1. หน้าแรก
  2. คณะวิทยาการจัดการ
  3. MS01(3) - ตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง
  4. Ms01(3) การสร้างธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน ตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม 2564

Ms01(3) การสร้างธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน ตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนสิงหาคม 2564

ดิฉัน นางสาวศุภลักษณ์  ซอมรัมย์ ประเภท ประชาชน  เป็นผู้รับจ้างงานของตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน MS01(3)

การปฏิบัติงานในเดือนสิงหาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19ระบาดอย่างต่อเนื่อง ดิฉันและทางทีมงาน ตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้นัดแนะให้มีการประชุมผ่าน Goog Meet ในวันที่ 14 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อลดการกระจายของเชื้อโรคและป้องกันตัวเราเอง จึงได้ปรึกษากันว่าให้คนในพื้นที่ได้ลงพื้นที่บ้านหนองม่วง หมู่ 10 เพื่อทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดิน โดยได้มีการลงมือปฏิบัติงานขุดหลุมให้แล้วเสร็จจำนวนทั้งหมด 10 หลุม เพื่อที่จะให้โครงการได้ลุล่วงสำเร็จตามวันและเวลาที่กำหนด

ต่อมาวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ได้นัดแนะทีมงานในพื้นที่เพื่อที่จะลงพื้นที่ตามบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินที่จะลงพื้นที่ดำเนินการปฏิบัติในวันข้างหน้า

การปฎิบัติงานโครงการธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด มีขั้นตอนดังนี้

  1. สำรวจจุดรวมน้ำหรือจุดที่พบน้ำท่วมขัง โดยขุดบ่อให้ทะลุชั้นดินเหนียว ขนาดแล้วแต่ธรณีวิทยาของแต่ละพื้นที่ ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร (ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่)
  2. ตั้งท่อ PVC (ท่ออากาศ) ตรงกลางบ่อ 90 องศา พร้อมนำวัสดุ เศษอิฐ หิน หรือเศษวัสดุที่ไม่ย่อยสลายขนาดพอเหมาะใส่ลงในบ่อ (เศษวัสดุต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.30 เมตร
  3. นำผ้าตาข่ายมุ้งเขียว หรือผ้าสแลน ปูทับด้านวัสดุหยาบ (เป็นการกรองวัสดุที่ไหลมากับน้ำไม่ให้ลงไปในบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้หินเกล็ดหล่นในช่องว่างของวัสดุหยาบ)
  4. นำหินขนาดเบอร์ 1 (3/4) โรยทับบนผ้ามุ้งหรือผ้าสแลนจนเสมอปากบ่อ หนา 10-20 เซนติเมตร (ป้องกันเศษใบไม้ ใบหญ้า ตะกอนดิน ไม่ให้ลงไปอุดตันวัสดุหยาบ)

เท่านี้ก็จะได้ธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร สามารถเติมน้ำลงชั้นใต้ดินได้ไม่น้อยกว่า 6 ลูกบาศก์เมตร  พร้อมการเดินทางของน้ำใต้ดินมีลักษณะกระจายออกเป็นรัศมีวงกลมตามแรงเหวี่ยงของโลกหรือตามเส้นทางเดินใต้ดิน เดินตามร่องระบายอากาศของรากต้นไม้ โดยเฉพาะหญ้าแฝกและรากต้นไม้จะสามารถสร้างทางน้ำใต้ดินได้เป็นอย่างดี

ในการนี้ข้าพเจ้าจะนำข้อมูล ดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติและเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการในลำดับต่อไป

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู