1. หน้าแรก
  2. คณะวิทยาการจัดการ
  3. MS02 - ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง
  4. MS02:อบรมเชิงปฏิบัติการ ค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนตำบลลำดวนพร้อมการออกแบบลวดลาย ไอเดียในการแปรรูปผ้า ตำบลลำดวน

MS02:อบรมเชิงปฏิบัติการ ค้นหาอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอชุมชนตำบลลำดวนพร้อมการออกแบบลวดลาย ไอเดียในการแปรรูปผ้า ตำบลลำดวน

 ข้าพเจ้า นาย สุขสันต์ นิรัยรัมย์ ประเภท ประชาชน  ผู้ปฏิบัติงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ  1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์    

งานประจำเดือนพฤษภาคม  ในวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวนทางคณะอาจารย์ที่ปรึกษาและทีมผู้ปฏิบัติงาน ที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน และได้รับเกียรติจาก นายประสาน  บรรจถรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน เวลา 09.00 น.    

การจัดอบรมในครั้งนี้ทางคณะอาจารย์ได้เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความรู้เรื่องผ้าไหม  2 ท่าน คือ อาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ และ คุณสุริสา มุ่งดี และได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านกลุ่มทอผ้าทั้ง 7 กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มแกะลาย หมู่1 กลุ่มทอผ้าบ้านบุ หม่11 กลุ่มทอผ้าและกลุ่มสตรีบ้านลำดวน หมู่16 กลุ่มทอผ้าบ้านศรีสนวน หมู่18 กลุ่มทอผ้าบ้ากระเจา หมู่7 กลุ่มทอผ้าบ้านไทรทอง หมู่17 และกลุ่มทอผ้าบ้านยาง หมู่4 จำนวน 30 คน วิทยากรอบรมเกี่ยวกับด้านการออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่และการแปรรูปผ้าไหม ให้มีความทันสมัยแลละตรงต่อความต้องการของคนปัจจุบัน อาทิเช่น การนำผ้าไหมมาแปรรูปเป็นกระเป๋า ต่างหู ผ้าพันคอ หมวก ฯลฯ ทำให้ชาวบ้านต่างให้ความสนใจในการประชุมเป็นอย่างมาก วิทยากรจึงให้ชาวบ้านเสนออัตลักษณ์ของตำบลลำดวน คือ  “ดอกลำดวน”   เอกลักษณ์สำคัญของดอกลำดวนคือมีกลีบดอก 3 กลีบ ซึ่งชาวบ้านก็ต่างนำความรู้พื้นฐานที่ใช้ในการมัดลายมัดหมี่ แต่จะต่างจากที่เคยทำเพราะใช้กระดาษในเป็นช่องเล็กๆแทนจำนวนลำในการมัดออกแบบลวดลาย ทำให้ได้ลวดลายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มแต่ละกลุ่ม มีความงดงามแตกต่างกันออกไปตามความชอบของแต่ละคน ซึ่งการอบรมในครั้งนี้ชาวบ้านคาดหวังถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีความก้าวหน้าต่อการต่อยอด ในภายภาคหน้าลูกหลานจะได้มีภูมิปัญญาไทยสืบทอดเป็นอาชีพและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

              

การลงพื้นที่ในเดือนพฤษภาคม  จากการลงพื้นที่สำรวจสัตว์ที่มีในตำบลลำดวน ซึ่งชาวบ้านจะเลี้ยงวัว,ควาย,หมู,เป็ด,ไก่ เป็นส่วนใหญ่  การปฏิบัติงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากทางผู้ใหญ่บ้านผู้นำชุมชนและชาวบ้านเป็นอย่างดี  ทำให้การทำงานในครั้งต่อๆไปง่ายต่อการสำรวจ และเป็นประโยชน์แก่ชุมชน

 

อื่นๆ

เมนู