MS03 การบริหารจัดการขยะ การคัดแยกขยะแห้ง และการนำขยะเปียกมาทำปุ๋ย

หลักสูตร การบริหารจัดการขยะ และการเพิ่มมูลค่า เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉันนางจณิสตา นุชสาย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ และทีมงาน ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงาน พร้อมทีมงาน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564

       

         

สำหรับการคัดแยกประเภทของขยะนั้นมีหลัก ๆ อยู่ 3 ประเภทได้แก่

1.ขยะเปียก หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร พืชผัก เปลือกผลไม้ เป็นต้น

2.ขยะแห้ง หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ เศษผ้า ไม้ ยาง เป็นต้น

3.ขยะอันตราย ได้แก่ สารเคมี วัตถุมีพิษ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ และขยะติดเชื้อจากสถานพยาบาล

สำหรับแนวทางจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิชาการ เช่น การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ และการหมักทำปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิธีมีความแตกต่างกันในด้านต้นทุนการดำเนินงาน ความพร้อมขององค์กร ปริมาณและประเภทของขยะ เป็นต้น

ในครัวเรือนและร้านอาหารมักมีเศษอาหารเหลือทิ้งจากการบริโภคและจำหน่ายมากมายในแต่ละวัน วิธีจัดการขยะที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ก็คือ วิธีทำปุ๋ยหมักโดยอาศัยการย่อยสลายจากจุลินทรีย์ นอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างเก็บขยะมูลฝอยแล้ว ยังไม่เป็นภาระต่อสังคม ไม่ต้องเสียเวลาในการขุดหลุมฝัง แถมยังได้ปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใส่ต้นไม้ในบ้าน ช่วยประหยัดอีกต่อหนึ่งด้วย

การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ

1.เศษอาหาร เช่น เศษข้าว เศษผัก เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ ก้างปลา เศษหมู ขนมปัง ฯลฯ ที่เหลือจากการบริโภค

2.จุลินทรีย์ ควรเป็นประเภทที่ใช้ออกซิเจน จะช่วยให้ไม่ส่งกลิ่นเหม็นและไม่ทำให้เกิดน้ำเสีย

3.เศษใบไม้ ช่วยให้เศษอาหารมีความโปร่งพรุน ไม่อัดแน่นจนเกินไป ทั้งยังมีธาตุคาร์บอนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์

เมื่อเตรียมส่วนประกอบพร้อมแล้ว ก็มาทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารกัน

1.เตรียมถังหมักพลาสติกพร้อมฝาปิดขนาด 20 ลิตร โดยใช้เหล็กร้อน ๆ เจาะรูรอบถังเพื่อใช้เป็นช่องระบายอากาศ แล้วพันด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันแมลงวันมาวางไข่และสร้างความรำคาญ

2.ใส่เศษอาหาร มูลสัตว์ และเศษใบไม้ อย่างละ 1 ส่วนลงในถัง ผสมคลุกเคล้าให้ทั่วแล้วปิดฝา ระยะแรกไม่ต้องเติมน้ำเนื่องจากเศษอาหารมีความชื้นสูง หากวันถัดไปมีเศษอาหารอีกก็ผสมมูลสัตว์และเศษใบไม้ในอัตราส่วนเดิม ใส่ลงในถังได้อีก

3.ใช้ไม้คนส่วนผสมให้คลุกเคล้ากันทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ในช่วง 3-10 วันแรกอาจมีความร้อนเกิดขึ้น เนื่องจากจุลินทรีย์คายความร้อนออกมาเพื่อทำปฏิกิริยาย่อยสลาย หากความชื้นลดลงเกือบแห้ง ควรพรมน้ำเพิ่ม

4.ใช้เวลาประมาณ 30 วัน จะได้ปุ๋ยหมักในปริมาตรที่ลดลงร้อยละ 40 หากปุ๋ยยังมีความชื้นอยู่ ควรงดพรมน้ำและปล่อยให้แห้งสนิท เพื่อให้จุลินทรีย์หยุดการย่อยสลาย ปุ๋ยหมักที่ได้จะมีสีดำคล้ำ เปื่อยยุ่ย มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา และไม่มีกลิ่นเหม็น

และทางทีมงานได้มีการลงพื้นที่แนะนำการคัดแยกขยะเป็นประเภทต่าง ๆ และการทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียก ทางชุมชนให้ความร่วมมือดีมาก

            

อื่นๆ

เมนู