โครงการยกระดับเศษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ ) เป็นโครงการเพื่อช่วยผู้ที่ว่างงานอันเนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรน่า 2019 ( COVID-19 ) ให้มีงานทำภายใต้ภารกิจของหน่วยงาน
เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึง ธันวาคม 2564 โดยปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทั้งสิ้น 18 ชุมชน ในหัวข้อการบริหารจัดการขยะในชุมชน โดยมีแนวทางการทำงานดังนี้
1.จัดตั้งทีมงาน ประชุมสร้างความเข้าใจในการทำงาน
2.ศึกษาข้อมูล ศึกษาฐานข้อมูล /ลงพื้นที่ 18 ชุมชนพบผู้นำ
3.วิเคราะห์ข้อมูล ประชุมทีมงาน /PESTEL&SWOT
4.วางแผน สรุปประเด็น / วางแผนงาน
5.พัฒนาทักษะทีมงานแบบออนไลน์ ด้านเทคโนโลยี ภาษาอังกฤษ การเงิน การสื่อสาร สังคม
6.ประเมินผลงาน สรุปผลและประเมินผลงาน / หาแนวทางพัฒนาและแนวทางการแก้ไข
7.เผยแพร่ผลงานต่อยอดองค์ความรู้ สรุปผลงานและประเมินผลงาน / หาแนวทางพัฒนาและการแก้ไข
กิจกรรมพัฒนาตำบลและผลลัพธ์ที่ได้
ผู้ปฎิบัติงานลงพื้นที่ให้ความรู้การจัดการขยะในครัวเรือน ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในการแยกประเภทของขยะ จัดการอบรมการแปรรูปขยะและสร้างอาชีพสร้างรายได้เพื่อให้ชุมชนนำไปปรับใช้กับตนเองได้ เช่น การทำสบู่เหลว การทำปุ๋ยจากอาหารสด ผัก ผลไม้ การสร้างงานจากเศษกระดาษ การแปรรูปกระป๋อง ซึ่งหากชุมชนสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในชุมชนสังคมนั้นได้ และมีงานทำ สร้างรายได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ หลังจากการลงพื้นที่จากโครงการยกระดับเศษฐกิจรายตำบลดำเนินงานมาเป็นเวลา 1 ปี ทำให้ชุมชนเข้าถึงสถาบัน หน่วยงานต่างๆ และมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์สามารถเป็นที่ปรึกษาได้อย่างต่อเนื่องเกิดความสัมพันธ์ขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยราชภัฎเป็นตัวเชื่อโยงระหว่างชุมชนต่อชุมชนเกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกัน ปรึกษาเพื่อช่วยกันพัฒนาให้ชุมชนน่าอยู่ และสร้างรายได้ในครัวเรือนเพื่อให้มีความยั่งยืนต่อไป
ปัญหาและอุปสรรคและการแก้ปัญหา เนื่องจากเป็นชุมชนเมือง มีความหลากหลายทั้งอาชีพ การทำงาน การติดต่อประสานงานค่อนข้างยาก เพราะผู้นำของชุมชนส่วนมากมีงานทำประจำ ทั้งเป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ พ่อค้า เกษตรกร ผู้ปฎิบัติงานจะขาดเทตนิคการติดต่อประสานงาน ซึ่งต้องเข้าถึงด้วยความอ่อนน้อม ถ่อมตน การขอความร่วมมือจึงดีขึ้นตามลำดับ ระยะเวลา 1 ปีของการปฎิบัติงานทำให้ชุมชนกับผู้ปฎิบัติงานและมหาวิทยาลัยมีความแน่นแฟ้นมากขึ้น ชุมชนให้ความร่วมมือดีขึ้นตามลำดับ และต้องการการพัฒนาต่อยอดจากโครงการนี้ต่อไป เพราะหากแก้ปัญหาลดการเพิ่มของขยะ และนำขยะมาใช้ประโยชน์โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชนจะทำให้ชุมชนสามารถสร้างงานสร้างอาชีพและมีรายได้จากการแปรรูปจากขยะได้อย่างต่อเนื่อง และหวังว่าการต่อยอดการบริหารจัดการขยะจะทำให้สังคมน่าอยู่ และมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป ขอขอบคุณโครงการยกระดับเศษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ ) ที่ได้สร้างงานสร้างอาชีพให้กับบัญฑิตใหม่ ประชาชน และนักศึกษา ให้มีรายได้และฝึกปฎิบัติงานให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซื่อสัตย์ สามัคคี เสียสละ และหวังว่าทุกคนจะได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการทำงานและดำรงชีวิต ที่สำคัญนำความรู้พัฒนาท้องถิ่นให้มีรายได้ สร้างเศษฐกิจให้ดีขึ้น ชุมชนน่าอยู่ยิ่งขึ้นไป