1. หน้าแรก
  2. คณะวิทยาการจัดการ
  3. MS02 - ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง
  4. MS02 – ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

MS02 – ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์

 

สวัสดีค่ะ ดิฉัน ….. นางสาวปานตะวัน  พ่อค้า  (ประเภทบัณฑิตจบใหม่) …..

ได้ลงปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

การปฏิบัติงานลงพื้นที่  ประจำเดือน กุมภาพันธ์

เมื่อวันที่ 31 มกราคม  2564

ดิฉัน ….. นางสาวปานตะวัน  พ่อค้า  (ประเภทบัณฑิตจบใหม่)  และคณะ เวลา 13.00 น. ณ ตึก 24 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ได้เข้าร่วมปรึกษาการทำงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล   1 มหาวิทยาลัย  ได้รับมอบหมายลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม (01) ข้อมูลครัวเรือนและชุมชน และแบบสอบถาม (02) เกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 แบ่งเป็นกลุ่มรวมทั้งหมด 5 กลุ่มดิฉันได้รับหมอบหมายให้ลงพื้นที่ ได้แก่ หมู่ 4 บ้านยาง,หมู่ 10 บ้านหินโคน,หมู่ 17 บ้านไทรทอง ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีอาจารย์ผู้ควบคุม ได้แก่ อาจารย์ปิติวรรณ  ฝ้ายโคกสูง,  อาจารย์วณิชา แผลงรักษา,อาจารย์ปัทมาวดี  วงศ์เกิดและดร.วิษณุ  ปัญญายงค์

 

         

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564
นำหนังสือขอเข้าพื้นที่ชุมชน และหนังสือเชิญประชุม เกี่ยวกับโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มอบให้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน​,กำนัน​,ผู้นำชุมชน​,ผู้ช่วย​,เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ​ ทุกส่วนในตำบลลำดวน  กลุ่มดิฉันได้รับมอบหมายให้ส่งหนังสือแก่ ผู้นำชุมชน  หมู่ 4 บ้านยาง,หมู่ 10 บ้านหินโคน,หมู่ 17 บ้านไทรทอง  ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

 

                 

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564
เปิดเวที …..โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)  ที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน​ อำเภอกระสัง​ จังหวัดบุรีรัมย์​ ได้รับเกียรติจากนายประสาน บรรจถรณ์  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน​  ผู้นำชุมชน​ทั้ง 18 มู่บ้าน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ​ ทุกส่วนในตำบลลำดวน โดยมีอาจารย์ผู้ควบคุมงาน 4 ท่าน มีจำนวนผู้ปฎิบัติงานในทีม  20 คน ได้แก่ บัณฑิตจบใหม่ 8 คน  กพร. 2 คน  ประชาชน 5 คน นักศึกษา 5 คน ที่ได้เข้าร่วมวางแผนหาจุดเด่น/จุดด้อย สภาพปัญหา  บริบทชุมชน  อุปสรรคและโอกาสในการพัฒนา​ผลิตภัณฑ์​จากภูมิปัญญา  ความต้องการของชุมชน  ได้รับความร่วมมือจากผู้นำชุมชนเป็นอย่างดี
ดิฉันและทีมงานจึง ได้เริ่มลงพื้นปฏิบัติงานเก็บแบบสอบถาม ครั้งแรกในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 – 16.30 น. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสอบถามในชุมชนที่ได้รับมอบหมาย โดยได้พูดคุยกับ  นายวุฒิพงศ์  ทะเรรัมย์  ผู้ใหญ่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และชาวบ้านในชุมชน  ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา  เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย รองลงมาทำสวน ทำไร่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้า ทำนาแปลงใหญ่ และผลิตปุ๋ย  ยานพาหนะส่วนใหญ่จะเป็นรถจักรยานต์ ในส่วนของรถยนต์ รถไถ  รถเกี่ยวข้าวจะมีส่วนน้อย  นอกจากนั้นยังได้พูดคุยถึงปัญหาของคนในชุมชน ความยากจนและการขาดแคลนน้ำประปาในการอุปโภคและขาดแคลนน้ำทำนาในแต่ละปี เป็นปัญหาที่ยังรอหลายๆ ภาคส่วนเข้ามาช่วยเหลือ รวมทั้งได้สอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด -19  จากการสอบถามรายละเอียดตามแบบสอบถามที่แนบมานี้เป็นแบบฟอร์ม (01)(02) ที่ทางส่วนกลางให้มา แต่ละหลังคาเรือน ชาวบ้านให้ข้อมูลเป็นอย่างดี ในการนี้ดิฉันจะนำข้อมูลดังกล่าวส่งต่อส่วนกลาง เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงสถิติ และเขียนเรียบเรียงในเชิงวิชาการต่อไปค่ะ  

 

ภาพประกอบระหว่างการทำงาน

 

                

                

               

           

 

บทสรุป ………………….

 

อื่นๆ

เมนู