้เป็นสิ่งที่ ชุมชนนำมาใช้และจัดการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ โดยคัดแยกขยะมูลฝอยออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และดำเนินการรีไซเคิลครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ ถือหลักการกำจัดขยะจากแหล่งกำเนิดต้นทาง ลดปริมาณขยะ และนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือเรียกว่าขยะรีไซเคิล เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย เช่นเดียวกับที่ ชุมชนอื่นๆนำเอาโครงการต่างๆมาใช้และสามารถจัดการขยะในชุมชนได้เกือบทั้งหมด รวมถึงนำขยะกลับมาใช้ใหม่ในหลายรูปแบบ โดยมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะรีไซเคิล การผลิตน้ำหมักจากขยะอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษผักและเศษอาหาร ซึ่งได้จากตลาดสดที่อยู่ใกล้ชุมชน เป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่เพื่อทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุด
จะเห็นได้ว่าความจริงแล้วขั้นตอนการกำจัดขยะในชุมชนไม่ได้ยาก เพียงแค่ร่วมมือร่วมใจกัน ก็ช่วยให้ชุมชนกลับมาสวยงาม น่าอยู่ ลดปริมาณขยะ และแบ่งเบาภาระการจัดการขยะได้มากแล้ว นอกจากนี้ยังถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า แถมเป็นการสร้างรายได้ไปในตัวอีกด้วย เอาเป็นว่าใครอยากให้ชุมชนของตัวเองเป็นชุมชน
3.การระดมความคิดเพื่อการจัดการขยะ
จากการเก็บข้อมูลในเดือนที่ผ่านๆมาทำให้เห็นได้ว่าในพื้นที่ตำบลในเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก และเนื่องจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามมาก้คือแหล่งสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นตลาดหรือร้านขายของ เหล่านี้เป็นบ่อเกิดจากขยะทั้งสิ้น ถึงจะเป็นชุมชนที่ครบครันด้วยระบบต่างๆ แต่ก้มีปัญหาเกิดขึ้น เช่น ปัญหาขยะ หากการบริการเก็บขนไม่สม่ำเสมอ ปัญหาที่ตามมาคือเรื่องกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
ในเดือนนี้ ข้าพเจ้าและผู้ปฏิบัติงานจึงได้นำข้อมูลปัญหาของชุมชนมาประชุมเพื่อระดมความคิด วิเคราะห์ถึงวิธีการจัดการแก้ปัญหารวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าและสามารถสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับชุมชน
4.การจัดการขยะภายในชุมชนภายใต้ สถานการณ์ COVID-19
ขณะเดียวกันได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากประขาชนในการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดยให้ประชาชนคัดแยกขยะมูลฝอยหน้ากากอนามัยเพิ่มเติม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับการจัดการหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถึงการทิ้งขยะหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี และขอความร่วมมือประชาชนไม่ทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยทั่วไปในครัวเรือน โดยพับหน้ากากอนามัยใส่ถุงที่ปิดสนิท มัดปากถุงให้แน่น เขียนหรือติดหน้าถุงว่า “หน้ากากอนามัย” แยกทิ้งให้รถเก็บขนขยะมูลฝอยของเทศบาลหรือทิ้งในถังรองรับหน้ากากอนามัย เพื่อให้พนักงานเก็บขยะรู้และจะได้นำไปทิ้งลงถังบรรจุขยะติดเชื้อที่มีประจำบนรถขยะ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเทศบาลจะดำเนินการเก็บรวบรวมและนำไปกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะต่อไป
การคัดแยกขยะติดเชื้อยังช่วยลดความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่จัดเก็บด้วย เพราะขณะนี้เจ้าหน้าที่ทำได้เพียงป้องกันตัวเองอย่างดีที่สุดด้วยการใส่อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น หน้ากาก ถุงมือ รองเท้าบู๊ท และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับขยะติดเชื้อที่ปะปนมากับขยะทั่วไป
5.การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและป้องกันโควิด-19ในพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ให้ดำเนินการลงพื้นที่สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับมาตการการป้องกันไวรัสโควิด-19 จากการสอบถาม พบว่าได้มีการหาข้อมูลและปฏิบัติตามข้อควรระวังที่เหมาะสม รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุข โดยมีวิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น ล้างมือบ่อยๆโดยใช้สบู่หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกฮอล์ มีการสวมหน้ากากอนามัยในเวลาที่จำเป็นต้องออกข้างนอกหรือพบปะผู้คนหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และมีมลภาวะเป็นพิษ งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงโรคระบาดและหากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากให้รีบไปพบแพทย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ให้ดำเนินการลงพื้นที่และดำเนินงานจัดกิจกรรม U2T สู้ภัย COVID(U2T-COVID WEEK) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) โดยมีการรณรงค์การป้องกันโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ภายใต้กิจกรรม รุก คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยในชุมชน ประกอบด้วยกิจกรรม 3 Step ดังนี้
Step 1 คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัยโควิด
เป็นกิจกรรมการทำความสะอาดพื้นที่ เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัส ทำให้สภาพแวดล้อมสะอาด ปลอดภัย ทำให้ตำบลของเราน่าอยู่มากขึ้นและยังช่วยป้องกันการระบาดของเชื้อโรค
Step 2 สร้าง SAFE ZONE เขตปลอดภัย ห่างไกลโควิด
เป็นการเตรียมความพร้อม การใช้พื้นที่อย่างปลอดภัย ศึกษาคำแนะนำจากหน่วยงานสาธารณสุข สำรวจและกำหนดบริเวณพื้นที่ และพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง ออกแบบและเผยแพร่มาตการการใช้สถานที่ร่วมกันอย่างปลอดภัย
Step 3 จัดหาเครื่องมือให้พอและพร้อมกับสถานการณ์โควิด-19
จัดหาและบริหารจัดการอุปกรณ์ให้พอและพร้อมใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น หน้ากากอนามัย เจลแอลกฮอล์ ฉากกั้น และอื่นๆที่มีความจำเป็นต่อการป้องกันการระบาดชองเชื้อไวรัสโควิด-19
ภายในกิจกรรม U2T สู้ภัย COVID(U2T-COVID WEEK) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล)ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายจากอาจารย์ประจำหลักสูตรให้มีการเผยแพร่หลักสูตรการทำสบู่เหลวให้กับสมาชิกในชุมชน เพื่อสร้างอาชีพให้กับชุมชนพร้อมทั้งยังสามารถให้สมาชิกใช้ทำความสะอาดและยังสามารถทำให้ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้ควบคู่กับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
6.คู่มือวงจรขยะแต่ละประเภท
ในการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร จำเป็นต้องจัดให้มีระบบการคัดแยกขยะมูลฝอยประเภทต่างๆ ตามแต่ลักษณะองค์ประกอบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่แหล่งกำเนิด โดยจัดวางภาชนะให้เหมาะสม ตลอดจนวางระบบการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระบบการคัดแยกขยะมูลฝอย พร้อมทั้งพิจารณาความจำเป็นของสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยและระบบขนส่งขยะมูลฝอยไปกำจัดต่อไป
การลดปริมาณขยะมูลฝอยให้ได้ผลดีต้องเริ่มต้นที่การคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ทำให้ได้วัสดุเหลือใช้ที่มีคุณภาพสูง สามารถนำไป Reused-Recycle ได้ง่าย รวมทั้งปริมาณขยะมูลฝอยที่จะต้องนำไปกำจัดมีปริมาณน้อยลงด้วย ซึ่งการคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละชุมชน เช่น ครัวเรือน ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน บริษัท สถานที่ราชการต่าง ๆ เป็นต้น รวมทั้งปริมาณ และลักษณะของขยะมูลฝอยที่แตกต่างกันด้วย จึงได้มีการลงพื้นที่ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมในการจัดทำคู่มือวงจรขยะ เพื่อง่ายต่อการศึกษาและค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวรจรขยะ ดังรายละเอียดตามคู่มือต่อไปนี้
7.ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจากลังกระดาษ(ถังขยะ D.I.Y.)
ในส่วนของงานประจำเดือนสิงหาคม ดิฉันและผู้ปฏิบัติประจำหลักสูตร ได้มีการจัดทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะ มีชื่อว่า ถังขยะ D.I.Y. พร้อมทำคลิปวีดีโอนำเสนอการจัดทำ
8.MS03 การบริหารจัดการขยะแห้ง ขยะเปียก และการทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียก
เมื่อวันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ดิฉันและผุ้ปฏิบัติงานได้เตรียมผลิตภัณฑ์รีไซเคิลจากขยะเพื่อนำเสนออาจารย์ประจำหลักสูตร และร่วมประชุมเพื่อรับฟังแนวทางการปฏิบัติงานประจำเดือน ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อสำรวจการบริหารจัดการขยะแห้ง ขยะเปียก และสามารถทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียกได้
วันที่ 16 กันยายน 2564 ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานใด้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจในชุมชนหลังศาล ชุมชนหลังศาลมีประชากรประมาณ 1,253 คน และมีที่อยู่อาศัยประมาณ 751 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ รองลงมาคืออาชีพค้าขาย การจัดการขยะภายในชุมชนมีการจัดการขยะของแต่ละครัวเรือน มีการจัดการที่ดีและแยกเป็นสัดส่วน ไม่ว่าจะเป็นขยะแห้งหรือขยะเปียก ทั้งนี้ ดิฉันและผุ้ปฏิบัติงานจึงได้นำเสนอข้อมูลและวิธีการทำปุ๋ยหมักให้แก่ชุมชน
9.การแปรรูปขยะเพื่อเพิ่มมูลค่าจากขยะประเภทกระป๋องเครื่องดื่มและกล่อมนม
จากปัญหาขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ประเภทแก้วกระดาษ แก้วพลาสติก และกล่องอาหารพร้อมทานที่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ร้านขายกาแฟและเครื่องดื่มต่างๆ ถึงแม้บรรจุภัณฑ์บางชนิดจะสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้แต่ก็ต้องใช้เวลานาน ทำให้เกิดการกำจัดขยะอย่างผิดวิธี
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานในหลักสูตรได้ร่วมประชุมร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเกี่ยวกับแผนปฏิบัติงานประจำเดือนเรื่องการจัดทำสิ่งประดิษฐ์จากขยะเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งในกลุ่มของดิฉันได้รับมอบหมายให้จัดทำสิ่งประดิษฐ์ดังต่อไปนี้
1.นาฬิกาจากกระป๋อง
2.กระเป๋าสะพายข้างจากกระป๋อง
3.กระเป๋าใส่เอกสารจากกระป๋อง
4.กระป๋องแขวนต้นไม้
5.กระป๋องใส่ดอกไม้
6.กระเป๋าใส่เอกสารจากกล่องนม
7.กระเป๋าถือจากล่องนม
และก่อนที่จะนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์นั้น ต้องมีการคัดแยกประเภทขยะมูลฝอยภายในบ้าน เพื่อเป็นการสะดวกแก่ผู้เก็บขนและสามารถนำขยะบางชนิดไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว รวมทั้งง่ายต่อการนำไปกำจัดอีกด้วย
10.ถอดบทเรียนการแปรรูปกระป๋องเครื่องดื่มให้เป็นตะกร้าสินค้า เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชน
เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการนัดหมายประชุมออนไลน์จากอาจารย์ประจำโครงการและผู้ปฏิบัติงานประจำหลักสูตร เพื่อแจ้งการปฏิบัติงานและแจ้งกำหนดการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้การแปรรูปกระป่องเครื่องดื่มแก่ชุมชนตำบลในเมือง
ทั้งนี้ทางผู้จัดทำยังเล็งเห็นว่าขยะประเภทกระป๋องยังสามารถนำมาแปรรูปเพื่อให้เป็นวัสดุที่มีประโยชน์และนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง โดยการนำกระป๋องมาแปรรูปนี้นอกจากจะเป็นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์เพื่อนำมาใช้สอยให้เป็นประโยชน์ ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ขยะจากบรรจุภัณฑ์ ทางผู้จัดทำกลุ่ม 2 ได้มีการสืบค้นข้อมูลวิธีการนำขยะประเภทกระป๋องมารีไซเคิลในรูปแบบต่าง ๆ และได้ข้อสรุปว่าจะทำการแปรรูปกระป๋องให้เป็นตะกร้าเนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย มีความแข็งแรงและสามารถใช้งานได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากนั้นการแปรรูปขยะให้เป็นตะกร้านี้ยังสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อีกด้วย
การปฏิบัติงานและลงพื้นที่ในชุมชนครั้งนี้ ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้เป็นอย่างมาก เพราะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผุ้ปฏิบัติงานและสมาชิกในชุมชน รวมทั้งได้รับการอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากผู้นำชุมชน มีความรู้เรื่องการจัดการขยะอย่างถูกวิธี รวมทั้งได้มีการเรียนรู้การแปรรูปจากขยะต่างๆ เช่น การทำตะกร้าจากกระป๋องเครื่องดื่ม เป็นต้น ทั้งนี้ ทางด้านสมาชิกในชุมชนก้ให้การตอบรับจากการจัดโครงการเป็นอย่างดี แต่อาจจะมีอุปสรรคบ้างในการลงพื้นที่ เพราะอยู่ในช่วงสถานการ์โควิด-19
:วีดีโอการปฏิบัติงานประจำเดือน