บทความ รายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนตุลาคม
ข้าพเจ้า นางสาวเขฌวดี ค้ำชู (ประเภทบัณฑิตจบใหม่) หลักสูตร การสร้างธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน(MS01) ประจำตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
3 ตุลาคม 2564 รศ.ดร.ปรีชา ปาโนรัมย์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ และทีมอาจารย์ประจำตำบลทุกท่าน เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ ผ่านระบบ Google Meet โดยการประชุมในครั้งนี้ ท่านคณบดีได้สอบถามถึงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการ การขยายพื้นที่การทำเนินโครงการไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งในครัวเรือน และในสวนเกษตรของประชาชน เพื่อให้ตอบสนองจากการใช้ประโยชน์ของการทำธนาคารน้ำใต้ดิน อีกทั้งท่านคณบดียังได้สอบถามถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน และได้ให้กำลังใจทีมงานทุกท่านที่ปฏิบัติงานในโครงการ
หลังจากการประชุมเสร็จสิ้น ทางทีมงานได้มีการวางแผนและติดต่อไปยังบ้านสำโรง หมู่ที่ 13 ต.กระสัง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ เพื่อประสานงานคัดเลือกครัวเรือนในการทำธนาคารน้ำใต้ดิน หลังจากได้ครัวเรือนที่ต้องการแล้ว ทางทีมงานได้จัดเตรียมอุปกรณ์ และวางแผนในการลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงาน เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 (Covid-19) ทางทีมงานและชุมชนได้ดูแลและป้องกันอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่และทีมงาน โดยการสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการปฏิบัติงาน การเว้นระยะห่าง และการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
ธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิด มีข้อดีคือสามารถทำให้น้ำไหลลงบ่อใต้ดินได้รวดเร็วมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน และสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยในช่วงฤดูฝนนั้น ความสามารถของธนาคารน้ำคือสามารถรีชาร์จน้ำลงบ่อได้รวดเร็ว ลดการท่วมขังในพื้นที่ ส่วนหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่กักเก็บไว้มาใช้ได้อีกทั้งการทำธนาคารยังช่วยทำให้ดินชุ่มน้ำและอุ้มน้ำมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ดินบริเวณที่ทำธนาคารเกิดตาน้ำ(ทางน้ำเล็กๆ ที่อยู่ใต้ดิน มีน้ำไหลตลอดไม่ขาดสาย)
อุปกรณ์ในการทำธนาคารน้ำใต้ดิน
- ยางรถยนต์เก่า
- ขวดน้ำพลาสติก หรือขวดแก้ว
- ท่อ PVC ขนาด 2 เมตร
- หิน อิฐ
- ผ้าแยง หรือผ้าสแลน หรือผ้ามุ้งเขียว
ขั้นตอนการทำแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
- สำรวจจุดรวมน้ำหรือจุดที่พบน้ำท่วมขัง โดยขุดบ่อ ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร (ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่)
- ตั้งท่อ PVC (ท่ออากาศ) ตรงกลางบ่อ พร้อมนำวัสดุ เศษอิฐ หิน ขวดน้ำ หรือเศษวัสดุที่ไม่ย่อยสลายขนาดพอเหมาะใส่ลงในบ่อ (เศษวัสดุต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.30 เมตร
- นำผ้าตาข่ายมุ้งเขียวปูทับด้านวัสดุหยาบ (เป็นการกรองวัสดุที่ไหลมากับน้ำไม่ให้ลงไปในบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้หินเกล็ดหล่นในช่องว่างของวัสดุหยาบ)
- นำหินขนาดเล็กโรยทับบนผ้ามุ้งหรือผ้าแยงจนเสมอปากบ่อ หนา 10-20 เซนติเมตร (ป้องกันเศษใบไม้ ใบหญ้า ตะกอนดิน ไม่ให้ลงไปอุดตันวัสดุหยาบ