สวัสดีค่ะดิฉันนางสาว ชลธาร กอนรัมย์ สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1ตำบล1มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรร
หัวหน้าคณะ:รองศาสตราจารย์ ด.ร สายใจ ทันการ
คณะทำงาน:อาจารย์ อาจารย์ คธาวุฒิ จันบัวลา อาจารย์ วิทวัส สหวษ์ นางสาวชลธาร กอนรัมย์ ประเภทประชาชน รายงานการปฎิบัติประจำเดือนธันวาคม2564
หลักสูตร :MS04 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อบทความ : MS04 – กิจกรรมติดตามผลิตภัณฑ์แปรรูปและการนำเสนอผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าพื้นบ้านของสมาชิกในโครงการ
ชื่อเจ้าของบทความ: นางสาว ชลธาร กอนรัมย์ ประเภทประชน
รายงานการปฎิบัติงานประจำเดือนธันวาคม
วาระการประชุม
1. วางแผนการดำเนินกิจกรรม
2. กิจกรรม “นักเล่านิทาน ให้สมาชิกเตรียมเนื้อหานิทานวิถีชุมชนบทฐานความพอเพียง”
โดยท่านอาจารย์อุดม อาญาเมือง
3. กิจกรรม “เล่าเรื่องการแปรรูปผ้าของสมาชิกที่ตัวเองรับผิดชอบ ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นเป็นผลงาน และจำนวนรายได้” และบอกแนวทางว่าจะนำผลผลิตไปต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร
โดย คุณอริพล กลองชัย
4. การอบรม หัวข้อ การใช้ผ้าอัดกาว เพื่อสร้างความทรงตัว
โดย คุณ สมจิตร ไชยสุวรรณ และ คุณปรารถนา อาญาเมือง
5. สมาชิกนำอุปกรณ์การทำงานส่วนตัวมาพร้อมปรับปรุงการทำงาน
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2564 นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ ผู้รับผิดชอบโครงการ พร้อมทั้งคณะทำงาน ร่วมประชุมประจำเดือนธันวาคม ณ บ้านใหม่ หมู่ที่ 4 ตำบลสวายจีก อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในการประชุมได้พูดคุยเกี่ยวกับการวางแผนการทำงานประจำเดือน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรายงานอุปสรรคปัญหาของการทำงานและร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามเป้าหมายของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กิจกรรม “นักเล่านิทานวิถีชุมชนบนพื้นฐานความพอเพียง”
โดยเชิญปราชญ์ชาวบ้าน คือ อาจารย์อุดม อาญาเมือง มาเป็นวิทยากรในการเล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของตำบลสวายจีกให้สมาชิกในโครงการได้รับฟัง ซึ่งในการเล่าขานได้กล่าวถึงประวัติของตำบลสวายจีกคร่าว ๆ ไว้ดังนี้สวายจีก เป็นหมู่บ้าน ๆ หนึ่ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ มีผู้กล่าวว่า เดิมทีก่อนจะมาเป็นสวายจีก มาจากหนองน้ำทั้งสองเป็นชื่อหมู่บ้าน คือ ตะเปียงสวาย (หนองมะม่วง) และ ตะเปียงเจก (หนองกล้วย) เรียกมาเรื่อย ๆ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า คำว่า สวายจีก เป็นคำที่มาจากภาษาถิ่น (ภาษาเขมร) สวาย แปลว่า มะม่วง ส่วนคำว่า จีก นั้น มาจากคำว่า เจก ซึ่งแปลว่า กล้วย รวมเรียกว่า มะม่วงกล้วย ซึ่งสันนิษฐานว่าในท้องถิ่นแห่งนี้มีมะม่วงพันธุ์นี้อยู่ ชาวบ้านสวายจีกมีตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมมีชาวบ้านอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหมู่ที่ 1 ทางทิศตะวันออก ส่วนอีกกลุ่มอพยพมาจากจังหวัดนครราชสีมา มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสวายจีก หมู่ที่ 17 ในปัจจุบัน และในอีกตำนานหนึ่งเล่าต่อกันมาว่ามีบุคคลกลุ่มแรก ๆ ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่ คือ นายสวาย กับ นางเจก ได้อพยพมาจากบ้านสังขะ อำเภอสังขละ จังหวัดสุรินทร์ จากข้อมูลดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร แต่จากที่นักโบราณคดีได้ศึกษาจาก ศิลาทราย พบว่า เป็นชุมชนที่อพยพมาจากขอมหรือเขมร ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านไปยังปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และปราสาทหินพิมาย
อีกทั้งยังมีการเล่าขานถึงยักษ์ศรี และยักษ์สา ซึ่งเป็นรูปปั้นยักษ์ประจำตำบลสวายจีก โดยมีอยู่วันหนึ่หากินตอนกลางคืน ได้พบเจอกลุ่มผู้ชายวัยรุ่นที่กำลังยืนสูบบุหรี่ ยักษ์ศรีเห็นจึงตกใจเข้าใจว่าคนสามารถกินไฟได้ จึงหนีไป ยักษ์สาไม่เห็นว่ายักษ์ศรีกลับไปซักที จึงออกมาตามหา พอมาตามหายักษ์สาได้พบกับผู้หญิงซึ่งกำลังเคี้ยวหมากอยู่ ยักษ์สาตกใจคิดว่าคนกำลังกินเลือด จึงได้หนีไป ยักษ์ทั้งสองตนจึงได้หนีไปทางกัมพูชา ต่อมาหลวงปู่ดอน จึงมาสร้างยักษ์ศรี และยักษ์สา ไว้ที่ตำบลสวายจีก ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนี้เป็นการเล่าขานต่อกันมา ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนมากนักก่อนจบการบรรยาย อาจารย์ อุดม ก็ได้ถ่ายทอดบทเพลงของสวาจีกให้สมาชิกได้รับฟังดังนี้
เพลง : สวายจีกบ้านฉัน
ประพันธ์โดย : คุณปิติ คะนัยรัมย์
ขับร้องโดย: อาจารย์อุดม อาญาเมือง
สวายจีก สวายจีกบ้านฉัน จากการบอกกล่าวเล่าขาน สวายจีกนั้นเกิดมานานหลายปี ฉันรักบ้านของฉัน ฉันรักมานาน ก็เพราะว่าบ้านฉันดี
สวายจีก อุดมสมบูรณ์ เนื้อละมุน ข้าวปลามากมี พืชพันธุ์ ธัญญาหาร เทวสถาน ภูมิบ้านดีชาติ ศาสน์ กษัตริย์ วัฒนธรรม ประเพณี ฉันรักสวายจีกบ้านฉัน ทุกคนยึดมั่นรักสามัคคี มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ยิ้มรวยระรื่น ไพเราะวจี ฉันรักบ้านของฉันเต็มที่ ประกาศศักดิ์ศรี ฝากเพลงลอยลม
สวายจีก รุ่งเรืองเจริญงดงามเหลือเกิน ขอเชิญชื่นชม หาใดเทียบเทียมสิ่งนี้ น้ำใจไมตรี น้องพี่เกลียวกลม บ้านเมืองเป็นของพวกเรา ประสานกันเข้าให้โลกนิยม
กิจกรรมการอบรมหัวข้อ “การใช้ผ้าอัดกาวเพื่อสร้างความทรงตัว”
โดยมี นางสมจิต ชัยสุวรรณ์ และ คุณ ปราถนา อาญาเมือง ซึ่งเป็น 1 ในสมาชิกของโครงการ ได้มาบรรยายและสอนวิถีการอัดผ้ากาวเพื่อสร้างความทรงตัวให้กับผ้าที่ตัดเย็บ ให้สมาชิกในโครงการคนอื่น ๆ ได้รับฟัง
ผ้าอัดกาวจะทำให้รีดง่ายอยู่ทรงสวยงาม ช่วยเสริมบุคคลิกเหมาะสำหรับใส่ออกงานหรืองานพิธีต่างๆได้
กิจกรรมนำเสนอเสื้อที่ตัดเย็บจากผ้าพื้นบ้านในหัวข้อ “เสื้อตามใจฉัน”
การติดตามงานครั้งนี้ เป็นการติดตามการแปรรูปเสื้อผ้าภายใต้ แนวคิด “เสื้อตามใจฉัน” ซึ่งในครั้งนี้เป็นการตัดเย็บเสื้อผ้าที่ผู้ตัดเย็บสามารถออกแบบได้ตามความพึงพอใจ แล้วนำผ้าที่ทำการตัดเย็บเสร็จเรียบร้อยแล้ว มานำเสนอให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ได้ชม เอกลักษณ์ในการตัดเย็บเสื้อผ้าของคนในตำบลสวายจีก ส่วนมากจะมีลักษณะเป็นเสื้อเชิ้ต เสื้อคอกลม เสื้อแขนสั้น ที่สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน และยังสวมใส่ไปงานพิธีการต่าง ๆ ได้ ข้อเสนอแนะในการตัดเย็บผ้าของสมาชิกในครั้งนี้ คือ ต้องการความรู้เพิ่มเติมในการตัดเย็บเสื้อผ้าที่หลากหลายมากขึ้น
สมาชิกที่ดูแลและรับผิดชอบ:นางสาว ทองนาค การเพียร
ผู้ผลิตและจำหน่าย: นางสาวทองนาค การเพียร บ้านเลขที่ 21 หมู่ 4 ต.สวายจีก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31000
ลักษณะผ้า: ผ้าฝ้ายทอมือ เป็นเสื้อลำลอง(หรือเสื้อใส่เล่น)ผ้าฝ้ายมีคุณลักษณะคือ มีเส้นใยที่นุ่ม และเหนียวโดยเฉพาะฝ้ายสีตุ่นนั้นมีสีธรรมชาติที่งดงามโดยจุดเด่นของผ้าทอมือสวายจีก คือมีสีสันและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
ราคาและต้นทุนการผลิต: อยู่ที่ตัวละ120บาท
ค่าแรงการผลิต: อยู่ที่ตัวละ200 บาท
ราคาจำหน่าย: ตัวละ 499 บาท
เบอร์โทร 0804734338
คุณ อริพล กลองชัย วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้า ได้อบรมสอนวิธีการนุ่งผ้าในวิธีต่างๆ โดยใช้ผ้าผืนเดียวทีไม่ได้ตัดเย็บและสามารถนุ่งได้หลายแบบโดยไม่เสียผ้า ให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าเพื่อได้นำไปสร้างรายได้และต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่า
ประชาสัมพันธ์โปรโมทสินค้าในสื่อออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้ชุมชน
กิจกรรมจิตอาสาโรงทานงานซ้อมรับปริญญาบัตรของพระสงฆ์ ณ วิทยาลัยสงฆ์ เขากระโดง
โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สายใจ ทันการ ผู้ดูแลโครงการ พร้อมทั้งคณะทำงานและชาวบ้านบ้านใหม่ หมู่ที่ 4 ร่วมกิจกรรมจิตอาสาโรงทานงานซ้อมรับปริญญาบัตรของพระสงฆ์ ณ วิทยาลัยสงฆ์ เขากระโดง โรงทานหมู่ 4 เป็นข้าวเหนียว หมูทอด ส้มตำ ลอดช่อง พร้อมน้ำดื่มของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 120 ขวด
วีดีโอกการปฎิบัตงานประจำเดือนธันวาคม