รายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม

นางชาลี ฉัตรทัน (ประเภทประชาชนหลักสูตร การสร้างธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน(MS01) ประจำตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

3 ตุลาคม 2564 รศ.ดร.ปรีชา ปาโนรัมย์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ และทีมอาจารย์ประจำตำบลทุกท่าน เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Google Meet เพื่อชี้แจงรายละเอียดการปฏิบัติงานเดือนตุลาคม ในเดือนตุลาคมนี้จะมีการขยายพื้นที่ในการทำธนาคารน้ำใต้ดินไปยังพื้นที่ บ้านสำโรง หมู่13 ตำบลกระสัง อำเภอกระสังจ.บุรีรัมย์ โดยทางทีมงานได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานสร้างธนาคารน้ำใต้ดินทั้งหมดจำนวน 5 หลุม โดยการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินท่านคณบดีได้แนะนำให้ทำใกล้แปลงเกษตรพืชผักของครัวเรือน เพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน

ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ใช้หลักการขุดบ่อเพื่อส่งน้ำไปเก็บไว้ที่ชั้นน้ำบาดาล ขนาดและความลึกของบ่อขึ้นอยู่กับสภาพ และชั้นดินของแต่ละพื้นที่ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ขุดบ่อให้ลึกประมาณ 1.20-1.30 เมตร จากนั้นใส่ยางรถยนต์เพื่อป้องกันขอบบ่อพังทลาย

ขุดบ่อให้ลึกประมาณ 1.20-1.30 เมตร จากนั้นใส่ยางรถยนต์เพื่อป้องกันขอบบ่อพังทลาย

นำท่อ PVC มาวางตรงกลางบ่อเพื่อเป็นช่องระบายอากาศ

จากนั้นใส่วัสดุที่ได้จัดเตรียมไว้ เช่น หิน อิฐ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ขวดน้ำ (ใส่น้ำ 2 ใน 3 ส่วน)ให้เต็มช่องว่างของยางรถยนต์

คลุมด้วยผ้าแยง แล้วทับด้วยก้อนหินเพื่อเป็นตัวกรองให้เศษดิน หรือขยะไม่ให้เข้าไปอุดตันในบ่อ เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลสู่ชั้นใต้ดินโดยตรงผ่านธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดที่ทำขึ้นมา

ประโยชน์ของการทำธนาคารน้ำใต้ดิน

1.แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง

2.แก้ปัญหาพื้นที่แห้งแล้ง

3.ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวดินทำให้ต้นไม้และพืชเขียวทั้งปี

5.ลดปริมาณน้ำเสียในชุมชน

6.แก้ปัญหาน้ำเค็ม โดยการส่งน้ำจากผิวดินลงไปกดทับน้ำเค็มที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าไม่ให้ขึ้นมาปนเปื้อนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร

 

 

อื่นๆ

เมนู