ธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด)

ที่มาโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด)

               เดิมทีโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) เกิดจากแนวคิดของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นที่ต้องการจะกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง จากเดิมหวัดชัยนาทเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ทำให้ชาวบ้านประสบปัญหาไม่มีน้ำกินน้ำใช้ ดังนั้นหน่วยงานท้องถิ่นจึงมีแนวคิดที่จะทำธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) เพื่อกักเก็บน้ำ โดยมีสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เข้าไปสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว พร้อมทั้งมีโครงการที่จะทำธนาคารน้ำจำนวน 155 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 3-4 หมู่บ้านในตำบลอีกด้วย

               ทั้งนี้ธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) เป็นการทำธนาคารน้ำใต้ดินโดยระบบบ่อปิด มีวิธีการทำโดยการขุดหลุมเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือวงกลม กว้าง 30 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร ลึก 1.20-1.50 เมตร ใช้ก้อนหินและชั้นทรายวางจนเต็มก้นหลุมเพื่อให้ได้น้ำที่ใสสะอาด แตกต่างจากการใช้ขวดหรือยางรถยนต์เป็นตัวกรองในชุมชนอื่น ซึ่งการขุดไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก ไม่ต้องเปิดหน้าดินเป็นวงกว้าง และจะไม่มีผลกระทบต่อชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม การทำธนาคารน้ำนี้จำเป็นจะต้องมีการศึกษาด้านธรณีวิทยาและด้านภูมิศาสตร์เพื่อหาจุดลุ่มต่ำหรือจุดที่เป็นทางน้ำไหล เพื่อทำให้น้ำสามารถไหลลงธนาคารน้ำใต้ดินได้ ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นการอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกไปในตัวด้วย

               โดยรูปแบบการทำธนาคารน้ำแบบปิดมีข้อดีคือสามารถทำให้น้ำไหลลงบ่อใต้ดินได้รวดเร็วมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน และสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยในช่วงฤดูฝนนั้น ความสามารถของธนาคารน้ำคือสามารถรีชาร์จน้ำลงบ่อได้รวดเร็ว ลดการท่วมขังในพื้นที่ ส่วนหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่กักเก็บไว้มาใช้ได้ อีกทั้งการทำธนาคารยังช่วยทำให้ดินชุ่มน้ำและอุ้มน้ำมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ดินบริเวณที่ทำธนาคารเกิดตาน้ำ (ทางน้ำเล็กๆ ที่อยู่ใต้ดิน มีน้ำไหลตลอดไม่ขาดสาย) และหลังจากนั้นประชาชนก็จะสามารถขุดน้ำบาดาลและน้ำประปาขึ้นมาใช้ได้โดยไม่ต้องซื้อน้ำเหมือนที่ผ่านมา

ส่วนขั้นตอนการทำแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้

  1. สำรวจจุดรวมน้ำหรือจุดที่พบน้ำท่วมขัง โดยขุดบ่อให้ทะลุชั้นดินเหนียว ขนาดแล้วแต่ธรณีวิทยาของแต่ละพื้นที่ ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร (ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่) 
  2. ตั้งท่อ PVC (ท่ออากาศ) ตรงกลางบ่อ 90 องศา พร้อมนำวัสดุ เศษอิฐ หิน หรือเศษวัสดุที่ไม่ย่อยสลายขนาดพอเหมาะใส่ลงในบ่อ (เศษวัสดุต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.30 เมตร 
  3. นำผ้าตาข่ายมุ้งเขียว หรือผ้าสแลน ปูทับด้านวัสดุหยาบ (เป็นการกรองวัสดุที่ไหลมากับน้ำไม่ให้ลงไปในบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้หินเกล็ดหล่นในช่องว่างของวัสดุหยาบ)
  4. นำหินขนาดเบอร์ 1 (3/4) โรยทับบนผ้ามุ้งหรือผ้าสแลนจนเสมอปากบ่อ หนา 10-20 เซนติเมตร (ป้องกันเศษใบไม้ ใบหญ้า ตะกอนดิน ไม่ให้ลงไปอุดตันวัสดุหยาบ)

อุปกรณ์ที่ใช้และขั้นตอนการทำ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) มีดังนี้

  1.  หินใหญ่คละขนาด (หินลิปแลป) ขนาด 15-30 เซนติเมตร
  2. หินย่อยขนาดเล็ก (3/4)
  3. ผ้ามุ้ง หรือผ้าตาข่าย หรือจีโอเท็กซ์ไทล์
  4. ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว ความยาวประมาณ 2 เมตร
  5. ท่อพีวีซีสามทาง หรือท่อพีวีซีตัวแอล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว

เดือนสิงหาคม

ทางทีมงานผู้ปฏิบัติงาน ต.บ้านปรือ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ ได้วางแผนและติดต่อประสานงานกับทางผู้นำชุมชน บ้านปทุมเมฆ ต.บ้านปรือ อ. กระสัง จ. บุรีรัมย์ เพื่อลงพื้นที่ดำเนินงานขุดหลุมทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด เเละได้ดำเดินการทำธนาคารใต้ดินในหมู่บ้านปทุมเมฆได้ตามเป้าหมาย เเละวางเเผนประสานงานเตรียมการลงพื้นที่ทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดในหมู่บ้านระกา อ. กระสัง จ. บุรีรัมย์ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายต่อไป

 

 

วิดีโอแสดงกิจกรรมของตำบลบ้านปรือ ในโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน ประจำเดือนกันยายน

อื่นๆ

เมนู