ดิฉัน นางสาวพิยดา กะรัมย์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ เป็นผู้รับจ้างงานของตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ MS01 (3) หลักสูตรการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน

การปฎิบัติงานในเดือนกรกฏาคม

เนื่องด้วยสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า หรือโรคโควิด-19 ได้กลับมาระบาดซ้ำ ทำให้หลายหน่วยงานเฝ้าระวังและทำงานแบบ  WORK FROM HOME  เพื่อลดการพบปะซึ่งกันและกัน ลดการกระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า

วันที่ 3 กรกฏาคม 2564 ทางทีมงาน MS01(3) ต.สูงเนิน ได้นัดลงสำรวจพื้นที่บ้านหนองม่วง ต.สูงเนิน อ.กระสัง เพื่อดำเนินงานในการขุดหลุมเตรียมทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องสำรวจพื้นที่ที่เป็นจุดของทางน้ำไหล เพื่อทำให้น้ำสามารถไหลลงธนาคารน้ำใต้ดินอย่างสม่ำเสมอ  การดำเนินงานในการขุดหลุมเตรียมทำธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) มีการแบ่งความรับผิดชอบในการติดตามการดำเนินงานในแต่ละหลุมที่ได้ทำการขุดหลุมแบ่งเป็นบัณฑิต ประชาชนและนักศึกษา ซึ่งทางกลุ่มได้ดำเนินการขุดหลุดให้ได้ตามกำหนด จำนวน 10 หลุมในเดือนนี้ค่ะ ในการดำเนินงานในครั้งนี้นั้นพบปัญหาอยู่ค่ะคือในการขุดหลุมเตรียมไว้เพื่อที่ทำธนาคารน้ำใต้ดินนั้น อยู่ในช่วงหน้าฝนซึ่งหลุมที่ขุดไว้เกิดมีน้ำท่วมขังบ้างในบางหลุมเนื่องจากมีฝนตกลงมา ทำให้ต้องมีการตักน้ำออก ซึ่งค่อนข้างเป็นอุปสรรคอยู่เล็กน้อยค่ะในการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งในการขุดหลุมเพื่อทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิดนั้นจะต้องเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

    1. หินใหญ่คละขนาด (หินลิปแลป) ขนาด 15-30 เซนติเมตร
    2. หินย่อยขนาดเล็ก (3/4)
    3. ผ้ามุ้ง หรือผ้าตาข่าย หรือจีโอเท็กซ์ไทล์
    4. ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว ความยาวประมาณ 2 เมตร
    5. ท่อพีวีซีสามทาง หรือท่อพีวีซีตัวแอล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว

สามารถใช้ล้อรถยนต์ ขวดพลาสติก ก้อนหินทุกประเภท กรวด ทราย อิฐบล๊อค อิฐแดง อิฐทุกประเภท เศษปูนที่เหลือจากการทุบอาคาร ถ่าน ท่อนไม้ กิ่งไม้ รากไม้ กลามะพร้าว วัสดุธรรมชาติอื่นๆที่เป็นของแข็ง

 

ขั้นตอนการทำแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้

  1. ขุดหลุมทรงกลม ขนาดแล้วของแต่ละพื้นที่ ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร (ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่
  2. ตั้งท่อ PVC (ท่ออากาศ) ตรงกลางบ่อ 90 องศา พร้อมนำวัสดุ เศษอิฐ หิน หรือเศษวัสดุที่ไม่ย่อยสลายขนาดพอเหมาะใส่ลงในบ่อ (เศษวัสดุต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.30 เมตร 
  3. นำผ้าตาข่ายมุ้งเขียว หรือผ้าสแลน ปูทับด้านวัสดุหยาบ (เป็นการกรองวัสดุที่ไหลมากับน้ำไม่ให้ลงไปในบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้หินเกล็ดหล่นในช่องว่างของวัสดุหยาบ)   
  4. นำหินขนาดเบอร์ 1 (3/4) โรยทับบนผ้ามุ้งหรือผ้าสแลนจนเสมอปากบ่อ หนา 10-20 เซนติเมตร (ป้องกันเศษใบไม้ ใบหญ้า ตะกอนดิน ไม่ให้ลงไปอุดตันวัสดุหยาบ)           

เท่านี้ก็จะได้ธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด)  ไว้เพื่อบริหารจัดการ แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง แก้ปัญหาภัยแล้ง เพิ่มระดับน้ำใต้ดินในบ่อน้ำตื้น เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวดิน ทำให้ต้นไม้เขียวขจีทั้งปี  ลดปริมาณน้ำเน่าเสียที่น้ำท่วมขังในที่ของพื้นที่นั้นได้ด้วยนะค่ะ

วิดิโอประจำเดือนกรกฏาคม 

อื่นๆ

เมนู