การปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ประจำเดือน เมษายน ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วันที่ 29 มีนาคม 2564 ได้ร่วมมือกับทาง องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน ทำธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด
ธนาคารน้ำใต้ดิน คือ การนำน้ำไปเก็บที่ชั้นใต้ดินในชั้นหินอุ้มน้ำ เหมือนกับเวลาที่ได้โบนัสแล้วคุณฝากเงินไว้กับธนาคาร วันไหนที่เดือดร้อนเรื่องเงิน คุณก็สามารถนำเงินที่เก็บออมไว้มาใช้ได้ ซึ่งธนาคารน้ำใต้ดินก็เหมือนกัน ช่วงหน้าฝนที่มีน้ำมาก ธนาคารน้ำใต้ดินจะช่วยดูดซับน้ำเพื่อนำไปกักเก็บไว้ที่ชั้นหินอุ้มน้ำ เมื่อถึงช่วงหน้าแล้ง คุณก็สามารถสูบน้ำมาใช้ได้
หลักการของธนาคารน้ำใต้ดิน บรรยายหลักการธนาคารน้ำใต้ดินว่า มี 2 รูปแบบ คือ
- ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด สำหรับใช้แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภค บริโภค และภาคอุตสาหกรรมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
- ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ใช้แก้ไขปัญหาการระบายน้ำ น้ำเน่าเสีย ทั้งในครัวเรือนและพื้นที่การเกษตร
ได้ร่วมมือกับทาง องค์การบริหารส่วนตำบลลำดวน ทำธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบปิด
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธนาคารน้ำใต้ดิน (ระบบปิด) มีดังนี้
- หินใหญ่คละขนาด (หินลิปแลป) ขนาด 15-30 เซนติเมตร
- หินย่อยขนาดเล็ก (3/4)
- ผ้ามุ้ง หรือผ้าตาข่าย หรือจีโอเท็กซ์ไทล์
- ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว ความยาวประมาณ 2 เมตร
- ท่อพีวีซีสามทาง หรือท่อพีวีซีตัวแอล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 นิ้ว หรือ 3 นิ้ว
ส่วนขั้นตอนการทำแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
- สำรวจจุดรวมน้ำหรือจุดที่พบน้ำท่วมขัง โดยขุดบ่อให้ทะลุชั้นดินเหนียว ขนาดแล้วแต่ธรณีวิทยาของแต่ละพื้นที่ ขนาดกว้าง 1.5 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 1.5 เมตร (ตามความเหมาะสมแต่ละพื้นที่)
- ตั้งท่อ PVC (ท่ออากาศ) ตรงกลางบ่อ 90 องศา พร้อมนำวัสดุ เศษอิฐ หิน หรือเศษวัสดุที่ไม่ย่อยสลายขนาดพอเหมาะใส่ลงในบ่อ (เศษวัสดุต้องไม่ปนเปื้อนสารเคมี) สูงประมาณ 1.30 เมตร
- นำผ้าตาข่ายมุ้งเขียว หรือผ้าสแลน ปูทับด้านวัสดุหยาบ (เป็นการกรองวัสดุที่ไหลมากับน้ำไม่ให้ลงไปในบ่อธนาคารน้ำใต้ดิน และป้องกันไม่ให้หินเกล็ดหล่นในช่องว่างของวัสดุหยาบ)
- นำหินขนาดเบอร์ 1 (3/4) โรยทับบนผ้ามุ้งหรือผ้าสแลนจนเสมอปากบ่อ หนา 10-20 เซนติเมตร (ป้องกันเศษใบไม้ ใบหญ้า ตะกอนดิน ไม่ให้ลงไปอุดตันวัสดุหยาบ)
จากการสร้างธนาคารน้ำใต้ดินต้นแบบจำนวน 10 หลังคาเรือน เห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องการจัดการปัญหาเรื่องน้ำทิ้ง น้ำเน่าเสียน้ำทิ้งในครัวเรือนเกิดกลิ่นเน่าเหม็น อีกทั้งขาดการบริหารจัดการที่ถูกต้องก่อให้เกิดการรบกวนเพื่อนบ้าน ทางองค์การบริหารส่วนตำบลลำดวนจึงได้เล็งเห็นปัญหาและได้นำเอาธนาคารน้ำใต้ดินมาใช้ในการแก้ไขปัญหานี้ ทั้งนี้ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ภาพวีดีโอกิจกรมมต่างๆ
https://www.youtube.com/watch?v=iBS_APkrNe4