ดิฉัน นางสาวพิยดา กะรัมย์ ประเภท บัณฑิตจบใหม่ เป็นผู้รับจ้างงานของตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ MS01 (3) หลักสูตรการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน
การปฎิบัติงานในเดือนมิถุนายน
เมื่อพูดถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้อุบัติขึ้นและระบาดไปทั่วโลก แม้สถานการณ์ในบางประเทศจะดีขึ้น และมาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อในภาพรวมทั่วโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ประเทศไทยของเราเองยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และก็กว้างขึ้นเรื่อยๆทั้งยังมีคนเสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้น อีกหนึ่งวิธีในการป้องกันไวรัส คือ การได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อป้องกันการติดต่อของโรคติดต่อร้ายแรง วัคซีนอาจผลิตจากเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรียที่อ่อนตัวแล้ว หรือส่วนประกอบของเชื้อ แล้วนำมาฉีดเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคนั้นๆ ปัจจุบัน ประเทศไทย มีวัคซีน 2 ชนิด คือ ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า โดยรัฐบาลนำเข้ามาเป็นวัคซีนที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุขว่าปลอดภัย
ทำไมเราจึงควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สามารถลดความรุนแรงของอาการป่วยและลดการเสียชีวิตได้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ถือเป็นภาวะฉุกเฉินของโลก จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกกว่าร้อยล้านคน มีผู้เสียชีวิตมากกว่าสองล้านคน
ใครควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป้าหมายของการให้วัคซีนคือ เพื่อลดการป่วยรุนแรง การเสียชีวิตจากโรคและการสร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชากร เนื่องจากปริมาณของวัคซีนมีจำกัด กลุ่มเป้าหมายในระยะแรก คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสสัมผัสโรคสูง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายในระยะถัดไปเมื่อมีปริมาณวัคซีนมากขึ้น คือ ประชาชนทั่วไป
วันที่ 25 พ.ค 2564 ซึ่งทางดิฉันและทีมงาน MS01(3) ของตำบลสูงเนิน ได้ไปลงพื้นที่เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา 19 กิจกรรมรุก คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย สร้างความปลอดภัยให้ชุมชน ให้กับชาวบ้านบ้านหนองม่วง ตำบลสูงเนิน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ชาวบ้านทุกคนน่ารักและให้ความร่วมมือดีมากค่ะ
วันที่ 27 พ.ค 2564 ทางทีมงานตำบลสูงเนินได้ลงพื้นที่ดูแบบอย่างครัวเรือนที่ได้สร้างธนาคารน้ำใต้ดินแล้ว ว่าเกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างไร และไปสำรวจความต้องการของชาวบ้านในตำบลสูงเนินที่ต้องการทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในชุมชน เพื่อให้น้ำไหลมารวมกันสามารถกักเก็บน้ำไว้ให้ต้นพืชได้เพื่อให้พืชมีการดูดซึมน้ำได้ แก้ปัญหาความแห้งแล้ง
วันที่ 12 มิ.ย 2564 ได้เข้าร่วมประชุมโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ปาโนรัมย์ คณะบดีคณะวิทยาการจัดการ ณ ห้องสหวิทยาการจัดการ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เพื่อทำความเข้าใจและอาจารย์ผู้ควบคุมชี้แจงการดำเนินงานเป็นขั้นเป็นตอนเกี่ยวกับธนาคารน้ำใต้ดิน ประชุมทีมงานเพื่อคัดเลือกครัวเรือนที่จัดทำธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อเตรียมพื้นที่ที่จะลงไปดำเนินการในเดือนถัดไป และอบรมทักษะการทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิด
วันที่ 14 มิ.ย 2564 ดิฉันและทีมงานได้ลงพื้นที่บ้านหนองม่วง ต.สูงเนิน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ เพื่อประสานงานและทำการเตรียมพื้นที่ ขุดหลุมจำนวน 10 หลุมตามที่กำหนดและหาอุปกรณ์ที่หามาได้ท้องถิ่นในการทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิด เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน
วิดิโอประจำเดือนมิถุนายน