การปฏิบัติงานลงพื้นที่ดำเนินโครงการฯ ประจำเดือน กันยายน ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ดำเนินการดังนี้
- ได้ร่วม กิจกรรม U2T Matching Day ในวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ทีมที่เข้ารอบระดับประเทศ 40 ทีม U2T ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายกับ 20 หน่วยงาน ภายใต้กระทรวง อว. จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ ทีมผการันดูล ได้จับคู่กับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
- ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล ซึ่งข้าพเจ้าได้อยู่ในทีมสำรวจเก็บข้อมูลประเพณีและความเชื่อ ของคนไทยเชื้อสายเขมร ในพื้นที่ตำบลลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
ซึ่งเป็นชุมชนเชื้อสายเขมรขนาดใหญ่ที่ยังคงอนุรักษ์และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับความเมตตาให้ข้อมูลจากพระวัดยาง และปราชญ์ชุมชน โดยข้อมูลที่ได้จากการสอบถามเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประเพณีทั้ง 12 เดือน ของคนเชื้อสายเขมร ซึ่งจะคล้ายคลึงกับประเพณีฮิต 12 ของคนเชื้อสายลาว และประเพณี 12 เดือนของคนไทยภาคกลาง แต่ลักษณะทางภูมิศาสตร์และบริบทของสังคมที่มีความแตกต่างกันจึงมีรูปแบบจัดจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันไป โดยประเพณีทั้ง 12 เดือนของคนเชื้อสายเขมรในพื้นที่ตำบลลำดวน มีดัง
- เดือน 1 ธันวาคม หรือ แคเมียก : เล่นแม่มด, เล่นบังบ็อด เป็นการละเล่นที่เกี่ยวกับความเชื่อความในเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บและขับไล่สิ่งชั่วร้ายทั้งไม่สามารภมองเห็นได้
- เดือน 2 มกราคม หรือ แคบเบาะ : เล่นแม่มด, เล่นบังบ็อด เป็นการละเล่นที่เกี่ยวกับความเชื่อความในเรื่องการรักษาโรคภัยไข้เจ็บและขับไล่สิ่งชั่วร้ายทั้งไม่สามารภมองเห็นได้
- เดือน 3 กุมภาพันธ์ หรือ แคเมียกทม : แซนเนียะตา เป็นเซ่นไหว้บูชาหลักบ้านหรือสิ่งที่เคารพนับถืบประจำหมู่บ้าน
- เดือน 4 มีนาคม หรือ แคประกุน : นิยมแต่งงาน
- เดือน 5 เมษายน หรือ แคแจด : เล่นตรุษ วันขึ้นปีใหม่ ถือว่าในช่วงแคแจถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของคนไทยเชื้อสารเขมร ซึ่งในแต่ละปีจะไม่ตรงกันโดยจะมีการเรือมตรด เพื่อที่จะนำเงินไปถวายเป็นปัจจัยในการพัฒนาศาสนาสถาน และมีการขนทรายเข้าวัดแล้วนำมาก่อเป็นเจดีทราย ทั้งยังมีการสรงน้ำพระ(ซรองตึกเปรียะ)และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่
- เดือน 6 พฤษภาคม หรือ แคปิสาข : แซนเนียะตา(นิยมบวชลูกหลาน)
- เดือน 7 มิถุนายน หรือ แคเจส : ฤดูไถว่าน ปลูกข้าว
- เดือน 8 กรกฎาคม หรือ แคอาสาท : เข้าพรรษา ทำบุญ
- เดือน 9 สิงหาคม หรือ แคสราบ : ฤดูกาลทำนา
- เดือน 10 กันยายน หรือ แคพอระบ็อท : บุญเดือน 10 ระเดาว์เบ็นทม(ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย) ถือเป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวที ต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว มีนำเครื่องไหว้ต่างๆ นำมาแซนโฎนตา เพื่อให้บรรพบุรุษได้รับประทาน ทั้งยังเป็นนัยที่ทำให้ลูกหลานที่ไปทำงานอยู่ที่ต่าง ๆ ได้กลับมาพบปะพูดคุยกันในครอบครัว
- เดือน 11 ตุลาคม หรือ แคอาสุจ : บุญออกพรรษา ตักบาตรเทโว
- เดือน 12 พฤศจิกายน หรือ แคกระเดิก: บุญลอยประทีป, ปังออกเปรียะแค
ทั้งในประเพณีและความเชื่อต่างๆ ยังต้องมีเครื่องประกอบในการประกอบพิธีที่หลากหลาย แต่ที่ขาดไม่ได้อีกหนึ่งก็คือ ขนม เป็นของหวานที่ใช้ประกอบเครื่องเซ่นไหว้ในทุกประเพณี โดยขนมแตละอย่างในชุมชนจะมีชื่อเรียกเป็นภาษาท้องถิ่น ส่วนใหญ่ขนมในท้องถิ่นที่ชาวบ้านนิยมทำกันในชุมชนตำบลลำดวน มีหลากหลายอย่างตามเทศกาลประเพณี เช่น นมเนียล , อันสอมออบ, ข้าวต้มมัดใบมะพร้าว (อันสอมโดง), อันสอมกะบ็อง, นมโก, นมตะลาจ, นมตะนอด, นมเนียงเล็ด(ขนมนางเล็ด), นมเลือจ, นมก็อบสะกอ, นมลวด, นมกันจ็อบ, นมกันเตรือม, นมกง, นมโชค, นมกันตางตาง, นมมุก, นมปวด, นมโกรจ, นมกรก, นมเวือรพอม, นมทะเลิมกระแบ็ย, นมรันเจก, นมดอกจอก, นมบายกรีม เป็นต้น
วิดีโอประจำกลุ่ม