การจัดการขยะในชุมชนเมืองบุรีรัมย์  โดยโครงการยกระดับเศษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการฯ  มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ เฟส 3

            การระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก ภาครัฐจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จัดตั้งโครงการช่วยเหลือประชาชน ให้มีการจ้างงานในภาวะที่ได้รับผลกระทบไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงได้เกิดโครงการยกระดับเศษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล ( มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) เฟส 3 ขึ้น  ดังนั้นการทำงานจึงแบ่งงานรับผิดชอบเป็น ซึ่งตำบลในเมืองประกอบด้วยชุมนทั้งหมด 18 ชุมชน แบ่งงานรับผิดชอบเป็น 3 ทีม รับผิดชอบทีมละ 6 ชุมชน ในหัวข้อการจัดการขยะชุมชนเมืองบุรีรัมย์  ชุมชนที่ทีมงานรับผิดชอบมีดังนี้ 

1.ชุมชนชุมเห็ด  2.ชุมชนตลาดสด 3.ชุมชนหลักเมือง 4.ชุมชนฝั่งละลม 5.ชุมชนสะพานยาว 6.ชุมชนวัดอีสาน

          เมื่อรับมอบหมายงานจึงเดินทางเข้าพบสำนักงานปลัดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เพื่อยื่นหนังสือขอความอนุเคราะห์เข้าพื้นที่และขอข้อมูลเพิ่มเติมของชุมชนต่างๆ ที่รับผิดชอบ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี  และทางเทศบาลจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้นำชุมชนทั้ง 18 ชุมชนรับทราบว่า จะมีคณะทำงานจากโครงการยกระดับเศษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ฯ ลงพื้นที่เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจและการขอความร่วมมือจากชุมชนในการทำงานในครั้งนี้

          การลงพื้นที่ในแต่ละชุมชนนั้นได้ทำการทำแบบสอบถามออนไลน์ 01 – 06 ได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับการจัดการขยะในช่วงโควิด-19 และการตอบแบบสอบถามโดยการใช้สมาชโฟน ซึ่งในพื้นที่ตำบลในเมืองในเรื่องการจัดการขยะโดยเทศบาลจะมีพนักงานบริการในการกำจัดขยะอยู่แล้ว  แต่ปัญหาเบื้องต้นคือประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะ  ส่วนมากใส่ขยะรวมกัน ส่วนชุมชนที่มีความเข้าใจจะมีการแยกขยะได้เป็นอย่างดี 

         ประชาชนที่อาศัยในชุมชนส่วนใหญ่ จะเป็นผู้สูงอายุและเด็ก พื้นที่ชุมชนละลม ชุมชนวัดอิสาน ชุมชนสะพานยาว ส่วนใหญ่อาศัยเช่าพื้นที่ราชพัสดุ ติดต่อกันยาวนานกว่า 50 ปี ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองประมาณ 70%  และยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี และการใช้สมาชโฟน ซึ่งทีมงานต้องสร้างความเข้าใจพอสมควร แต่ทุกครัวเรือนยินดีที่จะเรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีในการลงพื้นที่ในครั้งต่อไป 

         การลงพื้นที่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 นี้  ทำให้ทราบปัญหาเบื้องต้นและจะนำมาประชุมวางแผน แก้ไข รวมถึงต้องสร้างความเข้าใจการจัดการขยะและการใช้เทคโนโลยีของชุมชนให้มากขึ้น  และต้องดำเนินการเพื่อติดตามผลต่อไป

  นางสาวจมาภรณ์ โอษฐ์เจษฎา (ประชาชน) และทีมงานกลุ่มที่ 1 ลงพื้นที่และเก็บข้อมูล วันที่ 6-12 กพ 2564

https://www.youtube.com/watch?v=b35ir8_c37U&feature=youtu.be

Tags:

อื่นๆ

เมนู