ข้าพเจ้านางสาวมณีรัตน์ พลอยเพ็ชร์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการบริหารจัดการขยะและการเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน (MS03) ได้เข้าร่วมการแข่งขันโครงการ U2T HACKATHON 2021 ซึ่งเป็นการแข่งขันภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ภายใต้โจทย์ “แนวทางแก้ปัญหา ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ร่วมกับทีมงานหลักสูตร MS03 อีกจำนวน 4 คน และมีอาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นผู้ให้คำปรึกษา

 

โครงการ U2T HACKATHON 2021 มีการแข่งขันสามรอบ แบ่งเป็น รอบคัดเลือก โดยสมัครเข้าร่วมการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ จากนั้นจะมีการคัดเลือก 40 ทีมเพื่อแข่งขันในระดับประเทศต่อไป

ทีมของข้าพเจ้า ใช้ชื่อว่า BRU MS03 Hacker ส่งโครงการร้านค้าเติมรักษ์ The Refillable  เพื่อก่อตั้งร้านค้าที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบการเติมใส่บรรจุภัณฑ์เดิม (Refill) เข้าร่วมการแข่งขันภายใต้หัวข้อ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน

เนื่องจากปัจจุบันมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ในขณะที่พลาสติกหลายชนิดสามารถใช้ซ้ำ(Reuse) โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่(Recycle) โดยเฉพาะพลาสติกพวกที่เป็นบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หากสามารถหมุนเวียนการใช้บรรจุภัณฑ์เหล่านั้นก็จะเป็นการลดการเกิดขยะจากต้นทาง(Reduce) อีกทั้งยังเป็นการทำให้บรรจุภัณฑ์แต่ละชิ้นถูกใช้ประโยชน์มากที่สุด ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการลดปริมาณขยะ การถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน รวมถึงการช่วยให้ประชาชนได้ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่ถูกลง ผู้ปฏิบัติงานจึงได้เสนอโครงการร้านค้าเติมรักษ์ เพื่อก่อตั้งร้านค้าที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในรูปแบบการเติมใส่บรรจุภัณฑ์เดิม (Refill) เพื่อลดการก่อขยะใหม่ โดยลักษณะของการดำเนินงานเป็นรูปแบบสหกรณ์ที่มีระบบสมาชิกและการปันผลขึ้นในชุมชน

การจัดทำโครงการร้านค้าเติมรักษ์ The Refillable เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ในรูปแบบการเติมใส่บรรจุภัณฑ์เดิม (Refill) จะช่วยลดการก่อขยะใหม่ โดยลักษณะของการแลกเปลี่ยนมีทั้งการใช้เงินสด และการนำขยะพลาสติกชนิดต่าง ๆ มาแลก จากนั้นนำพลาสติกที่ได้มาหลอมแล้วขึ้นรูปใหม่เป็นบรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์แบบอื่น ๆ ซึ่งสามารถนำไปจำหน่ายสร้างรายได้ได้อีกรูปแบบหนี่ง โดยแนวคิดที่ใช้ประกอบด้วย

– ใช้องค์ความรู้เรื่องการคัดแยกและการจัดการขยะ เพื่อถ่ายทอดแก่ประชาชนและทีมงาน

– ใช้ฟังก์ชันไลน์ออฟฟิเชียล ในแอพพลิเคชันไลน์ สำหรับการจัดทำระบบสมาชิก เพื่อสะสมแต้มจากการซื้อหรือแลกขยะ จากนั้นปันผลให้แก่สมาชิกตามสัดส่วน

– ทำระบบการซื้อขายแบบออนไลน์ ผ่านทางแอพพลิเคชัน

– ทำตู้ Refill สำหรับหอพัก/อพาร์ทเมนท์ เพื่อความสะดวกในการซื้อของประชาชนในพื้นที่

 

ในการแข่งขันรอบแรกเป็นการคัดเลือกจากใบสมัครและวิดีโอคลิป ทางทีมก็ได้มีการเตรียมตัวประชุมวางแผนแนวคิดการทำโครงการ และดำเนินการทำวิดีโอคลิปเพื่อส่งเข้าแข่งขัน โดยได้รับคัดเลือกเป็น 40 ทีม ที่เข้าแข่งขันในรอบเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้ในวันที่ 17-18 กรกฎาคมที่ผ่านมา

สำหรับการแข่งขันระดับเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง สมาชิกของทีมได้เข้าร่วมการอบรมออนไลน์หลายครั้ง เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมตัวสำหรับแข่งขัน และมีการซักซ้อมการนำเสนอ รวมถึงการประชุมเพื่อวางแผนปรับปรุงการนำเสนอตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ท่านอื่นๆ เพื่อให้สามารถนำเสนอโครงการในวันแข่งขันได้อย่างดีที่สุด

        

อื่นๆ

เมนู