ข้าพเจ้านายศาศวัต ลดขุนทด ประเภท ประชาชน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงาน ณ ชุมชนหน้าสถานีรถไฟ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และชุมชนอื่นๆในพื้นที่ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 1 มหาวิทยาลัย 1 ตำบล ในชุมชน.
กระผมและผู้ปฏิบัติงานได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อสำรวจการบริหารจัดการขยะแห้ง ขยะเปียก และสามารถทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียกได้
ขยะมูลฝอย หมายถึง เศษสิ่งเหลือใช้และสิ่งปฏิกูล ต่างๆ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และสัตว์ รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด หรือที่อื่นๆ ทั้งจากการผลิต การบริโภค การดำรงชีวิต
การคัดแยกขยะมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น
ขยะแห้ง เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก ขยะแห้งบางชนิดที่สามารถแปรสภาพนำมากลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ ขวดแก้ว โลหะ พลาสติก เป็นต้น
ขยะเปียก เป็นขยะที่สามารถย่อยสลายได้ จึงเหมาะแก่การนำมาทำปุ๋ยหมัก เช่น เศษอาหาร เศษผลไม้ เศษผัก เป็นต้น
ทั้งนี้ กระผมและผุ้ปฏิบัติงานจึงได้นำเสนอข้อมูลและวิธีการทำปุ๋ยหมักให้แก่ชุมชน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
ส่วนประกอบ
- เศษอาหารในครัวเรือนทุกชนิด รวมทั้งน้ำแกง น้ำพริก ผลไม้ เปลือกหอย กุ้ง ก้างปลา หัวปลา น้ำยาล้างจาน เป็นต้น จำนวน 3 กิโลกรัม
- น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล จำนวน 1 กิโลกรัม
- น้ำสะอาด 1-10 ลิตร (แล้วแต่เศษอาหารจะมีน้ำมากหรือไม่)
- หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
วีธีทำ
- นำเศษอาหาร 3 กิโลกรัม ใส่ลงในถังพลาสติก
- ผสมน้ำกับน้ำตาลให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวกัน
- เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้นผสมในน้ำและน้ำตาล แล้วเททับลงในถังที่ใส่เศษอาหารให้ทั่ว แล้วปิดฝาให้สนิทเพื่อไม่ให้แสงและอากาศเข้าได้
- บ่มทิ้งไว้ประมาณ 90 วัน จะได้ปุ๋ยน้ำที่มีคุณภาพดี กลิ่นหอม รสเปรี้ยว
หมายเหตู: ปริมาณส่วนผสมต่างๆปรับได้ตามสัดส่วน
วิธีการใช้
- ผสมน้ำ 1:100-400 ลิตร รดราดโคน
- ผสมน้ำ 1:200-1,000 ลิตร ฉีดพ่นลำต้นและใบ
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
- เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตในดิน และให้ธาตุอาหารสูง
- ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติ ปรับค่า pH โครงสร้างดินให้ดีขึ้น
- ช่วยให้พืชเจริญเติบโตต้านทานโรคและแมลงได้
และการลงพื้นที่ในชุมชนครั้งนี้ ดิฉันและผู้ปฏิบัติงานได้รับความรู้เป็นอย่างมาก เพราะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างผุ้ปฏิบัติงานและสมาชิกในชุมชน รวมทั้งได้รับการอนุเคราะห์เป็นอย่างดีจากผู้นำชุมชน