ลงพื้นที่เก็บข้อมูลแบบสำรวจบริบทชุมชนแบบฟอร์ม 01,02 เพิ่มเติม และเก็บข้อมูล 16 เป้าหมายมาวิเคราะห์ข้อมูลและศักยภาพพื้นฐาน ของหมู่ 4 บ้านยาง ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ (ประจำเดือนมีนาคม 2564)
พื้นที่รับผิดชอบ บ้านยาง หมู่ 4 ตำบลลำดวน
ดิฉัน นางสาวปานตะวัน พ่อค้า ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ MS02 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนและการกระจายรายได้ในตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลด้านการสำรวจบริบทชุมชน แบบฟอร์ม 01 แบบสอบถามข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน (เพิ่มเติม) และแบบฟอร์ม 02 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (เพิ่มเติม) ในชุมชนที่ได้รับมอบหมาย คือ บ้านยาง หมู่ 4 ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ และได้ประสานงานกับผู้นำชุมชนเพื่อที่จะลงพื้นที่เก็บแบบสอบถามในชุมชนนั้น พบว่า ประชากรในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา เป็นอาชีพหลัก เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่จะพบปัญหาความยากจน รายได้ไม่เพียงพอ และการว่างงานหลังจากการทำการเกษตร แต่ส่วนมากผู้คนจะว่างงาน ส่วนมากในหมู่บ้านนั่นส่วนใหญ่จะมีแต่ผู้สูงอายุ และผลจากวิกฤตโรคโควิด 19 ทำให้คนในชุมชนขาดรายได้จากการรับจ้าง ตกงานไม่สามารถออกไปทำงาน
ดิฉันบัณฑิตจบใหม่ ได้ไปลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลแบบสอบถาม แบบฟอร์ม 06 ข้อมูลในแบบสำรวจอ้างอิงตามแนวทางปฏิบัติของ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แบบสำรวจชุดที่ 1 สำรวจข้อมูลร้อยละ 20 ของจำนวนครัวเรือนในตำบล , แบบสำรวจชุดที่ 2 ถึง 4 สำรวจข้อมูลในพื้นที่ทั้งหมด , แบบสำรวจชุดที่ 4 สำรวจ (หรือขอข้อมูล) จากสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ และแบบฟอร์ม 05 การสำรวจศักยภาพตำบล 16 เป้าหมาย เพื่อรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด เก็บข้อมูลให้ได้เยอะที่สุดเพื่อทราบถึงปัญหาต่างๆ ในชุมชน ในครัวเรือน และความต้องการของคนในชุมชน
มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง คือ คุณวุฒิพงศ์ ทะเรรัมย์ มีผลงานเด่น ได้แก่ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาร้า (ในนามตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน)
ครัวเรือนที่ทำการเกษตรแนวทางทฤษฏีใหม่/ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตเพื่อบริโภคเหลือจึงจำหน่าย คือ ครอบครัวของ คุณรจนา จำรัมย์ มีแนวทางในการบริหารจัดการเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้ คือ ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว เลี้ยงปลา
วัฒนธรรมความเชื่อ คือ ศาลหลักเมือง และศาลเจ้าปู่หนองจรรโลง เป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้าน
คณะอาจารย์ได้มีการนัดหมายทีมผู้ปฏิบัติงานประชุม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตึก 24 คณะวิทยาการจัดการ ในวันที่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 10:00 น. เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับการวางแผน จากการลงพื้นเก็บแบบสอบถามในกลุ่มได้ปฏิบัติงาน และอาจารย์ได้นำและข้อมูลของของหมู่ 4 บ้านยาง ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ได้จากการลงพื้นที่มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล หาศักยภาพของแนวทางในการพัฒนา S – W – O – T Strengths (จุดแข็ง), Weaknesses (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส), Threats (อุปสรรค)
จุดเด่น
- พื้นที่ป่าชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ คือ หนองแพงพวย
- แหล่งธรรมชาติที่น่าสนใจ คือ แหล่งน้ำลำชีน้อย มาจาก ต้นน้ำมาจากพนมดงรักสิ้นสุดปลายน้ำที่ ตำบลกระโพธิ์ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
- แหล่งน้ำบริโภค มาจาก หนองจรรโลง ความจุปริมาตร 131,209.2 ลบ.ม. ลักษณะที่ตั้งของแหล่งน้ำ อยู่บริเวณที่ลุ่มต่ำ สีน้ำใสมีตะกอนเล็กน้อย มีน้ำใช้ตลอดปี ใช้เป็นประปาหมู่บ้าน
- กลุ่มที่มีการบริหารจัดการที่เข็มแข็ง คือ โรงน้ำดื่มประชารัฐบ้านยาง
จุดด้อย
- เยาวชนเกิดการว่างงาน
- รายได้ของครัวเรือนไม่พอใช้
- เด็กนักเรียนออกเรียนกลางคัน (ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ)
- เด็กในชุมชนติดยาเสพติด
- ปัญหาความยากจนของแต่ละครัวเรือน
โอกาส
- ทำน้ำปลาร้าและน้ำพริกปลาร้าทรงเครื่อง
- โครงการโคกหนองนาโมเดล (ของนางรจนา จำรัมย์)
ปัญหา/อุปสรรค
- ขาดความสามัคคีในชุมชน
- ขาดแหล่งเงินทุนการสร้างผลิตภัณฑ์
- การรวมกลุ่มที่ไม่ยั่งยืน (ในการต่อยอด)
- ต้นทุนในการผลิตสูง
- สภาพของภูมิอากาศ
การวางแผนการปฏิบัติงานครั้งต่อไป
ลงพื้นที่เพื่อพัฒนาแต่ละหมู่บ้านที่มีจุดเด่นและสำคัญ โดยพัฒนาตามจุดเด่นที่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูล และศักยภาพพื้นฐานในแต่ละหมู่บ้าน
ซึ่ง ในวันที่ 29 มีนาคม 2564 นี้ จะลงไปในหมู่ที่ 8 บ้านประดู่ เพื่ออบรมเกี่ยวกับธนาคารน้ำใต้ดิน ร่วมกับหน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์